สังคม

ปรากฏการณ์ 'เสาแสง' ลำแสงประหลาดแนวตั้ง เหนือท้องฟ้าระนอง

โดย thichaphat_d

6 ต.ค. 2564

828 views

ระนอง-เกิดปรากฎการณ์แสงแนวตั้งหลายสิบแท่ง ปรากฎบนท้องฟ้า จังหวัดระนอง ทำให้ประชาชนในหลายพื้นที่ของ อ.เมืองระนอง, อ.ละอุ่น, อ.กะเปอร์ รวมทั้งที่ จ.เกาะสอง ประเทศเมียนมา


โดยสามารถมองเห็นลำแสงประหลาดนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกันนานประมาณ 20-30 นาที ทางทิศตะวันตก หลายคนต่างเก็บภาพถ่ายกับโทรศัพท์มือถือและโพสต์แชร์ในโลกออนไลน์


ต่อมาเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนมาทำความรู้จักกับ เสาแสง หรือ Light Pillars ปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศที่หาชมยาก กรณีมีผู้พบเห็นแสงประหลาดมีลักษณะเป็นเส้นแสงแนวตั้ง ปรากฏเหนือท้องฟ้าบริเวณพื้นที่ อ.ละอุ่น และ อ.กระบุรี จ.ระนอง คืนวันที่ 4 ตุลาคม 2564 นั้น


ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่มีผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นแบน (plate ice crystals) จำนวนมากอยู่ในอากาศ อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและผู้มอง ทำให้แสงจากแหล่งกำเนิดแสงสะท้อนผิวล่างของผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ พุ่งตรงไปยังผู้มอง ทำให้ผู้มองเห็นเป็นเส้นแสงในแนวดิ่ง เรียกว่า เสาแสง (light pillars) ในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นจัด ผลึกน้ำแข็งดังกล่าวมักล่องลอยอยู่ใกล้พื้น ทำให้เห็นเสาแสงพุ่งขึ้นจากพื้น


ส่วนกรณีอื่นๆ เช่น ปรากฏการณ์เสาแสงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น เกิดจากผลึกน้ำแข็งในเมฆระดับสูง เช่น เมฆซีร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) ทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนแสง จึงเห็นเสาแสงจะปรากฏอยู่สูงจากพื้นค่อนข้างมาก


ด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ระบุว่า ในต่างประเทศ อย่างประเทศฟิลิปปินส์ ก็มีการพบเห็น pillars of light แบบนี้มาก่อน และเคยเป็นที่แตกตื่นกันก่อนเช่นกัน โดยเรียกกันว่า Lansuk-Lansuk ที่แปลว่า เทียนไข


โดยเกิดจากผลึกน้ำแข็งในอากาศ สะท้อนแสงของดวงจันทร์ แม้ว่าเมฆชนิดต่างๆ จะสามารถมีผลึกน้ำแข็งอยู่ในเมฆได้ แต่ไม่ใช่ว่าเมฆทุกชนิดจะสามารถสะท้อนแสง ให้เกิด "แสงในแนวตั้ง" ขึ้นบนท้องฟ้าได้


เสาแห่งแสงนั้นอาจจะปรากฏขึ้นที่ไหนก็ได้ ตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมปัจจัยตรงนั้นจะเหมาะสม โดยแสงที่เห็นที่ฟิลิปปินส์ครั้งนั้น ปรากฏขึ้นประมาณ 20-30 นาที เนื่องจากผลึกน้ำแข็งในก้อนเมฆนั้นก็ค่อยๆ สลายตัวไป ทำให้การสะท้อนแสงนั้นค่อยๆ หายไปด้วย หลักการเดียวกันนี้ ก็สามารถจะใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่ "จันทร์ทรงกลด" หรือ "halo" ขึ้นได้เช่นกัน



รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/0vbOwSCcEbM

คุณอาจสนใจ

Related News