เลือกตั้งและการเมือง

ย้อนดู "ธงเขียว" รธน.2540 เมื่อเป็นมติประชาชน ไม่เห็นด้วย แต่ต้องยอมรับ

โดย parichat_p

16 พ.ค. 2566

312 views

ขณะนี้เริ่มเกิดปรากฏการณ์เรียกร้องให้ ส.ว. และพรรคการเมืองต่างๆ ยอมรับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคอันดับหนึ่งอย่างพรรคก้าวไกล  



หลังจาก ส.ว.​บางกลุ่มตั้งป้อมที่จะไม่สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการ จะโหวตไม่รับ หรือบางคนบอกว่าจะปิดสวิตช์ตัวเองงดออกเสียง แต่ที่สุดก็หมายความว่าจะไม่โหวตให้หากพรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาล



หลายคนมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนใจ ส.ว. หรือนักการเมือง



อย่างไรก็ตามในอดีตเคยมีการกดดัน หรือการเรียกร้องจากประชาชน ให้ทำในสิ่งที่เป็นฉันทามติมาแล้ว



ย้อนกลับไปหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 มีกระแสเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งก็มีการแก้รัฐธรรมนูญและให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.​ จนที่สุดมีการทำร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกเรียกต่อมาว่า "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน"



ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแม้จะเป็นที่ยอมรับของประชาชน แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ถูกใจนักการเมือง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองหลายประการ เช่นการให้มีการเลือกตั้ง ส.ว. มีองค์กรอิสระมากำกับนักการเมือง หรือการเปิดให้มีการกระจายอำนาจเลือกตั้งท้องถิ่น จนถึงขั้นมีการปลุกม็อบกำนันผู้ใหญ่บ้านออกมาต่อต้าน



อย่างไรก็ตาม ขณะนั้นประเทศกำลังบอบช้ำจากวิกฤตเศรษฐกิจ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงเป็นเหมือนความหวังของประชาชน ในการคลี่คลายวิกฤต



จึงทำให้เกิดกระแสรณรงค์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปทั่วประเทศ และมีการใช้ "ธงเขียว" เป็นสัญลักษณ์  



ครั้งนั้นกระแสธงเขียวแพร่กระจายไปทั่วประเทศ โดยประชาชนได้ติดธงเขียวเป็นสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นติดที่เสื้อ ผูกที่ข้อมือ หรือที่กระจกหรือเสาอากาศของรถยนต์เกือบทั้งเมือง



ซึ่งเมื่อเกิดเป็นกระแสทำให้เกิดแรงกดดันไปยังนักการเมือง ที่จะต้องลงคะแนนแบบเปิดเผยด้วยการขานชื่อทีละคน และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ ที่สุดบรรดาผู้ที่ไม่เห็นด้วย แม้จะยืนยันความไม่เห็นด้วยในสภา แต่ก็ต้องลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีวาทะระหว่างการลงมติ เช่น เห็นชอบแต่ไม่เห็นด้วย และครั้งนั้นเองก็เป็นโมเดลว่า หากเป็นฉันทามติจากประชาชน ผู้ที่มีอำนาจก็จะต้องทำตามแม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม



ที่สนับสนุนการมีรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป ซึ่งเรื่องนี้ก็มาจากที่ฝ่ายผู้ร่างรัฐธรรมนูญ นักวิชาการ และสื่อเครือข่าย ได้ร่วมกันย่อยเนื้อหาและอธิบายถึง "ข้อดี" และผลที่จะได้รับจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้



กระแส "ธงเขียว" กลายมาเป็น "ธงนำ" เป็นกระแสหลักของสังคม อย่างที่ยากจะต้าน ซึ่งตอนนั้นพูดไปถึงว่า ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบก็พร้อมลงประชามติต่อสู้ตามช่องทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

คุณอาจสนใจ

Related News