สังคม

'ศรีสุวรรณ' ยื่นกทม. สอบจนท.ออกใบอนุญาตสร้าง 'แอชตัน อโศก'

โดย panwilai_c

4 ส.ค. 2566

114 views

นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เรียกร้องกรุงเทพมหานคร ตั้งกรรมการสอบเจ้าหน้าที่ว่าเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้เสียกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดมีเนียมแอชตัน อโศก หรือไม่ และเสนอว่าให้ กทม.สั่งระงับใช้คอนโด หากบริษัทอนันดา หาทางออก โครงการที่ถูกต้อง ไม่ได้ภายใน 90 วัน



นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ฟ้องคดี กรณีคอนโดมีเนียม แอชตัน อโศก ร่วมกับชาวชุมชนซอยสุขุมวิท 19 แยก 2 รวมผู้ฟ้อง 16 คน ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการ กทม. เพื่อให้ตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิดทั้งทางแพ่ง และอาญา ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องออก "ใบรับรองการแจ้งก่อสร้างา" ที่ถือเป็นใบอนุญาตก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยนายศรีสุวรรณระบุว่า กรณีนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ



นอกจากนี้ ยังอ้างอิงถึงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวด้วยว่า บริษัทอนันดา ต้องหาที่ดินใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ เพื่อใช้เป็นทางเข้า-ออก ที่มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร จากคอนโดฯ เชื่อมต่อไปยังทางสาธารณะให้ได้ จึงจะทำให้เรื่องนี้ยุติลงได้ หรือหากบริษัทอนันดา ยังหาไม่ได้ กทม.อาจขยายเวลาออกไปให้ได้เป็น 60 วัน หรือ 90 วัน หากพ้นจากนี้แล้วยังหาไม่ได้ นายศรีสุวรรณ เห็นว่าผู้ว่าฯกทม.ต้องใช้อำนาจ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 สั่งระงับใช้อาคารนี้ และเห็นว่าเรื่องนี้กฎหมายชัดเจนมาตั้งแต่ต้น จึงไม่ควรมีใครใช้เทคนิคทางกฎหมายซิกแซกท จนนำไปสู่ปัญหา



สำหรับข้อเรียกร้องทั้งสองประเด็นดังกล่าว นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงไปแล้วเช่นกันเมื่อว่า ใบอนุญาตของแอชตัน ที่ กทม.ออกให้ มีเงื่อนไขเรื่องให้รับผิดชอบกรณีมีปัญหาเรื่อง เข้าออก รวมอยู่ด้วย เนื่องจากพบข้อพิพาทมาก่อน แต่บริษัทได้ดำเนินการผ่านคณะกรรมการอุทธรณ์หลายกรณี ทำให้หากเจ้าหน้าที่ไม่ใบรับการแจ้งก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นใบอนุญาตประเภทหนึ่งด้วยนั้น อาจถูกดำเนินคดีฐานละเว้นตามมาตรา 157 ได้



ส่วนการกำกับให้บริษัทอนันดา เร่งแก่ปัญหานั้น กทม.ได้แจ้งการยกเลิกใบอนุญาตแล้ว และเมื่อแจ้งไปแล้ว จะให้บริษัทอนันดาเร่งแก้ปัญหาในเวลา 30 วัน หรือขอขยายออกไปได้หากมีเหตุอันควร โดยต้องผ่านการหารือระหว่างบริษัทอนันดา และคณะกรรมการพิจารณาของ กทม.ด้วย



สำหรับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในกรณีนี้ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 49 คน ในจำนวนนี้มีตุลาการเสียงข้างน้อย จำนวน 20 คน โดยตุลาการเสียงข้างน้อย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจำนวน 19 คน เห็นว่าศาลปกครองสูงสุดควรแก้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น เป็นการใช้พื้นที่ของ รมฟ.จำนวน 13 เมตรดังกล่าว เป็นทางเข้า-ออก ของแอชตัน เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่เป็นการทำผิดขั้นตอน คือ รฟม.ไม่ควรตัดสินใจด้วยตัวเองให้ใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อเป็นทางเข้า-ออก แอชตัน หรือไม่



แม้ว่าจะบริษัทอนันดา เสนอแลกเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ด้วยเงิน 97 ล้านบาท หรือไม่ก็สร้างอาคารลานจอดรถให้ในวงเงิน 97 ล้านบาทดังกล่าว แนวทางนี้ จึงควรให้ รฟม.เสนอต่อรัฐมนตรีคมนาคม เพื่อนำเข้าหารือในคณะรัฐมนตรีว่าเห็นชอบการใช้ประโยชน์บนที่ดินดังกล่าวหรือไม่ ส่วนตุลาการเสียงข้างน้อยอีก 1 คน มีความเห็นว่าให้ยกฟ้อง

คุณอาจสนใจ

Related News