สังคม

โครงการวิจัยสุนัขตรวจหาผู้ป่วยโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความแม่นยำสูงถึง 94%

โดย weerawit_c

8 มี.ค. 2564

99 views

สุนัขดมกลิ่นเพื่อคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ 6 ตัวแรกของไทย ได้รับการฝึกฝน เพื่อนำมาใช้ตรวจหาผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะ ตามโครงการวิจัยของคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังที่ผ่านมาสุนัขถูกนำมาใช้เพื่อการดมกลิ่นตรวจหาโรคหลายชนิด ทั้งมะเร็ง เบาหวาน มาเลเรีย และอื่นๆ มากมาย รวมทั้งสารเสพติดและวัตถุระเบิด ซึ่งมีความแม่นยำสูง ถึง 80-100 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันสนามบินในหลายประเทศก็มีการใช้สุนัขดมกลิ่นหาผู้ป่วยโควิด-19 มาแล้วหลายแห่ง เช่น ฟินเเลนด์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์



งานวิจัยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนและการใช้สัตว์เพื่องานวิจัย ด้วยการฝึกให้สุนัขดมกลิ่นเหงื่อจากก้านดูดซับสำลี หรือ กลิ่นเหงื่อจากถุงเท้าของผู้ป่วย ซึ่งมีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นสารคัดหลั่งที่ไม่มีการปนเปื้อนของไวรัส 



โดยผลวิจัยพบว่าสุนัขมีความไวในการตรวจหาตัวอย่างของเชื้อเฉลี่ย 97.6 เปอร์เซ็น ความจำเฉพาะในการดมกลิ่น 82.2เปอร์เซ็นต์ และมีค่าเฉลี่ยความแม่นยำ 94.8% ในเวลาเพียง 2-3 วินาทีเท่านั้น ทีมวิจัยจึงเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ในการนำสุนัขมาใช้ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ ควบคู่ไปกับการตรวจวัดอุณหภูมิ ซึ่งเป็นมาตรการที่ปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้



คณะวิจัยโครงการฝึกสุนัขดมกลิ่นเพื่อคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุน โดยบริษัทเชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผลการศึกษาตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ทางบริษัทมองเห็นถึงศักยภาพการต่อยอดสู่การปรับใช้จริงในบริษัท



ขณะเดียวกันทางทีมวิจัยได้เตรียมหาวิธีปรับใช้โครงการสุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 กับจุดคัดกรองในพื้นที่สาธารณะ ตามแผนโครงการในระยะ 2 ต่อไปเพื่อลดต้นทุนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และเพิ่มศักยภาพการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศในอนาคต

คุณอาจสนใจ

Related News