สังคม

เหยื่อเคยถูก ตร.ทรมานถุงคลุมหัว เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ดูคลิป ผกก.โจ้ ยังผวา “ผมก็เคยโดนแบบนี้เหมือนกัน”

โดย thichaphat_d

27 ส.ค. 2564

3.1K views

ทีมข่าวได้พูดคุยกับนายสมศักดิ์ ชื่นจิตร เป็นหนึ่งในครอบครัวของเหยื่อที่เคยถูกใช้ความรุนแรง เพื่อบีบบังคับให้สารภาพ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 ที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ขณะนั้น น้องช้อปเปอร์ ลูกชายของตน วัย 18 ปี กำลังขี่รถกลับออกมาจากดูหนัง แต่ระหว่างทางถูกจราจรเรียกให้จอด ก่อนนำตัวไปที่สถานีตำรวจ หรือความบริสุทธิ์ใจจึงตามไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สอบรถหรู 'ผู้กำกับโจ้' คดีพิเศษเลี่ยงภาษี เปิดยอดเงินรางวัลนำจับ หลังร่วมทีมจับรถผิด กม.


แต่เมื่อไปถึงห้องสืบสวน จึงทราบว่า มีผู้เสียหายถูกคนร้ายกระชากสร้อยทองคำ 3 บาท หลบหนีไป และมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายกับลูกชาย ก่อนที่ลูกชายจะถูกตำรวจชุดจับกุม นำกุญแจมือไพล่หลัง ก่อนจะถามว่า ทองอยู่ไหน


จากนั้นจึงนำถุงพลาสติกดำมา และครอบที่ศีรษะ และพยายามบีบบังคับให้ลูกชายรับสารภาพ และพยามทำร้ายร่างกาย ลูกชายจึงใช้ฟันกัดถุงพลาสติก เพื่อให้พอมีรูหายใจ จากนั้นก็ถูกนำถุงพลาสติกมาครอบซ้ำ และถามว่า จะสารภาพไหม ก่อนลูกชายตนจะจำใจรับสารภาพ ทั้งที่ไม่ได้ทำ และรอดชีวิตมา



แต่แม้เหตุการณ์จะผ่านมา 12 ปี ลูกชายกลับยังมีบาดแผลทางจิตใจอย่างหนัก จากการวินิจฉัยโรคของแพทย์ ชี้ว่าลูกชายป่วยด้วยโรค PTSD ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์ ลูกชายเป็นคนนำคลิปวงจรปิดมาให้ดู ซึ่งทันทีที่เริ่มดูลูกชายก็มีอาการตัวสั่น หวาดกลัว และเสียงแหบพร่า และไม่สามารถดูคลิปดังกล่าวต่อไปได้ ก็จะบอกกับผู้เป็นพ่อว่า หนูก็โดนแบบนี้เหมือนกัน


ซึ่งแม้วันนี้ลูกชายของตน ยังโชคดีที่มีชีวิตอยู่ แต่ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ลูกชายต้องอยู่กับอาการป่วยตลอดชีวิต จากเดิมที่ ลูกชายใฝ่ฝันอยากเป็นตำรวจ ในฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ กลับกลายเป็นหวาดกลัวสถานีตำรวจ และบุคคลในเครื่องแบบ


เช่นเดียวกับทรัพย์สมบัติที่ครอบครัวเคยสะสมหลายล้านบาท ก็ต้องหมดไปจากการเรียกร้องความยุติธรรมตลอด 12 ปี ในทางกลับกันตำรวจชุดที่ลงมือก่อเหตุ ทุกวันนี้ยังคงเติบโตตามลำดับขั้นตอน



สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มองว่า ผู้ที่ก่อเหตุ อาศัยคราบน้ำตาของเหยื่อ เป็นบันไดเหยียบขึ้นไปเพื่อแลกกับยศถาบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่ ให้มีครบทุกอย่าง แต่สิ่งที่ขาดคือความเป็นมนุษย์


อย่างไรก็ตาม บทสรุปของการฟ้องร้องกันไปมา ท้ายสุดนายตำรวจที่เป็นผู้ใช้ถุงครอบศีรษะ ก็จบลงที่ชั้นศาล โดยให้รอลงอาญาและใช้ปรับเงิน ซึ่งตนไม่อาจก้าวล่วงคำพิพากษาของศาล แต่ทั้งนี้ตนก็ยังคงเดินหน้าร้องเรียน และเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับลูกชายจนถึงทุกวันนี้


ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่า ควรจะมีการนำพระราชบัญญัติทรมานและอุ้มหาย มาบังคับใช้ เพื่อเป็นเสมือนกับเกราะป้องกัน หรือบัตรทองสำหรับผู้ที่ถูกกระทำ และไม่อยากให้คนในสังคมมองว่า การถูกทรมานเพื่อนแลกกับคำสารภาพ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมานมนานในสังคมไทย


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/wzZ5QMQaMs4

คุณอาจสนใจ

Related News