สังคม

รมว.ดิจิทัล ชี้แจงกระแสข่าวไทยมีพายุสองลูก ไม่เป็นความจริง

โดย onjira_n

9 พ.ค. 2566

226 views

ที่ศูนย์ปฏิบัติการพยากรณ์อากาศชั้น 11 อาคาร 50 ปี อุตุนิยมวิทยา นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดแถลงข่าว กรณี มีการแชร์ข้อมูลว่าประเทศไทยจะมีพายุ 2 ลูก เกิดในช่วงวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาล่าสุด ในช่วง  1 สัปดาห์ข้างหน้า 9-15 พ.ค. 2566 นั้น ไม่พบมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยแต่อย่างใด  เบื้องต้น พบ พายุก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอลเพียง 1 ลูก และไม่มีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย  ส่วนในทะเลจีนใต้ ยังไม่ปรากฏว่ามีพายุเกิดขึ้น เป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำเท่านั้น



สำหรับ สภาพอากาศ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง จะยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะ พื้นที่ภาคเหนือตอนบนและพื้นที่ติดเขตชายแดนประเทศ เมียนมา เนื่องจากได้รับอิทธิพลของ ของพายุไซโคลน โมคา ที่พัดเข้าฝั่งประเทศเมียนมา ซึ่งจะทำให้จังหวัดเชียงใหม่/ตาก/แม่ฮ่องสอน/กาญจนบุรี จะมีฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งวัน จึง ขอแจ้งเตือนประชาชนที่จะเดินทางไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในพื้นที่ดังกล่าวให้เตรียมวางแผนการเดินทาง พกร่ม /ส่วน เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งต่างๆที่จะมีฝนตกให้เตรียมแผนสำหรับป้องกัน ปัญหาจากสภาพอากาศไว้ด้วย



ขณะที่เรื่องคลื่นความร้อน ที่ มีนักวิชาการวิเคราะห์ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาขึ้นความร้อนเหมือนเช่นต่างประเทศซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 50 องศาเซลเซียลเรื่องนี้ ไม่เป็นความจริง ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องคลื่นความร้อนแต่ในช่วงวันเลือกตั้ง ไทยยังอยู่ในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 38 ถึง 40 องศาเซลเชียล ขอให้ หลีกเลี่ยงจุดที่อยู่กลางแดด ซึ่งการรอคิวกลางแดดเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อสภาพร่างกายประชาชนได้ แนะหาพื้นที่อากาศถ่ายเทสะดวก ร่มเงา และเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนลดความร้อน



ซึ่งในวันก่อนเลือกตั้ง ทางกรมอุตุนิยมวิทยา จะจัดตั้ง ศูนย์ติดตามพยากรณ์สภาพอากาศ เพื่อรายงานสภาพอากาศให้กับประชาชนรับทราบด้วย




ส่วนปรากฏการณ์ เอลนีโญ ที่จะเกิดตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายปี 2566 ลักษณะเช่นนี้ คาดว่า ในปีนี้ประเทศไทยมี ฝนตกน้อยกว่าปกติ ร้อยละ 5 ซึ่งอาจมีผลต่อการทำเกษตร ขอให้เกษตรกร วางแผน น้ำใช้เพื่อการเกษตร



ขณะที่ ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ไทยไม่เจอความร้อนสูงมากว่า 3 ปี  ยืนยัน ไทยยังไม่พบกรณีการเกิดคลื่นความร้อน ที่เกิน50 องศา  แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นในไทย นั้น มาจากความกดอากาศต่ำ/ รวมถึง ปัจจัยอื่น เช่น ขณะนี้อยู่ในช่วงที่ ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับประเทศไทย  ปัจจัยที่ 2 ปลายปี 2565 ต่อต้นปี 2566 ไทยประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนน้อย  และปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จึงทำให้ในปีนี้รู้สึกว่าอากาศร้อนอบอ้าวกว่าปีก่อน



ส่วนสภาพอากาศของประเทศไทยในช่วงนี้ อุณหภูมิยังสูงเฉลี่ย 40 องศาฯ ต่อเนื่องไปอีกจนถึงกลาง พ.ค. และหลังจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่หน้าฝน สัปดาห์ที่3 ของพฤษภาคมซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาจะแถลงอีกครั้ง




คุณอาจสนใจ