สิ่งแวดล้อม

ไทยประกาศจุดยืนใน COP29 พร้อมยกระดับลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรียกร้องกองทุน ช่วยประเทศกำลังพัฒนา

โดย panwilai_c

19 พ.ย. 2567

17 views

การประชุม โลกร้อน cop29 วันนี้ ติดตาม ท่าทีบทบาทของไทย จากหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ที่ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมในวันนี้



ภาคเยาวชนก็เป็นอีกกลุ่มที่เข้ามามีบทบาทในการประชุม COP ครั้งนี้ โดยแต่ละองค์กร ก็จะคัดเลือกตัวแทนเยาวชนเพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกำหนดนโยบายซึ่งประเทศไทยเองก็มีตัวแทนเยาวชน 16 คน เข้าร่วม



COP29 ปีนี้ มีเยาวชนจากหลากหลายประเทศมาเข้าร่วม โดยมีพาวิลเลียนกระจายอยู่ภายในบลูโซนครับ ให้พวกเขาได้ไปเข้าร่วมตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งในนั้นก็จะมีทั้งการเสวนา การจัดเวิร์คชอปกิจกรรม และอื่นๆ ให้ได้แลกเปลี่ยนความสนใจและความร่วมมือกัน



ปีนี้ประเทศไทยก็มีตัวแทนเยาวชนเข้าร่วมการประชุม COP 29 จำนวน 16 คน ซึ่ง 1 ในนั้นก็คือ สิปโปไท เกตุจินดา วัย 23 ปี ที่เข้าร่วมการประชุม cop ครั้งแรก โดยผ่านการคัดเลือกจาก UNICEF เพื่อนำเสนอปัญหาผลกระทบในระบบนิเวศที่บ้านเกิดของเขาในจังหวัดสมุทรปราการ จนเกิดการแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่



โดยเข้าร่วมการประชุมในเวทีหลัก และ เสวนาในไซต์อีเว้นท์ต่างๆ ทั้งที่สิงคโปร์และไทยพาวิลเลียน เขาได้นำเสนอ national youth statement ซึ่งเป็นแนวทางความร่วมมือการจัดการภาวะโลกร้อนในระดับเยาวชนที่ทุกประเทศยึดเป็นหลักเกณฑ์ โดยอนาคตก็คาดหวังถึงการร่วมมือร่วมกันในระดับภูมิภาค



สุพิชชา สุทธานนท์กุล ในวัย 29 ปี นักวิจัยที่มีความสนใจด้านมรดกเชิงพื้นที่ ก็เป็นอีก 1 ตัวแทนเยาวชนไทย โดยเธอใช้เวทีนี้ในการเข้าแลกเปลีย่นความเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการทรัพยากรในพื้นที่สู่การปรับใช้กับประเทศไทย หลังปีที่ผ่านมาเธอมีโอกาสเข้าร่วม COP28 มาแล้ว



ผ้ามูน กมลจันทร์ ที่ปีนี้เข้าร่วม COP 29 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ก็ยกระดับจากฐานะตัวแทนเป็นนักเจรจาในเข้าร่วมเจรจาต่อรอง ในระดับนโยบายของสหประชาติร่วมกับนักเจรจาจาก 64 ประเทศในเรื่อง Gender หรือ เพศ ที่ทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการผลักดันความก้าวหน้าในเชิงนโยบายสู่แนวทางปฏิบัติจริง



ที่ไทยพาวิลเลียนเองก็จัดไซต์อีเว้นหลากหัวข้อที่เกี่ยวกับเยาวชน เช่น การเสวนาหัวข้อ outcomes of localconference หรือ ผลลัพธ์ของความร่วมมือในการแก้ปัญหาโลกร้อน ระดับท้องถิ่นของประเทศภูมิภาคอาเซียน



โดยมีตัวแทนเยาวชนจาก ไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ร่วมบอกเล่าตัวอย่างการทำงาน ซึ่งมีตัวแทนเยาวชนจากประเทศไทย ทั้งสิปโปไท เด็กชายธาร ธีรภาสิริ และ 2 นักศึกษาจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ นำเสนอการจัดการปัญหาโลกร้อนในประเทศไทย ซึ่งของทางราชภัฏเองก็นำหลักการทำงานของเครือข่ายผู้นำนักศึกษาในหลักสูตรวิศวกรสังคม



เยาวชนจากชาติอาเซียน มองว่า แม้เยาวชนจะมีบทบาทในเชิงรุกเข้าทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น แต่ด้านนโยบายและการทำงานร่วมกันในระดับประเทศ นับว่ายังน้อยมาก ต่างกับประเทศฝั่งยุโรป โดยสิ่งที่พวกเขายังคงดำเนินต่อเนื่องในตอนนี้คือการสร้างเครือข่ายกับเยาวชนท้องถิ่น เพื่อให้พวกเขาต่อยอดการทำงานต่อไปได้



เวทีนี้จึงมีส่วนสำคัญที่พวกเขาจะแสดงพลังของพวกเขาสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะสถานการณ์โลกร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องย่อมมีผลต่อการใช้ชีวิตพวกเขาในอนาคตอย่างแน่นอน ธีรุตม์ นิมโรธรรม รายงานจากเมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน

คุณอาจสนใจ

Related News