อาชญากรรม

#อย่าโทษเกม มืออาชีพถามกลับ เด็กรุนแรงเพราะเกมหรือครอบครัว? จี้ปิดช่องโหว่ครอบครองปืนแบลงค์กัน

โดย nattachat_c

5 ต.ค. 2566

557 views

จากกรณี วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เด็ก 14 ก่อเหตุสะเทือนขวัญ จนกลายเป็นเหตุโศกนาฏกรรม เมื่อได้ทำการกราดยิงในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และ บาดเจ็บ 5 ราย


โดยหลังจากที่มีการได้บอกว่า ผู้ก่อเหตุนั้นนิยมชมชอบในการเล่นเกม PUB G MOBILE ซึ่งเป็นแนวแบทเทิลรอยัล หรือแนวเซอร์ไวเวอร์ ซึ่งต้องเอาตัวรอดในเกม และมีการใช้อาวุธเพื่อเอาตัวรอด ทำให้ 'หลายคน' ได้โทษ 'เกม' ว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เด็ก 14 มีความรุนแรง และได้ก่อเหตุรุนแรง 


ต่อมา กระแสในโลกทวิตเตอร์ หรือโซเชียลอื่น ๆ ก็เดือดขึ้น เมื่อเหล่าผู้ที่เล่นเกม หรือนิยมชมชอบการเล่นเกม ก็ได้ออกมาอธิบาย พร้อมกับติดแฮชแท็ก #อย่าโทษเกมส์ จนพุ่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์ภายในเวลาไม่นาน 


ในวันนี้ (5 ตุลาคม 66) รายการโหนกระแส จึงได้เชิญ คุณแทน (โค้ช เกม PUB G MOBILE) และ คุณชล (สตรีมเมอร์เกม อดีตนักข่าวอาชญากรรม ปสก. 7 ปี) เป็นตัวแทนผู้เล่นเกม มาพูดคุยถึงเรื่องการเล่นเกมจะส่งผลต่อความรุนแรงในเด็ก (หรือวัยอื่นๆ) หรือไม่


นอกจากนี้ ยังได้เชิญ อ.วิทยา (ผู้เชี่ยวชาญด้านปืน และ เจ้าของสนามยิงปืน) มาให้ความรู้เรื่องปืน และความรู้เรื่องของ 'แบลงค์กัน' ที่ผู้ก่อเหตุทางอาชญากรรมต่างๆ นิยมนำมาดัดแปลงให้คล้ายปืนจริงเพื่อก่อเหตุ 


และคนสุดท้ายคือ ทนายเดชา (ทนาย) เพื่อมาพูดคุยในเรื่องของการแก้กฎหมายเด็ก เนื่องจากมีหลายคนมองว่า ควรแก้กฎหมายในเรื่องนี้ เนื่องจากผู้ก่อเหตุกราดยิงพารากอนมีอายุเพียงแค่ 14 ปี แต่ (น่าจะ) มีความคิดแบบผู้ใหญ่ และในโลกปัจจุบัน เด็ก ๆ ก็มีความคิดเกินอายุ จึงควรเปลี่ยนกฎหมายใหม่ เพื่อให้ทันกับโลกปัจจุบันที่ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

-------------

คุณแทน (โค้ช เกม PUB G MOBILE) ได้กล่าวโดยสรุป ว่า


ผมมองว่าเกมคือสื่อบันเทิงประเภทหนึ่ง มีการจัตเรตความรุนแรง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ที่สำคัญคือตัวผู้เล่นต้องได้รับความแนะนำจากผู้คนรอบข้าง ผู้บริโภคก็ควรแยกแยะให้ออกว่านี่ก็เป็นแค่เกม ที่สร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิง รวมถึงต้องเลือกคบคนในเกม อย่าไปคบคน Toxic  


ส่วนพ่อแม่ เห็นเด็กเล่นเกมก็ควรถามไถ่ลูกบ้าง เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ ถ้าลูกเริ่มหัวร้อนมีอารมณ์โกรธ ควรเข้าไปคุยกับลูก ว่าเป็นอะไรมั้ย ทำไมแสดงอาการแบบนี้ออกมา บางทีเด็กก็ไม่รู้วิธีจัดการอารมณ์ ไม่รู้วิธีระบายอารมณ์ อธิบายไปว่าเล่นใหม่ก็ได้


