สังคม

"ไข้หูดับ" ภัยร้ายใกล้ตัว มือเป็นแผลหั่นหมูก็เสี่ยงติดเชื้อแล้ว

โดย pichaya_s

23 มิ.ย. 2564

620 views

กรณีที่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หูดับ จากการรับประทานเนื้อสุกรที่ไม่ปรุงไม่สุก และมีการสันนิษฐานว่า ผู้เสียชีวิตทำการหั่นชิ้นเนื้อเพื่อทำหมูกระทะในขณะที่มีแผลที่บริเวณมือ จนเกิดติดเชื้อในกระแสเลือด


ทีมข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ ได้สอบถามไปยังสพ.ญ.อรพิรุฬห์ ยุรชัย นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แม้ว่าเชื้อโรคนี้สามารถติดต่อผ่านบาดแผลเข้าสู่กระแสเลือดได้ แต่กรณีนี้ถือว่าพบได้ไม่บ่อยนัก โดยจากรายงานการสอบสวนโรคที่มายังกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2564 ตั้งแต่เวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมาจริงๆ มีผู้ป่วยด้วยโรคหูดับแล้วทั้งสิ้น 243 ราย และเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 11 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยดังกล่าวพบว่ามีติดเชื้อจากการสัมผัสเพียง 2-3 รายเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามยังถือว่ามีโอกาสที่จะติดเชื้อโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (ไข้หูดับ) ผ่านการสัมผัสได้อยู่


"ไข้หูดับ"  คืออะไร


นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมควบคุมโรค เผยว่า โรคไข้หูดับ เรียกอีกอย่างนึงว่า โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และก็อาจจะอยู่ในเลือดของหมูที่ป่วยหรือกำลังแสดงอาการป่วยอยู่ เพราะฉะนั้นแล้วถ้าเกิดการติดต่อ จะเป็นในสองทางใหญ่ๆด้วยกัน คือในเรื่องของการบริโภคเนื้อหมูดิบเข้าไป หรือบริโภคเลือดหมูเข้าไป อย่างเช่นลาบ ลู่ เป็นต้น หรืออีกอย่างคือการสัมผัสกับเนื้อหมู หรือ เลือดหมูที่มีเชื้อ และเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล


"ไข้หูดับ" มือที่เป็นแผลไปสัมผัสเนื้อหมูก็ติดแล้วหรือ?


สพ.ญ.อรพิรุฬห์ เผยว่า ลักษณะการติดของเชื้อตัวนี้ส่วนใหญ่แล้วจะติดมาจากทางการกิน อีกส่วนหนึ่งเชื้อจะติดจากสิ่งแวดล้อม หรือจากเขียงหั่นที่ปนเปื้อน และเชื้อจะเข้าไปทางบาดแผลของผู้ที่สัมผัส เพราะฉะนั้นแล้วถ้ามือมีบาดแผลและก็ไปจับเนื้อหมูที่มีเชื้อ หรืออุปกรณ์ปนเปื้อนเชื้อ ก็จะมีโอกาศที่จะสามารถติดเชื้อนี้ได้ ซึ่งจากรายงานการสอบสวนโรคมา ในปีปีนึงก็มีคนที่ติดเชื้อมากพอสมควร ก็จะมีอยู่ประมาณสัก 2-3 ราย ที่มีประวัติเสี่ยงจากการสัมผัสกับเนื้อหมูดิบ หรือมีบาดแผลที่มือ เพราะฉะนั้นถามว่ามีโอกาสไหม มีแน่นอนค่ะ


คนติดเชื้อหูดับเยอะไหม?


สพ.ญ.อรพิรุฬห์ เล่าว่า ตัวอย่างในปี 2564 ในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. มีผู้ป่วยโรคดังกล่าวแล้วทั้งสิ้น 243 ราย แต่เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 11 ราย ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อจะอยู่ในโซนของภาคเหนือ ภาคตอนล่าง ที่มีประวัติในการกินลาบ ลู่ เนื้อดิบๆ หรือว่ามีการเชือดหมูที่หลังบ้านเองเป็นต้น


วิธีป้องกันไม่ตัวเองเป็น "ไข้หูดับ"


สพ.ญ.อรพิรุฬห์ บอกว่า วิธีป้องกันที่ดีที่สุดเลยก็คือการงดการกินเนื้อหมูดิบ หรือว่าเลือดหมู แต่ว่าในบางพื้นที่ ที่เหมือนหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นวัฒนธรรมเลยจริงๆจะแนะนำว่า ให้เลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แหล่งที่หมูมีความสะอาด และมีฟาร์มที่ปลอดโรค หรือฟาร์มที่ได้มาตรฐาน หรืออีกในกรณีหนึ่ง ถ้าเกิดเราหลีกเลี่ยงได้ ก็แนะนำให้กินแบบปรุงสุกอย่าง เช่นการนำเนื้อหมูไปผัดก่อนอย่างน้อย 5 นาที ทำให้เชื้อตัวนี้สามารถถูกฆ่าได้


วิธีรับประทานอาหารที่ใช้หมูเป็นวัตถุดิบ


สพ.ญ.อรพิรุฬห์ เผยว่า หลักการในทั่วไปในการกิน หมูกระทะก็ดี หรือ กินตามร้านอาหารอะไรก็ดี คือแยกของที่ใช้กับของดิบกับของสุกออกจากกัน อย่างเช่นสมมุติว่า เราเอาเนื้อหมูขึ้นมาปิ้ง เราใช้ตะเกียบอีกอันนึง หรือว่าใช้ภาชนะอีกอันนึง และหลังจากที่ปิ้งเสร็จแล้ว หมูเริ่มสุกในระดับนึงแล้วเราค่อยใช้ตะเกียบอีกอันนึงที่คีบของสุก แล้วก็คีบเอาอันนั้นเข้าปากเรา


