ผลคืบหน้าผลพัฒนา จุฬาคอฟ 19 / ใบยาไฟโตฟาร์ม เตรียมขออาสาฉีด เร่งใช้ฉุกเฉินกลางปีหน้า

สังคม

ผลคืบหน้าผลพัฒนา จุฬาคอฟ 19 / ใบยาไฟโตฟาร์ม เตรียมขออาสาฉีด เร่งใช้ฉุกเฉินกลางปีหน้า

โดย pattraporn_a

18 พ.ย. 2564

62 views

แจ้งผลความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งจุฬาคอฟ 19 และ ใบยาไฟโตฟาร์ม ที่ขณะนี้เข้าสู่ช่วงการทดสอบในมนุษย์แล้วทั้ง 2 ชนิด


โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุฬา คอฟ 19 ที่มีความคืบหน้าไปมาก เตรียมทดสอบทางคลิริกในมนุษย์ระยะ 3 ซึ่งล่าสุดเพิ่งได้รับการจัดสรรทุนวิจัยเพิ่มเติมอีกกว่า 2,300 ล้านบาท หากเป็นไปตามคาดวัคซีนฝีมือคนไทยยี่ห้อแรกก็พร้อมจะขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในช่วงกลางปีหน้านี้ ติดตามกับคุณธีรุตม์ นิมโรธรรม


จุฬาคอฟ 19 วัคซีนชนิด MRNA ของศูนย์วิจับวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ และ จุฬา ใบยา วัคซีนจากพืชใบยาสูบ ของบริษัทไฟโตฟาร์มจำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัคซีน 2 ชนิดนี้คือความคืบหน้าล่าสุดของวงการวัคซีนป้องกันโควิด 19 ไทย ที่เริ่มทดสอบทางคลินิกในมนุษย์แล้วทั้งคู่


แผนภูมิที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อโควิด 19 ของวัคซีน จุฬา คอฟ 19 ที่มากถึง 95.9% และ ให้ผลดีกว่าวัคซีน mRna ยี่้ห้ออื่นได้ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด


ด้าน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ตัวแทนทีมวิจัยจุฬาคอฟ 19 ระบุ วัคซีนตัวนี้กำลังจะเริ่มทดสอบเฟส 3 ในอาสาสมัคร 3,750 คน ซึ่งจะเปิดรับในช่วงเดือนธันวาคมนี้


โดยจะเริ่มมีการทดสอบช่วงเดือนมกราคมปี 2565 และรวบรวมข้อมูลภายในเดือนพฤษภาคม เพื่อส่งเอกสารขึ้นทะเบียนการใช้วัคซีนในภาวะฉุกเฉินกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ในช่วงกลางปี


ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ตัวแทนทีมวิจัยจุฬาใบยา เปิดเผยว่า การทดสอบทางคลินิกของวัคซีนจุฬาใบยาในมนุษย์ ที่เริ่มเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา ยังต้องรอผลในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ ตามระยะเวลาติดตามผลหลังการฉีด 50 วัน เบื้องต้นพบว่าไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ


ขณะนี้ยังคงเปิดรับอาสาสมัครอายุ 61-75 ปี เพื่อทดสอบวัคซีนในเดือน ธันวาคมนี้ ล่าสุดได้ผลิตวัคซีนรุ่นที่ 2 ออกมาแล้ว และเตรียมที่จะทดสอบในมนุษย์ ช่วงเดือนมกราคม โดยคาดว่าวัคซีนใบยาจะพร้อมใช้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 เป็นต้นไป


19 2300 ล้านบาท และ จุฬาใบยา 1300 ล้านบาท ซึ่งตัวแทนทีมวิจัยวัคซีนทั้ง 2 แห่งยืนยันตรงกันว่าการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุมและหลากหลายจะช่วยไทยพร้อมรับมือกับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ


อย่างไรก็ตามปัญหาด้านทุนวิจัยยังคงเป็นปัญหาหลักสำหรับการพัฒนาวัคซีนในขณะนี้ ล่าสุดไทยยังมีวัคซีนอีก 1 ชนิดที่อยู่ระหว่างรอการทดสอบทางคลินิกในมนุษย์ นั่นคือวัคซีนป้องกันโควิด19 แบบพ่นจมูกของ ไบโอเทค สวทช. ที่ขณะนี้ติดปัญหาขาดทุนวิจัยสนับสนุนอีกราว 50 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าโครงการต่อ


ทำให้ต้องเปิดรับเงินบริจาคสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชน หากโครงการนี้ดำเนินงานต่อได้ตามเป้าหมาย นั่นจะทำให้ไทยจะมีวัคซีนฝีมือนักวิจัยไทยอย่างน้อย 3 ชนิด และน่าจะทยอยประสบความสำเร็จตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นไป 

คุณอาจสนใจ

Related News