นอกจากนี้ คือเราต้องบอกเค้าว่าเราให้เค้าเล่นเกมเพื่ออะไร เป็นการตกลงในครอบครัว ต้องกำหนดให้ชัดเจน คุยกับลูกไปเลย เด็กสมัยนี้เกิดมากับอิเล็กทรอนิกส์ ต้องสื่อสารว่านี่คือสิ่งบันเทิง แล้วเราต้องอยู่กับเค้าตอนเล่นด้วย นี่คือหน้าที่ของผู้ปกครอง รวมถึงต้องสอนลูกให้ยอมแพ้ให้เป็น ต้องเป็นคนที่ยอมคนให้เป็น สอนเค้าให้ถูก เด็กเนี่ยต่อให้เค้าเจอเกมรุนแรงตั้งแต่อายุยังน้อย พ่อแม่ก็สามารถเค้าไปคุยได้ ไปบอกว่าเล่นเกมได้ แต่อย่าเอาความรุนแรงมาใช้จริง


สุดท้าย อยากฝากถึงสื่อ อยากให้ลองพิจารณาเรื่องเกมบ้างว่ามีข้อดี อย่างล่าสุด ไทยได้เหรียญแข่งเกมในเอเชี่ยนเกม ไม่ค่อยออกสื่อ แต่พอมีปัญหาอะไรก็โทษเกมไว้ก่อน    

-------------

คุณชล (สตรีมเมอร์เกม อดีตนักข่าวอาชญากรรม ปสก. 7 ปี) ได้กล่าวโดยสรุป ว่า


เกมเป็นแค่สื่อบันเทิง มีไว้ผ่อนคลายกับเพื่อน ก็มีบ้างในจังหวะของเกมที่อาจทำให้เครียดบ้าง แต่มันก็แล้วแต่คน ผมมองว่าเด็กคนนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเกมโดยตรง เป็นแค่สภาวะหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบร่วม ผมมองว่าเด็กชอบปืนมากกว่า คือมีการอัดคลิปตัวเอง มีการไปฝึกที่สนามยิงปืน เอาจริงนะ คนเล่นเกมยิงปืนเนี่ย ให้ไปสนามยิงปืน จะยิงปืนได้กี่คน ผมเล่นมาตั้งแต่เกมเปิด ก็ไม่ได้อยากไปยิงปืนที่สนาม


การเล่นเกม เราสามารถเลือกคบกับคนในเกมได้ สามารถเจอกับคนดี ๆ ได้ อยู่ที่ตัวคน มันเป็นเหรียญ 2 ด้าน แล้วเด็กติดเกมเพราะอะไร อาจมีปัญหาเรื่องครอบครัว เค้าเลยหาเซฟโซนในเกม ผมคิดเลยตั้งแต่มีข่าวว่าโทษเกมแน่นอน ขอย้ำว่าความรุนแรงอยู่ที่ตัวบุคคล อยู่ที่ตัวคนว่ามีปัญหาแล้วจะทำยังไงจะจัดการอย่างไร 


ขอฝากผู้ปกครองควรใส่ใจลูก อย่าไปกดดันเค้ามาก ไม่งั้นเค้าจะได้แต่คุยกับเพื่อนในเกม และฝากถึงเรื่องเจ้าหน้าที่อยากให้ควบคุมปืนให้ดี
-------------

