สังคม

นักวิชาการวิเคราะห์หาสาเหตุอุโมงค์รถไฟโคราชถล่ม พร้อมเสนอแนวทางป้องกัน

โดย parichat_p

8 ก.ย. 2567

79 views

กรณีดินและหินถล่มทับคนงานในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง ที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา นักวิชาการด้านปฐพิวิทยา ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อสรุปสาเหตุ หาแนวทางป้องกัน โดยได้มีข้อเสนอให้ 2 กระทรวง คือ คมนาคม เจ้าของโครงการ และ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เจ้าของพื้นที่ ได้ร่วมกันศึกษาและจัดทำแผนที่ ทางธรณีวิทยาอย่างละเอียดทุกมิติ


รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา หน.ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและ ฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำลังอธิบายโครงสร้างอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงคลองขนานจิต ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการถล่มในระหว่างก่อสร้าง รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ระบุว่า น่าจะเกิดการเจาะไปพบบริเวณที่มีการผุกร่อนของหิน ซึ่งไม่อยู่ในการคาดการณ์ทางธรณีวิทยา


การสร้างอุโมงค์ในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อุโมงค์ที่เป็นสาธารณะมีเพียงอุโมงค์รถไฟขุนตานเท่านั้นที่ประชาชนรับรู้ทั่วไป ดังนั้นอุโมงค์ถล่มที่จ.นครราชสีมา สิ่งต้องพิสูจน์เพื่อหาสาเหตุไห้ได้ ซึ่งจะอยู่ใน 3 ขั้นตอนหลัก คือ สำรวจ,ออกแบบ และก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ แม๊ตต็อด ออฟ สเตรทเม้นท์ หรือ สัญญาณเตือนภัย คือหัวใจสำคัญของการก่อสร้างที่มีความเสี่ยงสูง


ประเทศไทยที่กำลังพัฒนาเส้นทางคมนาคม การสร้างอุโมงค์ จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จากการพัฒนาระบบราง หน.ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและ ฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอแนะว่า ในอนาคตจะต้องจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาที่ความละเอียดทุกมิติ ทั้งบนผิวดิน และใต้ผิวดิน โดยมีกระทรวงคมนาคมในฐานะผู้ขอใช้พื้นที่ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในความรับผิดชอบ


ประเทศไทยมีอุโมงค์สำหรับรถไฟ ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 2 เส้นทางคือ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 อุโมงค์ และ โครงการรถไฟรางคู่สายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จำนวน 4 อุโมงค์ โดยมีอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในไทย 6.2 กม.อยู่ในจ.ลำปาง


สำหรับอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงช่วงคลองไผ่ ที่เพิ่งจะถล่มลงมาในระหว่างก่อสร้างนั้น หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและ ฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า หากสร้างเสร็จจะมีความปลอดภัย เพราะโครงสร้างถูกออกแบบมารองรับทั้งเรื่องความมั่นคงแข็งแรง และการใช้งานได้อย่างปลอดภัย

คุณอาจสนใจ

Related News