สังคม

สะเทือนวงการอสังหา! ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืน สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง คอนโดหรู ‘แอชตัน อโศก’

โดย petchpawee_k

28 ก.ค. 2566

3.6K views

สะเทือน ศาลปกครองสูงสุด พิพากษา ยืน สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง คอนโดแอชตันอโศก ซึ่งก่อสร้างด้วยมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท ขายไปแล้วกว่า 666 ห้อง จากทั้งหมด 783 ห้อง

ศาลวินิจฉัยว่า การที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นำที่ดินบางส่วนของ รฟม.ไปเป็นส่วนหนึ่งของถนนที่ใช้เป็นทางเข้าคอนโด ของเอกชน ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย จึงเพิกถอนใบอนุญาตทุกใบ

ขณะที่บริษัทอนันดา ผู้สร้างคอนโด จี้ภาครัฐที่ออกใบอนุญาตรับผิดชอบ ความเสียหายที่เกิดขึ้น เบื้องต้นขอหารือกับทั้ง กทม.และ รฟม.ภายใน 15 วัน

วานนี้ (27 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า Ananda Development ได้เผยแพร่เอกสาร ระบุว่า ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาให้คดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวกได้ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตวัฒนาที่ 1 ผู้อำนวยการสำนักการโยธาที่ 2 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ 3 ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ 4 คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และ บริการชุมชนที่ 5 และ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด โดย ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา ยืนคำพิพากษาศาลปกครองกลาง น้อมรับและเคารพในคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด



กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยไว้ในประเด็นสำคัญ ที่ว่าที่ดินของ รฟม.ไม่อาจนำมาให้บริษัท ฯ หรือเอกชนใช้ในการทำโครงการได้ จึงทำให้หน่วยงานของรัฐไม่อาจออกใบอนุญาตในการก่อสร้าง จึงมีผลให้ ใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น


บริษัท ฯ เห็นว่าศาลปกครองซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีพิพาท ระหว่าง หน่วยงานของรัฐ และหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน รวมทั้ง เพื่อวางแนวหรือสร้างบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการ ให้ถูกต้องชอบธรรม อีกทั้งภายใต้กฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทุกฉบับ รวมถึงฉบับปัจจุบัน พุทธศักราช 2560 ในส่วนบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ หน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่รัฐจะอนุมัติหรืออนุญาตให้ผู้ใด ทำการได้ก็จะต้องดำเนินการไปตามกฎหมายโดย รัฐมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องใช้อำนาจและทำหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ประมาทเลินเล่อ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุ ให้เกิดความเสียหายกับประชาชน หรือผู้ประกอบการ


ยิ่งไปกว่านั้น หากมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังเกิดขึ้นเป็นคดีนี้แล้ว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ ต้อง รับผิดชอบและทำ การเยียวยา ใน ความเดือดร้อนเสียหาย ที่เกิดขึ้น อย่างเป็นธรรม และโดยไม่ชักช้า


ดังนั้น ผลแห่งคำพิพากษาที่เกิดขึ้นดังกล่าว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ


ในความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ต่อเจ้าของร่วมอาคารชุด และบริษัทฯ เพราะ หากหน่วยงานราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่เห็นชอบและอนุมัติแล้วโครงการนี้จะไม่สามารถก่อสร้างได้ตั้งแต่แรกซึ่งจะไม่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเร่ง รีบดำเนินการ ในการเรียกร้องค่าเสียหายกับ หน่วยงาน ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าของร่วมอาคารชุดและ บริษัทฯ โดยเร็ว


รวมทั้ง บริษัทฯ จะดำเนินการประสานงานคณะกรรมการนิติบุคคลแอชตัน อโศก และท่านเจ้าของร่วมเพื่อขอเข้าพบผู้ว่าราชราชการกทม. และผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อทวงถามเพื่อทวงถามความรับผิดชอบความรับผิดชอบในความเสียหายในความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้น ภายใน 14 วัน นับแต่วันนี้นับแต่วันนี้