อ.วิทยา (ผู้เชี่ยวชาญด้านปืน) ได้กล่าวโดยสรุป ว่า


ทุกวันนี้ แบลค์กันที่ดัดแปลงมันคล้ายปืนจริงมาก กระสุนคก็ล้ายกระสุนจริง มีปลอกโลหะ มีการจุดระเบิด แต่แบลงค์กันใช้กระสุนจริงไม่ได้ แล้วทีนี้เค้าถอดตัวกั้นในลำกล้องออก เปลี่ยนแม็กกาซีน เปลี่ยนรายละเอียดนิดหน่อย ก็เริ่มเอามายิงกระสุนจริง แล้วทีนี้ปืนจริงมันแพง ขออนุญาตยาก คนที่อยากมีปืน เลยหันมาเล่นแบลงค์กัน ทำให้ตอนนี้ ถึงเวลาแล้วที่่ต้องควบคุมแบลงค์กัน เพราะเราสามารถดัดแปลงเป็นอาวุธจริงได้ กลายเป็นปืนเถื่อน สามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม แล้วคนที่เล่นปืนจริงก็ถูกมองในแง่ลบ


แล้วยูทูบเบอร์ที่อยากโชว์ออฟในการสอนดัดแปลงแบลงค์กัน พวกนี้ต้องเล่นให้หนัก พวกนี้จะมาบอกว่าถ้าขี้เกียจทำ ทำยาก หรือหาชิ้นส่วนไม่ได้ ให้มาซื้อกับผม เป็นพวกที่ไร้จิตสำนึก เหตุการณ์ที่พารากอนนี่กระทบทั้งประเทศเลยนะครับ ทุกคนทุกภาคส่วนได้รับความเดือดร้อน คนพวกนี้ขาดความเป็นคน เราต้องคุยกันเรื่องความเป็นจริงครับ


ผมอยู่กับปืน 24 ชม. แล้วผมก็เล่นเกมแบบแบทเทิลด้วย แล้วทำไมผมไม่ไปยิงใครล่ะครับ เพราะมีคนสอนผมเรื่องคุณธรรม นี่คือจะบอกว่าการที่เด็กจะเป็นอะไรอยู่ที่คอบครัวครับ


เรื่องเด็ก 14 เอาแบลค์กันไปยิง แล้วจะแก้กฎหมายเด็ก กฎหมายปืนจริง มันเกาไม่ถูกที่คันครับ ต้องไปแก้เรื่องการสอนเด็กการอบรมเด็ก ขอยืนยันว่าต้องจัดการเรื่องแบลงค์กัน ตามสถิติ ปืนถูกกฎหมายเนี่ย เอามาใช้ก่ออาชญากรรมมีไม่ถึง 1% ปืนเถื่อนเอามาก่ออาชญากรรมมากที่สุด ณ เวลานี้ แบลงค์กันเอามาใช้ก่ออาชญากรรมมากที่สุด


ส่วนเรื่องสนามยิงปืน ที่มีคลิปเด็ก 14 ไปฝึกซ้อม ซึ่งความจริงแล้ว ใครที่จะมาใช้ต้องบรรลุนิติภาวะ แล้วต้องมีประวัติต่างๆ มีรายละเอียดต่างๆ ให้กับสนามยิงปืน เพื่อเก็บรายละเอียด


ส่วนสนามผม ครูฝึกจะดูพฤติกรรม ถ้าเห็นท่าผิดปกติ ต้องเข้าไปชวนคุยเพื่อดึงบางอย่างในตัวเค้าออกมา ผมมีเคส คนมาเรียนเลเวล 1 - 3 มาสารภาพว่าเรียนเพื่อไปล้างแค้น พอเรียนเสร็จเปลี่ยน mindset ทุกวันนี้ คนพวกนี้คือครูฝึกในสนามของผม ตอนนี้ ใครจะมาวอล์กอินสนามยิงปืนผมไม่ได้ สมัครสมาชิกก็ยาก ทุกคนต้องมาฝึกเรื่องจริยธรรมคุณธรรมกับผม พอผ่านถึงได้สิทธิ์เป็นสมาชิกในสนาม


ทีนี้ บางสนามเค้าไม่ได้สอนจริยธรรมคุณธรรม พอคนมาฝึก ยิงเป็นแล้ว เก่งแล้ว พอออกไปข้างนอกก็โชว์เก๋าโชว์เจ๋ง คือเราต้องคุมเรื่องสนามยิงปืนด้วยครับ


สุดท้ายแล้ว ขอฝากว่า การที่เด็กทำผิด แล้วออกมาโทษนู่นนี่นั่น ขอฝากคำว่า ‘พ่อแม่รังแกฉัน’ ครับ

