สังคม

ก.ยุติธรรม ขับเคลื่อน 'Thailand Zero Dropout' ให้เด็กหลุดระบบศึกษาเป็น 0

โดย panwilai_c

24 ก.ค. 2567

132 views

กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประกาศมาตรการขับเคลื่อนให้เด็กหลุดนอกระบบการศึกษาเป็นศูนย์ หรือ Thailand Zero Dropout เปิดหมายคือการออกแบบหลักสูตรการเรียนให้เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ที่หลุดออกจากระบบการศึกษากว่า 2 แสน 3 หมื่นคน ได้รับการศึกษา รวมถึงเด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ กสศ.ตั้งเป้าเพิ่มทุนมนุษย์ ยุติความยากจนข้ามรุ่น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วย



พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรรม ประกาศนโยบายและทิศทางขับเคลื่อนให้เด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาเป็นศูนย์ หรือ Thailand Zero Dropout ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ให้ทุกหน่วยงาน คิกออฟมาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษา



ซึ่งนอกจากข้อมูลของกสศ.ที่พบว่ามีเด็กอายุ 3-18 ปี จำนวนกว่า 1 ล้าน 2 หมื่นคน ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมปลายแล้ว กระทรวงยุติธรรม ที่มีหน่วยงานที่ดูแลเด็กและเยาวชนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งกรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติและกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก ซึ่งพบว่าระดับการศึกษาของผู้ต้องขังทั้งหมดต่ำกว่าขั้นพื้นฐาน กว่า 2 แสน 3 หมื่นคืน จากเกือบ 3 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.11

โดยในจำนวนนี้พบว่าระดับการศึกษาของผู้ต้องขังก่อนต้องโทษ ไม่ได้รับการศึกษา กว่า 28,000 คน เรียนชั้นประถมศึกษามากสุดกว่า 1 แสน 1 หมื่นคน รองลงมาระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย ปวช. ปวส. ปริญญาตรี และน้อยที่สุดคือสูงกว่าปริญญาตรี และในจำนวนนั้นมีผลจากคดียาเสพติดและการกระทำผิดซ้ำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงมั่นใจว่า การศึกษาจะเป็นหัวใจสำคัญของการให้โอกาสคนที่กระทำผิดให้กลับเข้าสู่สังคมได้



ขณะที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.ก็เชื่อมั่นว่าการให้โอกาสทางการศึกษาให้เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้เข้าถึงการศึกษาที่มีหลากหลายรูปแบบเช่นการศึกษาแบบยืดหยุ่น ผ่านศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ นอกเหนือจากระบบ กสศ.จะเป็นทางเลือกให้เด็กและเยาวชน ได้ใช้ในการเทียบวุฒิการศึกษา ซึ่งเคยทำมาแล้วหลายโครงการกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงน่าจะเป็นต้นแบบที่ดีที่จะนำมาช่วยจัดระบบการศึกษาในหน่วยงานของกระทรวงยุติะรรม เช่น การส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาหรือศูนย์การเรียนรู้ เช่นการฝึกอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา



เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่หลุดออกนอกระบบการศึกษา เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่นอกเหนือจากเด็กกว่า 1 ล้าน 2 หมื่นคน ที่ กสศ.พบข้อมูลและร่วมกับหลายหน่วยงานคิกออฟขับเคลื่อนมาตรการไปแล้ว รวมถึงการนำร่องใน 25 จังหวัดที่ตั้งเป้าให้หมดไปใน ปี 2570 รวมถึงเด็กๆในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่พบว่ามีจำนวนมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ การประกาศมาตรการ Thailand Zero Dropout ระหว่างกระทรวงยุติธรรมและ กสศ.จึงเลือกพื้นที่ที่ อุทยานการเรียนรู้ TK park จังหวัดยะลา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเชื่อว่า ปัญหาในจังหวัดภาคใต้ ต้องให้การศึกษา ที่หมายถึงการได้รับความยุติธรรม นำการทหารและการเมือง



ซึ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กสศ.ได้ร่วมกับหลายสถานบันสนับสนุนทุนการศึกษาให้เด็กๆเพื่อยุติความยากจนข้ามรุ่น เช่น อาชีพผุู้ช่วยพยาบาลที่ทำร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ทักษะอาชีพ วิทยาลัย เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี และการเรียนรู้เชิงพื้นที่กับ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิศ (ตาดีกา) บาโงยือแร

และหอการค้า จังหวัดปัตตานี ซึ่งได้ผลในการให้เด็กได้มีทางเลือกในการเรียนและเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ที่สำคัญ



นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมยังร่วมเปิดมหกรรมรวมพลังคนหลังกำแพงภาคใต้ ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส เพื่อจุดประกายในการปลับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมต่อการให้โอกาส การยอมรับและการให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษ โดยให้ผู้พ้นโทษที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมนิสัยจากกระมราชทัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จ มาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการรับรู้และการยอมรับต่อสังคมหลังพ้นโทษด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News