เลือกตั้งและการเมือง

”พิธา“ เปิด 9 ข้อ ต่อสู้คดียุบก้าวไกล ชี้ศาลรธน. ไม่มีอำนาจพิจารณาคดี

โดย thanaporn_s

9 มิ.ย. 2567

311 views

”พิธา ลิ้มเจริญรัตน์“ เปิด 9 ข้อต่อสู้คดียุบก้าวไกล ชี้ ศาล รธน.ไม่มีอำนาจพิจารณาคดียุบพรรค มองกระบวนการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุไม่ให้โอกาสรับทราบโต้แย้ง ยันแสดงความเห็น ม.112 เป็นปัจเจก ไม่ใช่เรื่องนิติบุคคล ปฏิเสธข้อกล่าวหาเป็นปฏิปักษ์


นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลแถลงข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล โดยเปิดเผยว่า พรรคก้าวไกล มี 9 ข้อต่อสู้ แบ่งเป็นสัดส่วน คือ ขบวนการ ข้อเท็จจริง และสัดส่วนโทษ ซึ่งการแถลงวันนี้จะเน้นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดี ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นข้อกังวลของศาลรัฐธรรมนูญ

1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเหตุอำนาจวินิจฉัยพิจารณาคดีนี้

2. กระบวนการยื่นคำร้องของกกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

3. คำวินิจฉัยคดี 3/67 หรือ คดีวันที่ 31 มกราคม (คดีล้มล้างกันปกครอง) ไม่ผูกพันต่อการวินิจฉัยคดีคดีนี้ข้อ

4. การกระทำที่ถูกกล่าวหาไม่ล้มละลายไม่อาจเป็นปฏิปักษ์

5. การกระทำตามคำวินิจฉัยของคดี 31 มกราคม ไม่เป็นมติของพรรคไม่ใช่เรื่องนิติบุคคล

6. โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อจำเป็นฉุกเฉินฉับพลันและไม่มีทางแก้ไขในระบอบประชาธิปไตย

7. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตัดสินกรรมการบริหารพรรค

8. จำนวนปีในการตัดสิทธิ์ทางการเมืองต้องได้สัดส่วนกับความผิด

9. การพิจารณาโทษต้องสอดคล้องกับคณะกรรมการบริหารพรรคในช่วงที่ถูกกล่าวหา

นายพิธา กล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้เพราะอำนาจเฉพาะของศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับกฎหมายและร่างกฎหมายหน้าที่มีอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภาและองค์กรอิสระรวมถึงหน้าที่และอำนาจอื่นที่บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งตนและทีมงานศึกษามีอำนาจข้อไหนที่มีการพิจารณายุบพรรคการเมือง


ส่วนใน พรป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นวิธีการ ไม่ใช่บอกเกิดอำนาจ เป็นคนละเรื่องกัน ขณะที่กระบวนการ ยื่นคำร้องของ กกต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีโอกาสให้ผู้ถูกร้องคือพรรคก้าวไกลได้รับทราบโต้แย้งหรือแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด ซึ่งการยื่นคำร้องขัดต่อระเบียบที่ กกต. ตราขึ้นเอง








ทั้งนี้ คำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 31 มกราคม ไม่ผูกพันกับคดีพิจารณายุบพรรคก้าวไกล และการพิจารณาโทษควรมี ความเข้มข้นต่างกัน เป็นข้อหาที่ต่างกันอย่างชัดเจน และจำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงคดีนี้ใหม่ทั้งหมด เพราะ ครั้งก่อนเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 คำวินิจฉัยคือนายพิธาและพรรคก้าวไกลใช้สิทธิและเสรีภาพ“เพื่อ” ล้มล้างการปกครอง แต่ ใน พ.ร.ป. พรรคการเมือง ตามมาตรา 92 เป็นการกระทำเลย ไม่มีคำเชื่อม แสดงว่าต้องเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่เผื่อหรือคาดการณ์ในอนาคต แตกต่าฃกันชัดเจน และในคดีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ยังไม่มีคำวินิจฉัยว่าเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ เพียงคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละข้อหากันชัดเจน โดยเฉพาะคำวินิจฉัย ว่า หากปล่อยให้ผู้ถูกร้องกระทำการต่อไป หาก คือ “if” คือ ยังไม่เกิดขึ้น หรือ อาจเป็นเหตุให้ถึงหรือเป็นเหตุให้เกิด แปลว่ายังไม่ถึง ยังไม่เกิดขึ้น จึงชัดเจนว่าเป็นเพียงคำตักเตือน



ส่วนที่มองว่า โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้ายนั้น การยุบพรรคสามารถเกิดขึ้นได้แต่ต้องถูกใช้อย่างระมัดระวังและเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเท่านั้น ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลถูกร้องทั้งเรื่อง การบรรจุเรื่องการแก้ไข ม.112 ในนโยบายหาเสียง / การแสดงออกความคิดเห็นในพื้นที่สาธารณะ / คนของพรรคเป็นนายประกันหรือเป็นผู้ต้องหาในคดี ม. 112 ยึดหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และ กกต. ก็ยกคำร้อง ของพรรคก้าวไกลมาโดยตลอด และไม่มีความจำเป็นฉุกเฉิน ที่ กกต. ต้องส่งหนังสือเตือน





