สังคม

เปิดมุมมองอัยการต่อ พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานฯ เชื่อสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย

โดย chiwatthanai_t

23 ม.ค. 2566

51 views

ยังมีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องในเรื่อง 'พระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการทรมาน เเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565' ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ ล่าสุด มีความเห็นจากอัยการที่ร่วมผลักดัน ซึ่งมองว่ากฏหมายฉบับนี้ จะนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของไทยในรอบ 100 ปี โดยมีอุปกรณ์สำคัญก็คือกล้องวิดีโอ จากนี้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจากหน่วยหรือองค์กรใดก็ตาม ทุกครั้งที่เข้าจับหรือควบคุมตัว จะต้องเเจ้งรายงาน- บันทึกภาพเเละเสียงไว้เป็นหลักฐานด้วย


ทีมข่าว 3 มิติ ไปที่ศูนย์ราชการเเจ้งวัฒนะ คุยเรื่องนี้กับผู้อำนวยการสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาการสอบสวนเเละการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด ดร.น้ำเเท้ มีบุญสล้าง หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ 'อัยการน้ำเเท้' หนึ่งในผู้ที่ร่างเเละร่วมผลักดัน 'พ.ร.บ.ป้องกันเเละปราบปรามการทรมาน เเละการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565'


ในมุมมองของนักกฏหมายเชื่อว่ากฏหมายฉบับนี้ จะช่วยยกระดับนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมครั้งสำคัญในรอบ 100 ปี  หลักปฏิบัติที่ทุกหน่วยจะต้องยึดเป็นเเนวทาง นอกจากการรายงานให้อัยการเเละฝ่ายปกครองทราบ เช่น วันเวลา สถานที่ ชื่อ-สกุลผู้ต้องหาเเละคนจับ สำคัญอีกอย่างก็คือการบันทึกภาพเเละเสียง


การใช้กล้องติดตัวขณะปฏิบัติงาน ที่เห็นชัดก็คือเรื่องความรับผิดชอบเเละความโปร่งใส ช่วยลดปัญหาร้องเรียน กรณีถูกกล่าวหาซ้อมทรมาน หรือนำผู้ต้องหาไปรีดทรัพย์ เเก้ปัญหาภายในองค์กร สำคัญก็คือสิ่งที่ปรากฏถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะนำไสู่การคลี่คลายคดี



หลังฟันฝ่า-ผ่านช่วงเวลายาวนานนับ 10 ปี ท่ามกลางกระเเสคัดค้านจากคนบางกลุ่ม ที่สุด 22 กุมภาพันธ์นี้ กฏหมายป้องกันทรมาน-อุ้มหาย ก็จะมีเริ่มผลบังคับใช้

คุณอาจสนใจ

Related News