เทคโนโลยี

จุฬาฯ เปิดตัว 'Deep GI' AI ตรวจจับมะเร็งลำไส้ใหญ่-ทางเดินอาหาร แม่นยำกว่า 90%

โดย panwilai_c

16 ก.ค. 2567

441 views

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็น 1 ใน 3 อันดับของโรคที่พบมากที่สุดในคนไทย ซึ่งปัญหาหนึ่งคือการตรวจไม่พบ เนื่องจากต้องใช้วิธีการส่องกล้องเพื่อตรวจโรค และลักษณะของโรคก็ดูได้ยาหหากขาดประสบการณ์



ล่าสุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนา DeepGI AI ฝีมือคนไทย เพื่อตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบบแม่นยำกว่าร้อยละ 90 ตอนนี้อยู่ระหว่างการจดแจ้งเครื่องมือทางการแพทย์สู่การนำมาใช้จริง



ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร แพทย์จุฬาฯ จากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สาธิตวิธีการใช้นวัตกรรม Deep GI "AI ตรวจจับความผิดปกติในทางเดินอาหาร เพื่อช่วยตรวจจับติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และโรคในระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ซึ่งทันทีที่ปัญญาประดิษฐ์ตรวจพบความผิดปกติที่เกิดขึ้น ก็จะมีสัญญาณแจ้งเตือนทันที



DeepGI พัฒนาขึ้นผ่านความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หรือ deep ai ร่วมวิเคราะห์ภาพที่ได้จากวีดีโอระหว่างการส่องกล้อง ซึ่งสามารถตรวจจับและแยกประเภทชิ้นเนื้อผิดปกติ ได้แบบเรียลไทม์อย่างแม่นยำ กว่าร้อยละ 90



นอกจากนี้ยังสามารถวินิจฉัยชนิดของติ่งเนื้อว่าเป็นอันตรายหรือไม่ได้ ที่ความแม่นยำกว่าร้อยละ 80 / โดยสามารถเชื่อมต่อกับกล้องส่องทางเดินอาหารได้ทุกแบรนด์ทุกรุ่น ที่สำคัญราคาต่ำกว่าระบบอื่นในตลาด



รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 1 ในผู้พัฒนานวัตกรรม ระบุว่า ความสามารถด้านนี้จะช่วยเพิ่มให้แพทย์มีความมั่นใจในการวินิจฉัยโรคได้มากขึ้น เพราะ จากผลการวิจัยพบว่า DeepGI สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาติ่งเนื้อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ถึง 3%



มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็น 1 ใน 3 โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทย โดยปัจจุบันต้องใช้วิธีตรวจหาความผิดปกติด้วยการส่องกล้อง ซึ่งค่อนข้างท้าทายทักษะและประสบการณ์ของแพทย์ เนื่องจากลักษณะของติ่งเนื้อมีรูปแบบ ทั้งแบบที่นูน และแบบที่แบนราบไปกับผนังลำไส้ บางครั้งก็มีขนาดที่เล็กและสีที่กลมกลืนไปกับบริเวณโดยรอบ ทำให้การตรวจวินิจฉัยอาจผิดพลาดได้



ตอนนี้ DeepGI ได้ขยายขีดความสามารถรองรับการตรวจจับความผิดปกติในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นระยะเริ่มแรกของการเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารได้แล้ว โดยแพทย์ได้แนะนำให้หมั่นสังเกตระบบทางเดินอาหาร และขับถ่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีวัยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หากพบอาการผิดปกติก็ให้เข้าตรวจวินิจฉัยโรคทันที

คุณอาจสนใจ

Related News