ส่วนข้อที่เป็นข้อกล่าวหานั้น สภาฯยังสามารถแก้ไขได้เพราะร่างแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกลยังไม่ได้เข้าสู่ที่ประชุมสภา และถึงแม้จะสามารถนำเข้าสู่สภา ได้ ก็ยังสามารถยับยั้งได้ด้วยระบบนิติบัญญัติ เป็นความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งก่อนหรือหลังประกาศใช้กฎหมายได้





ส่วนมั่นใจหรือไม่ว่า 44 สส. ที่ร่วมลงชื่อ จะไม่ถูกพิจารณาตัดสิทธิ์ไปด้วยทั้งหมด นายพิธา ยืนยันมั่นใจในทั้ง 9 ข้อต่อสู้ และเชื่อเจตนาและการกระทำของ สส. แก้กฎหมายในฐานะ สส. ไม่ได้เป็นการล้มล้าง และไม่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง รวมถึงการเป็นนายประกันเพราะสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน การที่มีผู้ต้องหาตามมาตรา 112 เป็นสมาชิกพรรค เป็น สส. ก็ยังไม่สิ้นสุดคดี รวมถึงการแสดงออกแก้ไขที่เกี่ยวกับมาตรา 112 ก็เป็นการกระทำโดยทั่วไป



ทั้งนี้การกระทำทั้งหมดที่เป็นรายบุคคลที่ถูกขยุมรวมกันเป็นข้อกล่าวหา ซึ่งไม่ได้เป็นมติพรรค และนิติบุคคล เป็นเรื่องปัจเจกบุคคล หรือมีมติจากกรรมการบริหารพรรค





เมื่อถามความชัดเจนถึงเรื่องการตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคตามคำร้อง ของ กกต. / นายพิธา ระบุว่า ตามคำร้องของ กกต. ตัดสิทธิ์ ทั้ง 3 ชุด ชุดที่หนึ่ง กรรมการบริหารพรรคชุดที่ 1 / ชุดที่ 2 คือชุดที่ตัวเองลาออก และชุดที่ 3 คือ ชุดที่เติมสัดส่วนกรรมการบริหารภาคเหนือเข้ามา แต่ตัวเองมองว่าสัดส่วนของโทษควรจะสอกคล้องกับสัดส่วนของเวลา เพราะ กรรมการบริหารพรรคชุดที่ 3 เกิดขึ้นเพียงไม่เกิน 6 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นไม่ควรลากเข้ามา



“มันก็จะเป็นการยุบ 2 พรรคใน 5 ปี และเป็นการยุบ 5 ครั้งในรอบ 20 ปี ตนไม่กล้าที่จะเดาหรือคิด มันจะเกิดผลกระทบอะไรกับเมืองไทย หรือการเมืองไทย บางทีทั้งเศรษฐกิจการเมืองไทย และสังคมเปราะบางอย่างนี้ ก็ไม่อยากให้ไปถึงจุดนั้น และถ้ามันไม่รุนแรง ร้ายแรงถึงที่สุด ผมคิดว่าที่สุด คือ การเตือนว่าให้หยุดการกระทำ น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องตัดสิทธิ์ทางการเมือง นักการเมืองถึง 44 คน ซึ่งมีเจตนาดี อาจจะไม่สมบูรณ์แบบทุกคน แต่ถือว่าเป็นทรัพยากรทางการเมือง ทำผิดบ้างถูกบ้าง และ ถือเป็นเลือดใหม่ทางการเมือง เพราะทั้งหมดมีประสบการณ์มาไม่ถึง 5 ปี”





นายพิธา ยังกล่าวด้วยว่า ตอนนี้พรรคเดินหน้าเรื่องการต่อสู้คดี แต่ก็ยอมรับมีแผนสำรอง และคิดว่าหากมีการยุบพรรคจริง สส.ทั้งหมดจะไม่แตกแถว เพราะเรามีความเป็นเอกภาพ และมีความเป็นปึกแผ่น และจากประสบการณ์การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา การเป็นงูเห่า คือ การฆ่าตัวตายทางการเมืองแบบร้อยเปอร์เซนต์ ไม่มีโอกาสกลับมา สส. ได้เลย และครั้งนี้ประชาชนร่วมตรวจสอบด้วย ดังนั้นเรื่องนี้ตัวเองจึงไม่ประมาทและไม่กังวล เพราะมีบทเรียนทั้งภายนอกและภายใน



ขณะเดียวกันเราต้องรับฟัง แต่ยังไม่เชื่อข้อมูล คลิปวีดีโอที่เข้ามาหาตัวเองต้องมีการพูดคุยและตรวจสอบก่อน เพราะตนไม่ได้ไร้เดียงสาว่ามีพรรคการเมืองพยายามดึง สส. พรรคก้าวไกลไปร่วมเพื่อต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรี เรื่องพวกนี้ตัวเองรู้ทัน แต่ก็ยังมั่นใจในตัว สส. ของพรรคก้าวไกล ไม่ได้หูเบา เห็นแล้วมีอคติ





อย่างไรก็ตาม หวังว่าศาลจะเปิดให้ไต่สวน​คดี ถ้าศาลเปิดให้มีการไต่สวน เราก็เตรียมพยานไว้มากกว่า 10 คน ซึ่งหากมีกระบวนการไต่สวน ก็คิดว่าคดีนี้ยังต่อสู้กันอีกยาว





///

คุณอาจสนใจ

Related News