สังคม

ย้อนตำนานส่วยสติกเกอร์รายแรกของไทย พร้อมเปิดหลักฐานเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน

โดย parichat_p

4 มิ.ย. 2566

196 views

ส่วยสติกเกอร์ หรือส่วยทางหลวง หลายคนอาจคิดถึงข่าวชิ้นหนึ่ง ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ถือเป็นจุดเริ่มต้นของข่าวส่วยรถบรรทุกในวงการทีวีเมืองไทย และถือเป็นจุดเริ่มต้นของส่วยสติกเกอร์ วันนี้ คุณอลงกรณ์ เหมือนดาว ซึ่งเป็นอดีตบรรณาธิการข่าวอาชญากรรม ไอทีวี ที่ได้ร่วมกับทีมข่าวมากกว่า 10 คน ลงพื้นที่ในช่วงปี 2539 ต่อเนื่อง 2540 จะพาย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของปัญหาส่วยรถบรรทุก ส่วยสติกเกอร์ และนี่ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี ที่ภาพตำนานส่วยรถบรรทุกได้ถูกนำเสนออีกครั้ง


เริ่มจากการส่งทีมลงพื้นที่ ไปเก็บภาพหลักฐานส่วยรายทาง ที่ใช้วิธีโยน แล้วเก็บ ตามด่าน หรือป้อมตำรวจขณะที่อีกทีม ลงพื้นที่ตามด่านชั่งน้ำหนักของกรมทางหลวง รถคันใดน้ำหนักเกินไม่มาก เจ้าหน้าที่จะกดกรึ่ง 1 ครั้ง จ่าย 60 บาท เกินปานกลาง กด 2 ครั้ง จ่าย 80 บาท ถ้าเกินมาก เจ้าหน้าที่จะกดรัว ต้องจ่าย 100-200 บาท ใน 1 เดือน 1 ด่านชั่งของกรมทางหลวง จะมีรายได้จากส่วยน้ำหนักเกินประมาณ 3-4 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นมีอยู่ 5 ด่านทั่วประเทศ ปัจจุบันมี 97 แห่ง ผู้ชายคนนี้ เคยติดตามข่าวส่วย ตั้งแต่เขาเป็นเด็กท้ายรถบรรทุก จนวันนี้ เป็นทั้งคนขับ และเป็นเจ้าของ



สติกเกอร์เจริญรุ่งเรือง มีเทคนิคการพิมพ์ทันสมัยกว่า สติกเกอร์ในปัจจุบัน มีลายน้ำ ป้องกันปลอม เป็นสติกเกอร์รูปลูกศรล้อมลูกโลก สะท้อนแสง เพื่อให้จ่ายต่อเจ้าหน้าที่ในการฉายไฟ ตรวจสอบว่า รถคันนี้ จ่ายแล้ว ในแต่ละเดือนจะพิมพ์ 8 สี แยกตามราคา และแยกตามภาค พร้อมแนบนามบัตร เพื่อให้โทรแจ้งหากซื้อสติกเกอร์แล้วยังถูกจับในยุคนั้น จุดจำหน่ายสติกเกอร์ มีตั้งแต่ปั้มน้ำมัน ไปจนถึงบริษัทรถบรรทุกที่รับเป็นเอเย่นต์ โดยจะวางขายกันทุกวันที่ 25 ของเดือน


เมื่อข่าวไอทีวี นำเสนอสติกเกอร์รายต้นๆของไทย รูปแบบและชื่อสติกเกอร์ก็ถูกเปลี่ยนทันที มีทั้ง ข้อความ สิบล้อเมืองไทยต้านภัยยาบ้า สติกเกอร์โอเค สติกเกอร์มิตรไมตรี และสติกเกอร์มิตรอีสาน เมื่อถูกตามเจาะข่าวถี่ขึ้น สติกเกอร์ ก็ถูกลอกจากกระจก มาติดด้านในประตู ในลักษณะเดียวกับที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 3-4 วันก่อน


หลักฐานสำคัญนอกจากสติกเกอร์แล้ว ยังพบรายชื่อสถานีตำรวจทางหลวง และสถานีตำรวจท้องที่มากกว่า 500 แห่ง ที่เจ้าของสติกเกอร์รายใหญ่ต้องโอนเงินจ่ายส่วยทุกเดือน ในอัตราโรงพักละหลัก 3 พัน 5 พัน ไปจนถึงหลักหลายหมื่นบาท


ข่าวส่วยทางหลวง ได้สร้างการเปลี่ยนแปลง จนได้รับเลือกให้เป็นข่าวยอดเยี่ยมแห่งปี 2539-2540 ซึ่งถือเป็นปีแรกที่มูลนิธิแสงชัยสุนทรวัฒน์ ได้เริ่มต้นมอบรางวัลข่าวสืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยม

คุณอาจสนใจ

Related News