บริษัทฯ ขอยืนยันว่า การทำทาโครงการแอชตัน อโศก นั้นได้มีการตรวจสอบประเด็นทางกฎหมาย รวมทั้งข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตต่าง ๆ รวมทั้ง ๆ รวมทั้งสภาพที่ดินของโครงการอย่างรอบคอบรัดกุม อีกทั้งการพิจารณาอนุมัติในการทำโครงการต่าง ๆ ยังได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติ และภายใต้การกำกับควบคุม จากหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า 8 หน่วยงาน จึงเป็นที่เห็นประจักษ์และยืนยันได้ว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการไปด้วยความสุจริต และชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งทุกประการเท่าที่บริษัทฯจะทำได้ ด้วยความเชื่อถือโดยสุจริตว่าการอนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว


บริษัท ฯ จึงใคร่ขอความเป็นธรรมจากทุกภาคส่วน ที่จะร่วมกันแก้ไขภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นคดีนี้อีก และเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ ได้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว


ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด นคดีหมายเลขดำที่ ส. 53/2559 คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564 ระหว่าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 16 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กับพวกรวม 5 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) และบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด (ผู้ร้องสอด) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร


(ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กับพวกรวม 5 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ กรณีร่วมกันออกคำสั่งอนุมัติหรืออนุญาตให้ผู้ประกอบการเอกชนก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยขนาดใหญ่พิเศษ ชื่อโครงการแอชตัน อโศก ในซอยสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยขัดต่อกฎหมาย ละเมิดสิทธิชุมชน และละเมิดสิทธิความเป็นอยู่ส่วนบุคคลของชาวบ้านโดยรอบพื้นที่โครงการดังกล่าว ด้วยการปล่อยให้มีการปิดกั้นหรือใช้ประโยชน์ถนนสาธารณะนอกขอบวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ทำให้ผู้ฟ้องคดีเดือดร้อนเสียหาย)


คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลงรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้ร้องสอด โดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ออกหนังสือทุกฉบับในกรณีดังกล่าว


เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เดิมที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารโครงการแอชตัน อโศก มีทำเลที่ตั้งติดกับถนนสาธารณะ (ถนนอโศกมนตรี) แต่ต่อมาที่ดินด้านที่ติดกับถนนสาธารณะบางส่วนถูกเวนคืน เพื่อสร้างทางพิเศษฯ ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะ และไม่มีทางออกสู่ถนนอโศกมนตรีได้เช่นเดิม ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้อนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นทางผ่านหรือเข้า – ออกสู่ถนนถนนอโศกมนตรี ซึ่งมีขนาดความกว้าง 13 เมตร เพื่อประโยชน์แก่ผู้ร้องสอดในการดำเนินโครงการ แอชตัน อโศก ตามคำขอของผู้ร้องสอดเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่จะยกที่ดินบางส่วนของ รฟม. ให้เป็นถนนสาธารณะโดยเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไปหรือใช้เป็นทางสัญจรแต่อย่างใด


ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจนำที่ดินของ รฟม. ไปประกอบการยื่นแจ้งการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารโครงการแอชตัน อโศก ได้ และไม่อาจถือได้ว่าที่ดิน รฟม. ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารของผู้ร้องสอด ตามนิยามในข้อ 1 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522


ดังนั้น ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารโครงการแอชตัน อโศก จึงไม่มีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร การที่ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) อนุญาตให้แก่ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารโครงการแอชตัน อโศก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงสมควรที่ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับแจ้งการก่อสร้างอาคารพิพาททุกฉบับโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งดังกล่าว เพื่อมิให้คำสั่งดังกล่าวมีผลในระบบกฎหมายต่อไป


สำหรับประเด็นที่ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4) ออกประกาศ เรื่อง กำหนดประเภทการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. เป็นทางผ่าน นั้น ศาลเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกไม่ใช่ผู้ที่มีที่ดินและที่อยู่อาศัยตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าที่ขออนุญาตใช้ที่ดินของ รฟม. เป็นทางผ่านเข้า – ออกสู่ทางสาธารณะ ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกจึงมิใช่ผู้ที่อยู่ในบังคับของประกาศที่พิพาทและไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากประกาศดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนประกาศดังกล่าว


ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ออกใบอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. เพื่อประโยชน์ของที่ดินของผู้ร้องสอดนั้น ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นเพียงการก่อตั้งสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. ตามคำเสนอของผู้ร้องสอด การออกใบอนุญาตดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง และผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีทั้ง 16 จึงไม่มีสิทธิฟ้อง



ในข้อหานี้ ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 – 4 และผู้ร้องสอดจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/slHqUHPJyqo

คุณอาจสนใจ