สังคม

ภาคประชาสังคม เปิดข้อเสนอแก้ไฟป่า-ฝุ่นควัน หวังรัฐดันเป็นวาระแห่งชาติ

โดย panwilai_c

30 มี.ค. 2566

293 views

ภาคประชาสังคม 10 องค์กร เปิดข้อเสนอนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ต่อพรรคการเมือง เพื่อหวังผลักดันแก้ปัญหาในรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วนในการจัดการไฟป่า และฝุ่น PM 2.5 ที่นอกจากจะต้องเป็นวาระแห่งชาติ จะต้องแก้ไขกฎหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนบ้าน รวมถึงปัญหาที่ดิน การประมง และเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ติดตามรายงานจากคุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย



ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึงปีละ 40,000 คน และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจปีละหลายแสนล้านบาท เป็นสิ่งสภาลมหายใจเชียงใหม่ เห็นว่า รัฐบาลใหม่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ทั้งการจัดทำระบบ Open Data ออกกฎหมายเชิงรุก กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก้ปัญหาความไม่มั่นคงทางที่ดิน รวมถึงนโยบายพลังงานสะอาด การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง และที่สำคัญคือนโยบายลดพืชเชิงเดี่ยว ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้าน



เช่นเดียวกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสาท มีแต้ม สภาองค์กรของผู้บริโภค ที่ย้ำว่า pm 2.5 มาจากการเผาฟอสซิลด้วยไม่ใช่การเกษตรอย่างเดียว และไทยถูกประเมินให้อยุ่ในกลุ่มที่แย่ที่สุดในการลดโลกร้อน จึงต้องใช้เทคโนโลยีมาขับเคลื่อน รวมถึงผลักดันการโซลาเซลล์ ตามมติคณะรัฐมนตรี 27 กันยายน 65 ซึ่งหลักการดีแต่ไม่มีการปฏิบัติใดๆเลย



หัวใจสำคัญของนโยบายสิ่งแวดล้อมจึงต้องมีหลักการสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ยกเลิกเป้าหมายจีดีพี แต่ใช้แนวคิดลดการเติบโตทางเศรษฐกิจในส่วนที่สร้างความไม่ยั่งยืนและไม่เป็นธรรมกับระบบนิเวศ และประบเปลี่ยนสังคมให้สมดัลกับธรรมชาติในปี 2550 โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือวาระแห่งชาติที่เป็นผลต่อความปลอดภัยในชีวิตของคน



กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน Land watch thai มีข้อเสนอนโยบาย 10 ข้อเช่น การแก้ไขปัญหารัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนมีสิทธิที่ดินและที่อยู่อาศัยให้ชัดเจน ยุติให้เอกชนเช่าที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ยุตินโยบายทวงคืนผืนป่าที่ทำร้ายประชาชน รวมถึงคืนสิทธิให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม เช่นชาวเลเกาะหลีเป๊ะ และกะเหรี่ยงบางกลอย



นอจากนี้ยังมีปัญหาแม่น้ำโขง ที่นายมนตรี จันทวงศ์ กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง ย้ำว่าการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง กลายเป็นปัญหาทำลายระบบนิเวศ์ คนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีในภูมิภาคกว่า 60 ล้านคน รัฐบาลต้องจริงจังกับปัญหาเขื่อนในแม่น้ำโขงด้วย



ส่วนการบริหารจัดการน้ำกลายเป็นความท้าทายกับรัฐบาลซึ่งเป็นผลพวงมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 5 ที่เริ่มส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม จึงถึงฉบับที่ 12 ที่สะท้อนให้เห็นความย้อนแย้งทางนโยบาย เช่น การเร่งระบายน้ำเจ้าพระยาทิ้งทะเล แต่กลับมีโครงการผันน้ำยวม จึงต้องมีการปฏิรูปกระบวนการจัดสรรงบประมาณด้านน้ำ



ขณะที่กลุ่มการเมืองสิ่งแวดล้อม นายภูริณัฐ เปยานนท์ ที่เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ เสนอ 18 นโยบายสังคมสีเขียวและเท่าเทียม เช่น สร้างสังคมประชาธิปไตย ปลดล็อคท้องถิ่น ยุติการฟอกเขียว ปรับปรุงนโยบายเพิ่มผพื้นที่ป่า และปฏิรูปกฎหมาย eia ehia



นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอเรื่องปัญหามลภาวะอุตสาหกรรม จากมูลนิธิบูรณะนิเวศ นางเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ที่พบว่ามีมากขึ้นจากปัญหาน้ำเสีย มาลอบทิ้งกากอุตสาหกรม สารปนเปื้อน ปัญหาขยะพิษ​ที่ส่งผลกระทบทั้งวงจรสิ่งแวดล้อม รัฐจึงต้องพัฒนากฏหมายให้ทันสมัยเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



นายสุรชัย ตรงงาม จามูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมหรือ ENlaw เสนอให้พรรคการเมืองมีกฏหมายที่สนับสนุนสิทธิและความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม นำสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เป็นสิทธิมนุษยชนสากลมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ และให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 4/59 ทบทวนโครงการขนาดใหญ่ที่กระทบสิ่งแวดล้อมและหยุดปกปิดมลพิษ เพราะข้อมูลมลพิษ คือสิทธิที่ประชาชนต้องเข้าถึงได้



ขณะที่นายภาคภูมิ วิธานติรวัธน์ มูลนิธิอันดามัย เสนอปัญหาทะเลและชายฝั่ง ซึ่งนอกจากเรื่องการประมง ยังมีการกัดเซาะชายฝั่งก็เป็นปัญหาใหญ่ โดยมี 10 พรรคการเมืองมาร่วมฟังและเสนอนโยบายที่สอดคล้องกับภาคประชาสังคมด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News