ยันทำตามกฎหมาย! คอนโดหรูย่านอโศก เตรียมอุทธรณ์ศาลปกครอง ปมสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ขณะผู้ซื้อเข้าอยู่อาศัยแล้ว

สังคม

ยันทำตามกฎหมาย! คอนโดหรูย่านอโศก เตรียมอุทธรณ์ศาลปกครอง ปมสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ขณะผู้ซื้อเข้าอยู่อาศัยแล้ว

โดย pattraporn_a

1 ส.ค. 2564

307 views

ผู้บริหารบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ยืนยันว่าทำตามขั้นตอนราชการอย่างถูกต้อง ในการก่อสร้างคอนโดมีเนียมหรูย่านอโศก ในชื่อโครงการแอชตัน อโศก มูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท แต่ถูกศาลปกครองกลางพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาต แม้มีผู้ซื้อห้องได้เข้าอยู่แล้วกว่า 1 ปี


คอนโดมีเนียมที่ชื่อ แอชตัน อโศก ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ และ มิตซุย ฟูโดซัง จากประเทศญี่ปุ่น มูลค่ากว่า 6,358 ล้านบาท แม้จะเป็นโครงการที่ตั้งราคาห้องไว้ เริ่มต้นเกือบ 7 ล้านบาท แต่เพราะตั้งอยู่บนทำเลดี ใกล้สี่แยกอโศกถนนสุขุมวิท 21 ใกล้รถฟ้าบีทีเอส และยังมีสถานีรถไฟฟ้ามหานครอยู่ด้านหน้า จึงทำให้มีผู้ซื้อห้องพักทั้งกว่า 780 แห่งเต็มทั้งหมดและเข้าอาศัยได้ราวปีกว่าแล้ว


อย่างไรก็ตาม ถนนทางเข้าโครงการนี่เอง เป็นหนึ่งในปมสำคัญที่มีผู้ร้องจำนวน 16 คน ร้องต่อศาลปกครอง ในความผิดทางละเมิด ต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่งอำนวยการเขตวัฒนา ไปถึง ผู้ว่าฯ กทม. และ ผู้ว่าฯ รฟม. กระทั่งศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา ใจความสำคัญคือเพิกถอนใบอนุญาตโคงการนี้


โดยในปี 2559 สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พร้อมโจทย์อื่นรวม 16 คน ฟ้องความผิดที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำมิชอบตามกฎหมาย หรือละเลย หรือปฎิบัติหน้าที่ล้าช้า มีผู้ถูกเป็นจำเลย 5 คน เช่น ผอ.เขตวัฒนา ผู้ว่า กทม.และผู้ว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น ส่วนบริษัทอนันดา ตกเป็นผู้ร้องสอด เพราะเป็นเจ้าของโครงการ ที่จำเลยมีอำนาจอนุญาต


แม้มีคำฟ้องหลายประเด็น แต่นัยสำคัญคือ โครงการนี้ ตั้งอยู่บนที่ดิน ที่ไม่มีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวเกินกว่า12 เมตร และด้านนั้นต้องต้องติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันไปจนเชื่อมทางสาธารณะ หรือสรุปได้ง่ายคือ เดิมโครงการนี้ไม่มีทางเข้าออก ขนาด กว้าง 12 เมตร เพื่อไปเชื่อมถนนใหญ่ ซึ่งเป็นข้อกำหนัดตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เหตุผลที่ต้องมีข้อกำหนดเรื่องความกว้างของถนนที่เชื่อมถนนใหญ่ ก็เพื่อให้รถดับเพลิงและการคมนาคมสะดวกขึ้นในกรณีฉุกเฉิน


อย่างไรก็ตาม โครงการได้ประสานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรมฟ. เพื่อใช้พื้นที่เดิม ที่รมฟ.เวนคืนมาก่อนหน้านี้และมีทางเข้าออกอยู่ก่อนแล้ว เพื่อปรับปรุงมีขนาดกว้างตามกฎหมายกำหนด จนกลายเป็นทางเข้าออกโครงการได้ โดยได้รับอนุญาตจาก การ รฟม.ในลักษณะการให้เช่า


ประเด็นนี้เองที่ผู้ร้อง ร้องว่า รฟม.เวนคืนที่ดินไปเพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แต่กลับนำที่ดินที่เวนคืนไปอนุญาต หรือให้เช่าแก่เอกชน ซึ่งไม่ตรงตามเจตนาการเวนคืน อีกทั้งการอนุญาตให้เช่าไม่ผ่านมติ ครม. จึงร้องให้ศาลพิจารณาว่าการอนุญาตให้สร้างดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ เพราะถนนนั้นไม่ใช่สาธารณะของโครงการที่เชื่อมของการ แต่เป็นถนนของ รฟม. กระทั่งศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างดังกล่าว


ขณะที่ ผู้บริหารบริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ยืนยันว่าขออนุญาตหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มาแล้วจึงก่อสร้างได้ โดยไม่ได้ถูกคัดค้าน และเตรียมยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด เช่นกัน


ตอนนี้คำสั่งศาลปกครองกลางยังไม่ถือว่าสิ้นสุด เพราะยังเหลือขั้นตอนในศาลปกครองสูงสุด ทำให้เจ้าของร่วมหรือเจ้าของห้องในคอนโดยังครอบครองอยู่ได้และอาคารที่เข้าอยู่ราว 1 ปีเศษนี้ยังมีคำสั่งทุบใดๆ จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา ขณะที่บริษัทอนันดา จะชี้แจงต่อสื่อมวลชนและสาธารณะผ่านระบบออนไลน์ ในสายวันพรุ่งนี้ (2 ส.ค.)

คุณอาจสนใจ