ศาลรับคำร้องยื่นถอดถอน “ภูมิธรรม – ทวี” แทรกแซง กกต. สั่งดีเอสไอสอบคดีฮั้วเลือก สว.

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องสมาชิกวุฒิสภา ยื่นถอดถอน “ภูมิธรรม – ทวี” ไว้พิจารณา แทรกแซง กกต. สั่งดีเอสไอสอบ ปมคดีฮั้วเลือก สว. โดยศาลสั่งให้ชี้แจงภายใน 15 วัน แต่มีรายงานว่ายังไม่สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่

การตรวจสอบ คดีฮัวเลือก สว. ที่ บอร์ดคดีพิเศษ ของ ดีเอสไอ มีมติ รับคดีฮั้วเลือก สว. ในส่วนข้อหาก ตามกฎหมาย ฟอกเงิน เป็นคดีพิเศษ ล่าสุด เป็นเรื่องแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งรับคำร้อง กรณี มี สว. ไป ร้องต่อศาล วินิจฉัยตามมาตรฐานจริยธรรมว่า การกระทำของ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่ ของ กกต. หรือไม่

โดยคำร้องเรื่องนี้ เกิดขึ้น จากการเข้าชื่อ ของ สว. 92 คน นำโดย พลตำรวจตรี ฉัตรวรรษ แสงเพชร ยื่นเรื่อง ผ่านประธานวุฒิสภาอ้างว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ผู้ถูกร้องที่ 1 ) ในฐานะประธานกรรมการคดีพิเศษ และพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ผู้ถูกร้องที่ 2 ) ในฐานะรองประธานกรรมการคดีพิเศษ

สืบเนื่องจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ เสนอเรื่องขอให้ตรวจสอบกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (คดีฮั้วเลือก สว.) เพื่อมีมตีให้ การกระทำความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ ถือเป็นการแทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการการ เลือกตั้งโดยใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเครื่องมือแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นการกลั่นแกล้ง กดดัน ข่มขู่ และครอบงำสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจและฝ่าฝืนหลักนิติธรรมจึงถือได้ว่าผู้ถูกร้องทั้งสองไม่มีความชื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีพฤติกรรมเป็นการฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ และเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้อง เห็นว่า กรณีเป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งรับคำร้องไว้ พิจารณาและให้ผู้ถูกร้องทั้งสองยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง

ส่วนคำร้อง ขอให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยนั้น ศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้อง ยังไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัย ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ในชั้นนี้ยัง ไม่สั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่

โดย JitrarutP

26 มี.ค. 2568

212 views

EP อื่นๆ