สังคม

นายก วสท. ลงตรวจตึกเอียง ชี้ไม่ควรพักอาศัย มีโอกาสถล่ม แนะตรวจโครงสร้างเชิงลึก

โดย paranee_s

23 ส.ค. 2565

129 views

กรณี อาคารพาณิชย์ 4 ชั้นที่ ซอยสุขุมวิท 101/1 เอียงตัวทั้งหมด ประมาณ12 คูหา ความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ ทางสำนักโยธากรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือวสท. ได้ลงพื้นมี่ตรวจสอบอาคารพาณิชย์ดังกว่า วันนี้ (23 ส.ค.) เป็นการเข้ามาตรวจสอบด้วยสายตาและเก็บข้อมูล เพื่อการประเมินการทรุดเอียง


หลังได้ทำการตรวสอบ อาคารเบื้องต้น นายธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ระบุ ได้รับการติดต่อจากทางกรุงเทพมหานครยินดีที่จะเข้ามาตรวจสอบตามหลักวิชาการให้ โดยเบื้องต้นทราบว่ามาตรวจสอบอาคารเอียงในวันนี้จึงต้องมาตรวจสอบว่าอาคารมีการเอียงจริงหรือไม่ การเอียงมีแนวโน้มเอียงไปทิศทางใด และสภาพภายในโครงสร้างของอาคาร เป็นอย่างไรเพื่อจะได้ให้คำตอบกับผู้พักอาศัยในเบื้องต้นได้


โดยผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าอาคารเอียงไปด้านหลังหากหันหน้าเข้าถนนสายสุขุมวิท ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา แต่ถ้าต้องการความชัดเจนว่าการลาดเอียงต่างระดับเท่าไหร่ต้องใช้กล้องตรวจวัดอีกครั้ง


ส่วนประเด็นเรื่องความปลอดภัยนั้น ตามหลักการสร้างอาคารทั่วไป ซึ่งไม่ใช่การสร้างตามการออกแบบทางศิลปะ การสร้างเสาคานต้องตั้งตรง แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดการเอียง บ่งบอกว่าเสถียรภาพของอาคารไม่ดี ตามที่ออกแบบไว้ในตอนต้น


ดังนั้นในแง่ทางวิศวกรรมต้องตอบว่า อาคารไม่ปลอดภัย แต่หากจะสรุปด้วยการเข้ามาตรวจสอบด้วยสายตา อาจไม่ชัดเจน เพื่อให้คำตอบผู้พักอาศัย ต้องมีการสำรวจเชิงลึก โดยข้อมูลพบว่า เมื่อ 3-4 ปีก่อนทางคลินิกเคยให้ช่างจากวิศวกรรมสถานเข้ามาตรวจสอบ และแนะนำว่าให้มีการสำรวจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้พักอาศัยได้ทราบว่าอาคารมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่มี มีการทรุดตัวเพิ่มหรือไม่ และการทรุดตัวมีอัตราเท่าไหร่ในรอบหนึ่งปี หรือหนึ่งเดือน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแนวทางแก้ไข


โดยตามหลักการทางวิศวะการแก้ไขสามารถ สามารถทำได้ด้วยการเสริม เสาเข็มหรืออาคารเอียง บางหลังหากต้องการยกขึ้นก็สามารถยกขึ้นได้ อยู่ที่เจ้าของอาคารต้องการแก้ไขด้วยวิธีใด


แต่ทั้งนี้ก่อนจะแก้ไขต้องมีการสำรวจเชิงลึก อย่างต่อเนื่องอีกว่า อาคารมีการเอียงทรุดตัวเพิ่มหรือไม่ ถ้ามีการหยุดทรุดตัวแล้วต้องมีวิศวกรที่รับรอง ว่าการหยุดทรุดตัวเกิดจากสาเหตุใดด้วย เพื่อวางแผนการแก้ไข


นอกจากนั้นในวันนี้ ทราบจากผู้พักอาศัยว่ามีประเด็นเรื่องการระบายน้ำเข้ามาเพิ่มเติม ต้องรอให้ทางกรุงเทพมหานครเข้ามาตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ น้ำมาจากไหน และการระบายเป็นอย่างไร แต่ตามข้อมูลทางวิชาการปกติแล้ว ดินอ่อนตัวบริเวณช่วงผิวด้านบน 1-3 เมตรแรก เมื่อมีน้ำท่วม แต่โดยหลักอาคารสูงจะมีเสาเข็มที่ยาวและฝังอยู่ใต้ดินเป็นจุดแบกรับน้ำหนักของอาคารไว้ ทั้งนี้ไม่สามารถตอบได้ชัดเจนตราบใดที่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียด เรื่องการทรุดตัวของดินปริมาณน้ำไหล การท่วมขัง


โดยสรุป ตามข้อมูลอาคารเอียงตัว แม้จะไม่มีรอยแตกร้าวปรากฏให้เห็น แต่เป็นลักษณะการเอียงทั้งอาคาร อาจมีรอยแตกอยู่บริเวณอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณฐานรากที่อยู่ใต้ดินการตรวจสอบ จึงต้องขุดดินดูเพราะการแตกร้าวมักเกิดที่คานคอดิน เพราะฉะนั้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องเร่งทำการสำรวจ เพราะจากที่เคยมีประสบการณ์ เมื่อใดก็ตามที่อาคารเอียงและฐานหลุดจากหัวเข็ม ฐานก็จะวางอยู่บนพื้นดินและจะเกิดการจมสไลด์จนเกิดการทรุดตัวหรือพังถล่ม ซึ่งในอดีตเคยเกิดขึ้นมาแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ยังคงกังวลกับผู้พักอาศัยเจ้าของอาคาร


จึงเป็นข้อแนะนำว่าเมื่อใดก็ตามที่อาคารเกิดการเอียงไม่ควรอยู่พักอาศัย เพราะไม่มีความปลอดภัย และในขณะนี้ขอให้ผู้พักอาศัยงดกิจกรรมที่จะทำให้เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้อาคารต้องแบกรับเพราะจะส่งผลต่อการทรุดตัวเพิ่ม


เชื่อว่าหลังจากนี้ทางกรุงเทพมหานครจะได้นำข้อมูลการตรวจสอบเบื้องต้นจาก ทาง วสท. ไปหารือกับเจ้าของอาคารเพื่อการหาทางออกต่อไป

คุณอาจสนใจ

Related News