สังคม

เปิดเวทีเสวนา วิเคราะห์ข้อท้าทายเจรจาฯ ลดโลกร้อน ก่อนเริ่ม COP28

โดย panwilai_c

28 พ.ย. 2566

127 views

เหลืออีก 2 วันการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 หรือ COP28 จะเริ่มขึ้น ในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งเวทีนี้จะมีตัวแทนจากรัฐบาลไทยเดินทางไปเข้าร่วมเพื่อนำเสนอนโยบายและความก้าวหน้าของการทำงาน



ภาคสื่อมวลชนและประชาสังคมจึงได้จัดเวทีเสวนาเชิงนโยบายขึ้น แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้เชี่ยวชาญและผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลกับข้อเท็จจริงมีความชัดเจนขึ้น และเข้าใจในประเด็นเดียวกัน ก่อนเข้าสู่วงเจรจาฯ ลดโลกร้อนกับนานาชาติใน COP28 ครั้งนี้



[INSERT : เนื้อข่าว] CG. วิเคราะห์ข้อท้าทายการเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP28



การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 หรือ COP28 มีสิ่งสำคัญที่ต้องหารือต่อเนื่อง ที่หลังผ่านมาการมีส่วนร่วมของชาติต่างๆ ตามข้อตกลงปารีส โลกเพิ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซได้เพียงร้อยละ 7 เท่านั้น จากข้อตกลงที่ระบุไว้ว่าต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 43 ของระดับการปล่อยในปี 2019 โดยรายงานจาก World resources institue ระบุว่าปีที่ผ่านมายังมีเงินอุดหนุนการใช้พลังงานฟอสซิลสูงถึงกว่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ



ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ประเด็นหลักของการพูดคุยในครั้งนี้คาดว่ายังคงเป็นเรื่องพลังงาน แต่สิ่งที่จะถูกพูดถึงมากขึ้นคือ พลังงานหมุนเวียน ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคประชาชน และ การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ



ประเทศไทยจึงเตรียมเสนอนโยบายการขับเคลื่อนของประเทศสู่ net zero GHG Emission ด้วยร่างพ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ขณะนี้รอผ่านมติความเห็นชอบก่อนนำเสนอสภาพัฒน์ พร้อมกับการจัดทำแผนการเงินเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



ด้านภาคประชาสังคม โดยตัวแทนจากกรีนพีซประเทศไทย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และ thai climate justice for all ก็ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันทุกประเทศบนโลกยังคงยึดติดกับพลังงานถ่านหิน ที่ปล่อยพลังงานมากถึง ร้อยละ 60 ในขณะที่ประเทศผู้ก่อมลพิษหลักมักบิดเบือนความรับผิดชอบ ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อตกลงการยุติการค้าฟอสซิล และ การสนับสนุนงบประมาณตามสัญญาไม่คืบหน้า จึงมองว่าภาคประชาสังคมควรมีส่วนเข้าร่วมกำหนดทิศทางร่วมด้วย เข้าร่วมด้วย เพื่อเริ่มการหยุดพลังงานฟอสซิล เปลี่ยนสู่พลังงานหมุนเวียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง กระจายอำนาจการจัดการทรัพยากร สู่ประชาชน ส่งเสริมสิทธิชนพื้นเมือง และชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการทรัพยากร



นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้แนะนำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ตอนนี้ เพราะอาจส่งผลต่อเงื่อนไขการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้



การประชุม Cop28 จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 พฤศจิกายนถึง 12 ธันวาคมนี้ ที่ EXPO City รัฐดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีผู้แทนจากรัฐภาคีและองค์การระหว่างประเทศ จาก 197 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม ซึ่งทีมประเทศไทยเองก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าร่วมในครั้งนี้ 

คุณอาจสนใจ

Related News