เปิดโครงการ 'Mobile School' การศึกษาแบบยืดหยุ่น แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบ

จากฐานข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.พบเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษา 2566 จำนวน กว่า 1 ล้าน 2 หมื่นคน กลายเป็นวิกฤต ที่ล่าสุดรัฐบาลเริ่มคิกออฟให้ทุกจังหวัดมีมาตรการขับเคลื่อนให้เด็กออกนอกระบบเป็นศูนย์ หรือ Thailand Zero Droupout ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือกัน 11 หน่วยงาน ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดีอี กสศ.ซึ่งมี เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เริ่มค้นหาเด็ก แนะนำ การศึกษาแบบยืดหยุ่นเพื่อ เป็นทางเลือกให้เด็กได้กลับเข้าเรียนอีกครั้งซึ่งวันนี้มีการเปิดโครงการ "Mobile School" ที่ชุมชนคลองเตย ได้รับความสนใจจากเด็กจำนวนมาก



ลานโดมกีฬา ชุมชนคลองเตย เต็มไปด้วยเด็กๆที่อยากกลับเข้ามาเรียนหนังสือ ซึ่งด้วยปัญหาหลายเหตุผลทำให้เด็กจำนวนไม่น้อยต้องหลุดออกนอกระบบการศึกษาไม่ได้เข้าโรงเรียนและไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนต่อ เด็กเหล่านี้เป็นหนึ่งในเด็กไทยอายุ 13 ถึง 18 ปี จำนวน 1 ล้าน 2 หมื่นคน ในปีการศึกษา 2566 ที่หลุดออกนอกระบบการศึกษา การที่เด็กจำนวนมาก สนใจมาเข้าร่วมโครงการ "Mobile School" การศึกษายืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิตเข้าเรียนไม่ได้ ให้โรงเรียนเข้าหา แม้จะสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าเด็กหลุดออกจากระบบการศึกศษานั้นมีอยู่จริง แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าเด็กเหล่านี้ก็พร้อมที่จะกลับมาเรียนเช่นเดียวกัน



โครงการ "Mobile School" จึงเกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนแบบยืดหยุ่นขึ้น ซึ่ง กสศ .ร่วมกับเครือข่ายศูนย์การเรียน ให้เด็กได้มีช่องทางการเรียนนอกเหนือการเข้าโรงเรียน เช่นการเรียนออนไลน์ เรียนตามทักษะชีวิต สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา และนำไปเทียบวุฒิการศึกษาได้ ทั้ง ม.3 และ ม.6 สามารถนำไปใช้ทำงานได้ในที่สุด



การศึกษาแบบยืดหยุ่น จึงกลายเป็นการศึกษาที่ตอบโจทย์ชีวิต และทำให้เด็กหลายคนได้กลับมาเรียนหนังสือ เช่น ศูนย์การเรียน Free From School ที่กลุ่มคลองเตยดีจัง ตั้งขึ้นมาเกือบ 4 ปี มีเด็กในชุมชนคลองเตยมาเรียนจบได้วุฒิการศึกษา ม.3 หรือ ม.6 ไปแล้วกว่า 100 คน และรอเข้าเรียนกว่า 100 คน เพราะสามารถเรียนอย่างที่ถนัด ในหลักสูตร 8 เดือน ได้เรียนทั้งออนไลน์และออนไซต์ ไปเรียนรู้ในที่ต่างๆแทนห้องเรียน ซึ่งเด็กหลายคนอย่างเช่นน้องโตโต้ ที่ไม่ได้เรียน ม.ต้น ได้กลับมาเรียนใหม่ เพื่อนำวุฒิ ม.3 ไปสมัครงาน และมีความตั้งใจจะเรียนให้จบปริญญาตรี



นอกจากนี้ยังมีศูนย์การเรียนหลายแห่งที่จะเข้าร่วมโครงการ เช่น ศูนย์การเรียน CYF ที่มีหลายวิธีการให้เด็กได้เรียนรู้ เป็นทางเลือกให้เด็กได้มากขึ้น



มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่เป็นนักเรียน Mobile School และประสปความสำเร็จแล้ว เช่น น้องเนตรนภา ที่กำลังเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และว่าที่นักเรียนเช่น น้องเต้ และ แม็ค คู่หูนักพากย์มังงะ



กสศ. เริ่มนำร่องในการร่วมมือกับจังหวัดราชบุรีประกาศราชบุรีซีโร่ดรอป OUT ไปแล้ว และในครึ่งปีหลังจะนำร่องใน 25 จังหวัดเพื่อที่ต้นปีหน้าตั้งเป้าให้ครบทั้ง 77 จังหวัดไปสู่เป้าหมาย Thailand Zero Droupout ให้ได้ภายในสามปี



เป้าหมายในการทำให้เด็กไทยออกนอกระบบการศึกษาเป็นศูนย์หรือ Thailand Zero Droupout จึงต้องมาจากความร่วมมือของหลายฝ่ายซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กส่วนใหญ่อาจจะเข้าไม่ถึงข้อมูลและวิธีการที่จะกลับเข้าเรียนอีกครั้งการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้เรียนแบบยึดหยุ่นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้

โดย panwilai_c

6 ก.ค. 2567

113 views

EP อื่นๆ