และอีกกรณีนึงที่ต้องแยกกันก็คือภาชนะ ภาชนะที่ใส่หมูดิบไม่ควรนำมาใส่หมูสุก หรือภาชนะที่ใส่หมูสุกไม่ควรนำมาใส่หมูดิบเพราะว่ามันจะมีการปนเปื้อน และติดเชื้อระหว่างกันได้ เพราะฉะนั้นแล้วหลักๆเลยคือการแยกของสุกกับของดิบออกจากกันให้ชัดเจน เท่านี้แหละค่ะก็จะสามารถป้องกันโรคได้แล้ว


ส่วนในกรณีของผู้ประกอบอาหาร ในกรณีที่แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ในการที่จะจับเนื้อหมู คือถ้าหากใส่ถุงมือได้ก็ควรใส่ถุงมือ แต่ถ้าหากว่าจับอาหารดิบแล้ว แนะนำให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ การล้างมือให้สะอาดจะช่วยลดการที่เชื้อจะเข้าไปสู่บาดแผลได้ส่วนหนึ่ง


"ไข้หูดับ" อาการเป็นอย่างไร


สพ.ญ.อรพิรุฬห์ เล่าว่า อาการของไข้หูดับในบางคนจะแยกค่อนข้างยาก แต่อาการเริ่มแรกเลยคือการมีไข้ ในบางรายมีไข้ต่ำๆไปจนถึงไข้สูง มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด แต่ว่าอาการเหล่านี้มักจะเป็นหลังจากที่ไปสัมผัสเนื้อหมูดิบ หรือว่า ไปกินอาหารสุกๆดิบๆ อย่างน้อย 2 วัน จนถึง 1 สัปดาห์


เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าเกิดว่าเรามีประวัติเสี่ยงเหล่านี้แล้วเนี่ย ในช่วงระยะเวลา 2 วัน ถึง 1 สัปดาห์ เราเริ่มมีอาการไข้ ให้พึงระวังไว้ว่าเรามีโอกาสที่จะเป็นโรคหูดับได้ ถ้าเราเริ่มมีไข้ให้รีบไปพบแพทย์ ยังจะสามารถช่วยรักษาได้ทัน แต่ถ้าหากว่าเราบ่อยระยะเวลาไปสักพักนึงแล้ว อาจจะทำให้มีอาการที่เชื้อนี้เข้าสู่ระบบประสาท อย่างเช่นเยื้อหุ้มสมอง ทำให้เกิดอาการอักเสบของเยื้อหุ้มสมองอักเสบตามมาได้ หลังจากที่เยื้อหุ้มสมองอักเสบ จะทำให้เกิดอาการหูดับ หรือว่าเป็นหูหนวกไม่ได้ยินเสียง ซึ่งถ้าเกิดเข้าสู่ระยะนี้แล้ว หากรักษาทันจะสามารถกลับมาได้ยิน แต่ถ้าเกิดว่ารักษาไม่ทันก็อาจทำให้เกิดการพิการถาวรได้


หรือว่าในอีกกรณีนึงเลย ถ้าเกิดว่าเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดไปแล้วเนี่ย แล้วก็ไปทำลายอวัยวะภายในก็อาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน


ยังมีโรคอื่นๆ ที่ควรระวังจาการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์หรือไม่


สพ.ญ.อรพิรุฬห์ เผยว่า นอกจากนี้โรคหูดับแล้ว ก็ยังมีในส่วนของโรคท้องร่วง ท้องเสีย ซึ่งมันก็มักจะมากับพวกเนื้อสุกๆดับๆ หรือว่าอาหารทะเล หรืออาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นต้น หรือในอีกกรณีนึง คือโรคแท้งติดต่อ หรือ โรคบรูเซลโลสิส ( Brucellosis) ซึ่งโรคชนิดก็มาจากการบริโภคน้ำนมดิบ น้ำนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือว่าเข้าฟาร์มเข้าไป แล้วไปสัมผัสสัตว์เคี้ยวเอื้อง ที่มีโอกาสเป็นโรคนี้ก้จะทำให้ติดมาได้ ซึ่งอันนี้ก็เป็นโรคหลักๆ ที่ประชาชนควรพึงระวังไว้ เพราะเป็นโรคที่ใกล้ตัวเราที่สุด


สิ่งที่ควรปฏิบัติในการบริโภค


นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมควบคุมโรค กล่าว่า สำหรับการป้องกันการติดต่อผ่านการทานอาหารอย่างแรกเลยคือ กินของสุก หากเป็นไปได้ไม่แนะนำให้กินของที่ปลุกสุกๆดิบๆ เพราะว่ามีโอกาสที่จะมีเชื้อโรค ที่เป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ที่ปะปนมากับอาหารและทำให้เกิดอาหารท้องร่วง ท้องเสียได้


หรือว่าในบางครั้งก็เป็นเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (ไข้หูดับ) นี่แหละ ที่ทำให้เกิดอาหารหูดับ และก็เกิดอาหารพิการได้ นอกจากนี้ก็จะมีโรคอื่นๆอย่างเช่นโรคบรูเซลโลสิส ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ หรือว่าเป็นโรคเรื้อรังที่อาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในประจำวันของเราได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นแล้วหลักการของการกินร้อนช้อนกลาง ล้างมือก็ยังคงเป็นสิ่งที่อยากจะให้ทุกๆคน ได้ท่องจำเอาไว้ และก็มีการเข้าใจในการที่จะบริโภคอาหารให้ถูกสุขลักษณะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง  ไข้หูดับ ,หมูดิบ ,หั่นหมูดิบ

คุณอาจสนใจ

Related News