สังคม
ทส.สรุปการประชุม COP28 ส่งต่อแนวทางขับเคลื่อนไทย ตั้งรับ-ปรับตัว อย่างมีส่วนร่วม
โดย panwilai_c
20 ธ.ค. 2566
94 views
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 28 ที่รัฐดูไบ สหรัฐเอมิเรตส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้ข้อสรุปจากการหารือกันหลากหลายประเด็นและวาระ โดยที่สำคัญคือการบรรลุข้อตกลงการเปลี่ยนผ่านการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งวันนี้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมได้จัดสรุปผลการประชุมครั้งที่ผ่านมา เพื่อส่งต่อแนวทางปฏิบัติให้ภาครัฐและเอกชนดำเนินตามเป้าหมายของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2030
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ กิส(GIZ) และโครงการ Supporting Preparedness for Article 6 Cooperation จัดประชุมสรุปผลการประชุมรัฐภาคี
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ COP 28 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ COP 28 Debrief ที่จัดขึ้น ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม ที่ผ่านมา
นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้สรุปภาพรวมของการประชุม COP 28 และแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยในระยะต่อไป
โดยประเด็นสำคัญคือการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานในระดับโลก / การสร้างเป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำหรับการสูญเสียและความเสียหาย การระดมและจัดสรรเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงกลไกตลาดและกลไกที่ไม่ใช่ตลาดภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีส
ซึ่งการประเมิณการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ผ่านมา หรือ Global Stocktake ถูกประเมินว่าทั่วโลกยังทำได้ไม่ดีพอ ตามเป้าหมายคือลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% ในปี 2030 ซึ่งหากต้องการไปสู่เป้าหมาย net zero ในปี 2050 ทั่วโลกก็จะต้องทำให้ได้เฉลี่ย 60% ตามแผนต่อไปในปี 2035 ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ด้วยการเพิ่มสัดส่วน พลังงานหมุนเวียน เป็น 3 เท่า เพิ่มค่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือ Emission Factor เป็น 2 เท่า รวมถึงยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า COP28 ทำให้นโยบายเปลี่ยนผ่านการลดใช้พลังงานฟอสซิลของทั่วโลกมีความชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการลดใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ไม่มีการควบคุม ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในแนวทางที่ลดการปล่อยคาร์บอนด์ได้แล้วมากกว่า 30% ตามแผนปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ NDC ฉบับแรก และ เตรียมร่างแผนฉบับที่ 2 ตามมาในช่วงก่อนถึงปี 2035
สำหรับแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยให้สู่ความเป็นการทางคาร์บอน จากนี้ คือ การสื่อสารกับทุกภาคส่วน และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน
/ ตั้งเป้า แผนปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี2021-2030
/ และ เร่งจัดทำ พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยฟังเสียงจากประชาชน ภาครัฐและเอกชน พร้อมพัฒนาศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้มากขึ้น / พัฒนาศูนย์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