สังคม

นายกฯ สั่งสังคายนาคำนำหน้าตำแหน่งราชการใหม่ ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

โดย panwilai_c

20 ก.พ. 2567

81 views

การประชุม ครม. วันนี้ ครม. มีมติสำคัญหลาย เรื่อง รวมถึงเรื่องที่ ท่านนายกฯ กำชับไปที่ส่วนราชการ หนึ่งในนั้นคือเรื่อง คำนำหน้าตำแหน่ง ต่างๆ ที่จะต้องสังคายนาใหม่ ให้สอดคล้อง กับ ส่งเสริมอัตลักษณ์ความเท่าเทียมทางเพศ ตามนโยบายของรัฐบาล



คุณชัย วัชรงค์ โฆษกรัฐบาล แถลงผลการประชุม ครม. บอกว่า จากการที่ท่านนายกฯ ลงพื้นที่ ภาคอีสาน เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะ ตอนไป จ.นครพนม แล้วไปพบกับ หัวหน้าด่านศุลกากร เป็นผู้หญิง



โฆษกรัฐบาล บอกว่า ท่านนายกฯ ไปเผลอเรียกว่า นายด่านศุลกากร ทำให้ หัวหน้าด่านก็อึกอักหน่อย ท่านนายกฯ จึงรู้สึกว่าศัพท์ที่ใช้ต้องมีการสังคายนาใหม่ จึงสั่งการให้ทุกหน่วยงานไปรีวิว ชื่อ-ตำแหน่ง คำนำหน้าในตำแหน่งต่างๆ ควรจะเป็นคำที่สอดคล้องกับนโยบายในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ



ทำให้เวลานี้เกิดคำถามว่า ต่อไปตำแหน่งที่ ถูกเรียกว่า "นาย" นำหน้า หน้ามีผู้หญิงมารับหน้าที่ จะเปลี่ยนเป็น "นาง" หรือเปล่า หรือเปลี่ยนคำไปเลย เพราะตำแหน่ง ที่มีคำว่า นาย นำหน้า มีหลายตำแหน่ง



ตาม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ระบุคำที่เป็นลูกของคำว่า "นาย" เช่น นายจ้าง/ นายด่าน /นายตรวจ /นายทะเบียน/นายประกัน /นายหน้า / นายอำเภอ



บางตำแหน่งเป็นคำที่ เป็นไปตามกฎหมายด้วย อย่าง นายอำเภอ จะต้องเปลี่ยนด้วยหรือไม่ เพราะคำเหล่านี้ จริงๆ ไม่ได้มีความหมายเป็นลักษณะนาม เหมือนกับ ที่ใช้เรียก นาย / นาง/ นางสาว แต่เป็นคำนาม เป็นชื่อเฉพาาะ ของตำแหน่ง



และถ้าไปดูความหาน ตาม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมาย คำว่า "นาย" ไว้ 7 ความหายด้วยกัน



1. คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป



2. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่



3. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน (ซึ่งกรณี ของ นายด่าน จะเข้าความหมาย ตามข้อที่ 3 นี้ )



4. คำนำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ



5. คำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนัก ในสมัยเช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ



6. คำเรียกแม่, นายแม่ ก็เรียก



7. สรรพนาม คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยในลักษณะที่เป็นกันเอง



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/EJrkYDJ4Src

คุณอาจสนใจ

Related News