สังคม

ฟังเสียงสะท้อนชาวบ้าน ปัญหาขยะเคมีที่ยืดเยื้อ ความล่าช้าจากงบฯ ทำแก้ไม่จบ

โดย panwilai_c

26 ก.พ. 2566

205 views

ในระหว่างสืบสวนหากลุ่มคนที่นำสารเคมีมาทิ้ง สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย ได้นำสารเคมีเหล่านี้ ไปกำจัดแล้ว นับว่าเร็วกว่าหลายกรณี ที่เคยเกิดขึ้น ส่วนหนี่งอาจ เพราะหลายกรณีก่อนหน้านั้น มักถูกทิ้งในที่สาธารณะ และส่วนหนึ่งคือติดขัดงบประมาณ เช่นผลกระทบจากสารเคมี ที่ตำบลน้ำพุ จังหวัดราชบุรี แม้ชาวบ้านเดือดร้อนมากว่า 20 ปี และชนะคดีในศาลชั้นต้นแล้ว แต่การแก้ไข เยียวยา ก็อาจจะไม่ทันรัฐบาลนี้ด้วยซ้ำ



สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย นำของเหลวสารเคมีและดินปนเปื้อนราว 91 ตัน ไปกำจัดแล้ว โดยว่าจ้างบริษัทเอกชนด้วยงบประมาณราว 3 แสนบาท เป็นการ ดำเนินการภายใน 14 วันนับจากที่พบสารเคมี เพื่อป้องกันการชะล้างจากน้ำฝน ตอนนี้สำนักงานนิคมอุตสาหรกรมแก่งคอย ต้องรอให้คดีถึงที่สุด จึงจะฟ้องร้องเรียกเงิน 3 แสน คืนจากกลุ่มคนที่นำสารเคมีมาทิ้ง



ความต่างของกรณีนี้สารเคมีเพิ่งถูกทิ้งไม่มาก และสำนักงานนิคมฯ เป็นพื้นที่เฉพาะ นิคมแก่งคอยรับผิดชอบโดยตรง และสำรองงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ แตกต่างจากหลายกรณีที่ผลกระทบเป็นวงกว้างและเป็นที่สาธารณะเช่นความเดือดร้อนจากมลพิษทางกลิ่นและน้ำสารเคมี ของชาวตำบลน้ำพุ จ.รชบุรี จากโรงงานแวกซ์ กาเบ็จ แม้เดือดร้อนมา 20 ปี และชาวบ้านชนะคดีชั้นต้นมาแล้ว แต่การแก้ไข เยียวยายังไม่เกิดขึ้น แน่นอนว่าส่วนหนึ่งอ้างเหตุผลว่าคดียังไม่สิ้นสุด และส่วนหนึ่งคืองบประมาณที่ต้องอนุมัติจากรัฐบาลอยู่ดี ทั้งที่เสียงสะท้อนชาวบ้านคือ ปัญหาเฉพาะหน้าควรได้รับการแก้ไขโดยเร็วก่อน



ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศน์ เห็นด้วยว่ากรณีชาวตำบลน้ำพุ ที่ชนะคดีกลุ่ม หรือคีลาสแอคชั่นมาแล้วแต่ก็เป็นบทเรียนว่านักหรือตุลาการควรพิจารณาว่าปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ควรดำเนินการรวดเร็ว เพื่อให้ได้รับการเยียวยาแก้ไข ก่อนผลกระทบจากลุกลาม



กรณีโรงงานเอกอุทัย จำกัด ที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ก็อาจเป็นหนึ่งกรณีตัวอย่าง ที่นี่กรมโรงงานอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ถูกศาลปกครองสั่ง ให้เป็นผู้กำกับดูแลให้ โรงงานเอกอุทัย ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านกลิ่นเหม็นฉุน และน้ำเสียจากบ่อฝังกลบขยะที่บนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งศาลมีคำสั่งเมื่อสิงหาคม ปีที่แล้ว แต่อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ถูกฟ้องที่ 1 ลงไปตรวจสอบโรงงานนี้เมื่อสัปดาห์ก่อน ก็ระบุว่าแผนการแก้ไขของโรงงานเท่าที่เสนอมา เป็นไปได้ยากที่จะเห็นผล สำเร็จโดยเร็ว จึงต้องรวบรวมข้อมูล เพื่อแถลงต่อศาลสำหรับหาวิธีแก้ไขปัญหาใหม่ที่คาดหวังจะเห็นผลโดยเร็ว แต่โรงงานยังต้องรับผิดชอบค่าดำเนินการ นักกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อม เห็นว่าความล่าสช้าในการแก้ไข เยีวยา ต้องถูกแก้ไข



กรณีโรงงงานแวกซ์ กาเบ็จ จ.ราชบุรีนั้น ภาครัฐที่เกี่ยวข้องนำโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ของงบกลางเพื่อกำจัดบำบัด และสำรวจเพื่อเตรียมฟื้นฟู วงเงินรวมหลายส่วนราว 90 ล้านบาท ส่วนกรณีโรงงานเอกอุทัย อ.ศรีเทพฯ จ.เพชรบูรณ์ อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล แถลงต่อศาลเพื่อให้ภาครัฐดำเนินการเอง แล้วฟ้องจากเอกชนภายหลังเช่นกัน



อย่างไรก็ตาม ต่อให้ภาครัฐดำเนินการเอง ก็ยังต้องใช้เวลาอีกไม่น้อย เพราะต้องรอคณะรัฐมนตรีรับทราบและอนุมัตซึ่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแม้แต่กรณีชาวตำบลน้ำพุ ที่ชนะคดี และของบกลางไปแล้ว แต่ถึงที่สุดการช่วยเหลือเยียวยา แก้ไข ก็อาจไม่ทันรัฐบาลนี้ด้วยซ้ำ

คุณอาจสนใจ