-------------
ทนายเดชา (ทนาย) ได้กล่าวโดยสรุป ว่า


กฎหมายไม่ต้องแก้ครับ ต้องแก้ด้านอื่น การเข้าถึงมือถือของเด็ก ก็ทำให้ติดเกม ไม่เรียน แล้วก็เก็บตัว พอมีเรื่องก็ไประบายกับเกม ไม่ได้คุยกับพ่อแม่ พวกเด็กอาชีวะที่ทำผิด 10 กว่าคดีที่ผมไปทำ ก็ได้คุยกับเค้า เค้ามีการบูชาปืน เหมือนมีปืนประจำสถาบัน วันนี้จะไปยิงใครก็ไปไหว้ปืน แล้วเอาปืนนั้นไปยิงคน ยิงเสร็จก็มาเก็บที่เดิม เรื่องของเด็ก 14 เนี่ย มันเป็นเรื่องคนรอบตัวเด็ก เพื่อนและรุ่นพี่ เอาจริงที่เกิด


ลูกคนมีตังค์ บางทีก็โดนพ่อแม่บังคับ ไม่มีทางออกก็ไประบาย เจอเพื่อ เจอเกม ก็ก่อเรื่อง เนี่ยมันไม่เห็นเกี่ยวกับเกมเลย มันเป็นเรื่องพฤติกรรมส่วนสตัว และความสัมพันธ์กับพ่อแม่ ฝากเลยเรื่องเวลาให้ลูกสำคัญ ไม่อยากพูดเลย พวกคนใหญ่ ๆ ลูกติดยาเยอะ ลูกความผมเนี่ย ถ้าคุณให้เวลาลูกก็แก้ปัญหาได้ สถานศึกษาก็ต้องดูด้วย เห้ย…ทำไมไม่มาเรียน


เด็กไม่เกิน 15 ทำความผิดไม่ต้องรับโทษ ตักเตือน พ่อแม่เอาไปอบรม หรือเข้าสถานพินิจฯ เรื่องแก้กฎหมายคือเลอะเทอะ ไทยอยุ่ในภาคีอนุสัญญาเด็ก ทั่วโลกเป็นสากล เค้าคิดมาแล้ว เด็กทำผิดไม่ต้องรับโทษถูกแล้ว ที่ต้องแก้คือกฎหมายเอาโทษพ่อแม่


แล้วตำรวจไซเบอร์ก็ไปดูเรื่องแบลงค์กันบ้าง ไม่ใช่เรื่องเว็บพนัน แบลงค์กันมีขายนานแล้ว ออกประกาศเลยมีผลทันทีเรื่องแบลงค์กัน ไปดูเรื่องพ่อแม่สถานศึกษา ไม่เกี่ยวเลยกับกฎหมาย ผมคุยกับผู้พิพากาากับอัยการ ต่างก็บอกว่าเลอะเทอะ ไปแก้กฎหมายแล้วมันยุติธรรมกับเด็ก 14 คนอื่นมั้ย บางคนบอกว่าไปสถานพินิจฯไม่ได้โดนทำโทษ รู้มั้ยว่าเด็กที่เข้าสถานพินิจฯก็โดนกักขังไร้อิสรภาพแล้ว


แล้วมาอ้างประเทศจีนว่าแก้กฎหมายให้เด็กต้องต่ำกว่า 12 ถึงไม่รับโทษ นั่นมันประเทศคอมมิวนิสต์ วัฒนธรรมไม่เหมือนกัน จะเอากฎหมายประเทศจีนมาใช้กับไทยยังไงล่ะ แล้วนี่เด็ก 14 คนเดียว ที่ก่อเหตุ จะมาลดเพดานอายุการทำโทษ จะกระทบสิทธิ์เด็กหมด


อยากบอกผู้ปกครองทุกคนว่า ทุกสิ่งมาจากครอบครัว ต้องมีเวลาให้ลูก ฟังเค้าให้มาก ๆ
-------------

คุณอาจสนใจ

Related News