สังคม

ผลตรวจสอบป้ายสถานีกลางบางซื่อไม่พบทุจริต

โดย onjira_n

24 ม.ค. 2566

201 views

จากกรณีโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว โดยมี นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบฯ



โดยคณะกรรมการฯ ได้แบ่งการตรวจสอบเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ความเหมาะสมของขอบเขตงานและราคากลาง**พบว่า รฟท. ไม่ได้ดำเนินการนอกเหนือจากขอบเขตงาน และเป็นไปตามรายละเอียดของงานติดตั้งป้ายเดิม ที่รฟท.รายงานว่าได้ตรวจสอบและรับรองทางวิศวกรรม รวมทั้งติดตั้งไปแล้ว ซึ่งปรากฏว่ามีความปลอดภัยและแข็งแรงตามมาตรฐาน ดังนั้น การกำหนดขอบเขตการดำเนินการ และการกำหนดราคากลางของ รฟท. ของการดำเนินโครงการครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาชีพที่สามารถตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดย รฟท. อาจทบทวนเพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ และประหยัดงบประมาณของ รฟท. ให้ได้มากที่สุด เช่น  ทบทวนรายละเอียดของวัสดุ เทคนิคที่ใช้ ที่อาจทำให้การออกแบบ เลือกใช้วัสดุ และวิธีการจัดทำ และติดตั้งป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อในครั้งนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่า หรือมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม, ทบทวนค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน และจำนวนและเวลาที่ใช้งานของกระเช้าอีกครั้ง /เสนอให้ใช้ตัวอักษรเดิม “สถานีกลาง” ที่ติดตั้งอยู่ในปัจจุบัน มาปรับปรุงเพื่อใช้ติดตั้งแทนที่จะทำขึ้นใหม่ทั้งหมด เพราะยังอยู่ในสภาพดี และสามารถนำมาปรับปรุงเหมือนกับตัวอักษรใหม่ได้ / ทบทวนค่างานออกแบบที่อาจต่ำลงกว่าเดิมได้เนื่องจากเป็นงานที่ออกแบบไว้เดิมอยู่แล้ว รวมทั้งทบทวนงานเผื่อเลือก (Provisional Sum) ที่อาจสามารถปรับลดได้ อาทิ การทบทวนความจำเป็นที่จะต้องมีวัสดุมาปิดไว้ทดแทนกระจกในขณะที่มีการรื้อถอน เนื่องจากงานดำเนินการในช่วงฤดูหนาว และอาคารสถานีบางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีกระจกอยู่แล้ว เป็นต้น





ประเด็นที่ 2)ความถูกต้องของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง **คณะกรรมการฯเห็นว่า กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ รฟท. แม้จะเป็นการใช้ดุลยพินิจตีความระเบียบกฎหมายในกรอบอำนาจหน้าที่โดยอาศัยเหตุและผลความจำเป็นตามที่เข้าใจ และ รฟท. ได้ชี้แจงมาข้างต้นไม่ว่าจะถูกต้องหรือไม่ก็ตาม ***ก็สมควรหารือผู้เชี่ยวชาญด้านพัสดุกรมบัญชีกลางให้ชัดเจน นอกจากนี้ รฟท. ควรศึกษาทบทวนวิธีการจัดซื้อจัดจ้างให้เหมาะสม รอบคอบ และสอดคล้อง กับ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2560 **โดยอาจพิจารณาแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักการของกฎหมาย ที่เห็นควรให้ใช้วิธีการพิจารณาเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปเป็นลำดับแรกก่อน เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเปิดกว้าง  ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นถึงความโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของประชาชน ***นอกจากนี้ เห็นควรให้ รฟท. พิจารณาทบทวนตรวจสอบกระบวนการสืบราคาให้เกิดความครบถ้วนชัดเจน และดำเนินการให้สอดคล้องกับคู่มือแนวทางการประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคำนวณราคากลางเกี่ยวกับการขอจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ตามขั้นตอนต่อไป


รองปลัดกระทรวงคมนาคม แจ้งว่าได้รายงานผล การตรวจสอบไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้ว ส่วนข้อเสนอแนะทั้งหมด จะถูกนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการหรือบอร์ดของรฟท.พิจารณา ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงจะต้องรายงานมายังกระทรวงคมนาคมตามระเบียบอยู่แล้ว ส่วนกรณีรฟท.กล่าวอ้างว่า เป็นเพราะกระทรวงคมนาคมกำหนดในระเบียบว่าต้อง “เร่งรัด” การดำเนินโครงการนั้น ชี้แจงว่า การระบุคำดังกล่าวในระเบียบโครงการ เป็นปกติของการกำหนดให้แผนการดำเนินโครงการต่างๆของรัฐรวดเร็วเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่ก็ต้องคำนึงถึงระยะเวลาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้วย



ข้อมูลเพิ่มเติม :รฟท. ได้อ้างเหตุผลของการจ้างด้วยเหตุตามนัยมาตรา 56 (2) (ค) แห่ง พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2560 ที่กำหนดไว้ว่าเป็น “การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีผู้ประกอบการซึ่งมีคุณสมบัติโดยตรงเพียงรายเดียว หรือการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศไทยและไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้”



คุณอาจสนใจ