สังคม

tkmn จัดเสวนาเพื่อเสนอแนวทาง-ข้อควรระวัง การจัดการคลังข้อมูลด้วย ai

โดย parichat_p

20 ต.ค. 2567

148 views

ยุคที่ข้อมูลกลายเป็นทรัพยากรสำคัญ เครือข่ายการจัดการความรู้ประเทศไทย หรือ tkmn ก็ได้จัดเสวนาโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเสนอแนวทางและข้อควรระวังการใช้ ai เข้ามาจัดการคลังข้อมูลที่ถือว่ามีความสำคัญต่อประชาชนที่จะเข้าถึงและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพติดตาม


งานเสวนาการจัดการความรู้ยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์: ก้าวสู่อนาคต" ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนแนวทางการจัดการองค์ความรู้และข้อมูลภายในองค์กรร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ซึ่งทุกวันนี้หลายองค์กรได้นำ AI ที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้ง องค์ความรู้ ข้อความ เสียง หรือ วิดีโอ จากนั้น AI สามารถจัดระเบียบข้อมูลเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้งาน


ดร.อัมพร แสงมณี กรรมการผู้จัดการ TRIS ให้ความให้ไว้ว่า เอไอทำหน้าที่แทนมนุษย์ได้ในระดับปานกลางเท่านั้น ไม่สามารถลงลึกในเรื่องของความเข้าใจ โดยเฉพาะเรื่องของการใช้เหตุผล ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการทำงานร่วมกับเอไอ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งหากผู้ใช้เข้าใจรายละเอียดของเอไอ ก็จะเกิดประโยชน์ เพราะเอไอสามารถอำนวยความสะดวกในบางสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ซึ่งนำไปสู่การสร้างประโยชน์ให้กับประเทศได้อีกด้วย


รศ.ดร.บวร ปภัสราทร ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมอง ของชาติ หรือ KNIT กล่าวว่า การใช้เอไอในเชิงสร้างสรรค์หากใช้ควบคู่กับการจัดการองค์ความรู้ที่ดี ก็จะทำให้คนทั่วไปใช้งานได้ แต่ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากอยู่บนโลกดิจิทัล ทำให้การประมวลผลไม่สามารถเจาะจง ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ทำให้ยังมีผู้ใช้จำนวนไม่น้อย ที่แยกความแตกต่างระหว่างข้อมูลสร้างสรรค์ หรือ creativity กับ การถ่ายทอดข้อมูล หรือ tranformation ไม่ได้


ปัจจุบันสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD มีแพลตฟอร์ม okmd Knowledge Portal ซึ่งนำ ai มาใช้เก็บข้อมูลและจัดการคลังข้อมูลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และการศึกษา เพื่อช่วยแนะนำบริหารจัดการความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและแรงงานคน


ดร.อภิชาติ ประเสริฐ รองผู้อำนวยการ OKMD กล่าวว่า เอไอเป็นเครื่องมือ ที่จะเข้าไปช่วยในทุกกระบวนการจัดการความรู้ และเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากทั่วโลก เพื่อนำข้อมูลความรู้เหล่านั้น ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว แต่สิ่งสำคัญคือต้องมีที่มาถูกต้องมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้เข้าถึง เข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้แท้จริง


การจัดการองค์ความรู้มีหลายกระบวนการ และหากสามารถนำเอไอมาใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ ก็จะช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น


โดย ดร.วินเซนต์ ริเบียร์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการจัดการความรู้และนวัตกรรม แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ IKI-SEA ย้ำว่า การบริหารจัดการเอไอให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังจำเป็นต้องใช้ศักยภาพของมนุษย์ เพื่อให้เอไอได้เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ เช่น ด้านการแพทน์ ที่ต้องมีข้อมูลงานวิจัยสนับสนุน ขณะที่การรักษาเอไอทำไม่ได้ แต่มนุษย์ทำได้


การใช้ AI ในการจัดการข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญ ที่ช่วยให้องค์กรและธุรกิจ สามารถจัดการกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง AI ไม่เพียงช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากร แต่ยังช่วยให้การตัดสินใจมีความแม่นยำมากขึ้น และ สามารถเปลี่ยนวิธีการทำงาน รวมทัังสร้างข้อได้เปรียบในยุคดิจิทัลได้ หากปรับใช้เป็น

คุณอาจสนใจ

Related News