สังคม

เดินหน้าย้ายกากเคมี 'แวกซ์ กาเบ็จฯ' ขีดเส้นแล้วเสร็จใน 210 วัน วงเงิน 59 ล้าน

โดย panwilai_c

21 ก.ย. 2566

247 views

ปัญหาขยะสารเคมีในบริษัทแวกซ์ กาเบ็จ ฯ จังหวัดราชบุรี ที่ยืดเยื้อมาหลายสิบปี กำลังจะถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ผู้ชนะประกวดราคาจ้างเหมา เพื่อกำจัดขยะสารเคมีประมาณ 12,000 ตัน ออกไปกำจัดภายใน 210 วัน โดยวงเงินว่าจ้างประมาณ 59 ล้านบาท ขณะกรมโรงงานอุตสาหกรรม กำชับให้มีมาตรการเฝ้าระวัง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นระหว่างทำงานทุกด้าน และยอมรับว่าบริษัทแวกซ์กาเบ็จ ได้ฟ้องศาลปกครองเพื่อหวังจะระงับการขนย้ายขยะเคมีดังกล่าว แต่ก็พร้อมชี้แจงต่อศาล เพื่อให้ปัญหาที่ยืดเยื้อมาหลายสิบปีได้รับการแก้ไข



บริษัทเบตเตอร์ เวิล์ด กรีน เป็นผู้ชนะประกวดราคาจ้างเหมา กำจัดบำบัดของเสียสารเคมี ในโรงงานบริษัทแวกซ์ กาแบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จ.ราชบุรี ที่กรมโรงงานอุตสาห กรรมเป็นผู้ว่าจ้างด้วยงบประมาณ 59 ,753,400 บาท กำหนดแล้วเสร็จ 210 วัน โดยสัญญามีผลตั้งแต่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา สิ้นสุดสัญญา 29 มีนาคม ปีหน้า ปริมาณกากอุตสาหกรรมที่ต้องขนย้ายราว 12,000 ตัน



ก่อนหน้านี้ข่าว 3 มิติ บันทึกภาพได้ชัดเจนว่ามีการเจาะ ทุบถึงขนาด 200 ลิตร ที่บรรจุสารเคมีหลายชนิด เพื่อหวังจะนำถึงเปล่าไปขาย แต่ทำให้สารเคมีปนเปื้อนลงพื้นดิน และน้ำที่ใช้ดับเพลิง ทำให้ต้องนำดินกองนี้ไปกำจัดด้วย (จบแฟ้มภาพ)



ตัวแทนบริษัทเบตเตอร์ ชี้แจงแผนงานว่าจากนี้จะสำรวจข้อมูลอย่างละเอียดเช่นชนิดสารเคมี ขอบเขตพื้นที่ทำงาน เป็นต้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ทำงานและไม่เกิด

เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่เป็นอยู่



ตามขั้นผู้รับจ้างต้องเสนอแผนขนย้ายให้คณะกรรมตรวจรับงานอนุมัติ จากนั้นจึงจะลำลำเลียงไปกำจัด/บำบัดในพื้นที่โรงงานของผู้รับจ้าง ที่จ.สระบุรี ระหว่างนี้ผู้ว่าจ้างกำชับให้มีแผนเฝ้าระวังอันตรายและปัจจัยไม่คาดคิด ที่อาจทำให้แผนงานล่าช้า



อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริง ระหว่างนี้บริษัท แวกกาเบ็จ ได้ยื่นฟ้องศาลปกครอง เพื่อขอคุ้มครองไม่ให้ขนย้ายกากเคมีดังกล่าว เพราะต้องการขนย้ายเอง แต่กรมฯชี้แจงว่าเคยมีคำสั่งให้โรงงานขนย้ายเองไม่แล้วเสร็จ จึงต้องของบกลาง มาแก้ไขปัญหา โดยฝ่ายกฎหมายระบุว่าพร้อมจะชี้แจงต่อศาลหากถูกเรียกชี้แจง



สำหรับการขนย้ายขยะบนดินในโกดังทั้ง 28 หลัง วงเงินกว่า 59 ล้านบาท ถือเป็นระยะที่ 1ของการแก้ปัญหานี้ ส่วนระยะที่ 2 จะเป็นการสำรวจน้ำใต้ดินเพื่อหาจุดฝับกลบ ขยะสารเคมีแล้วนำกำจัด รวมถึงฟื้นฟูแหล่งน้ำใต้ดินและบนดินให้คืนสภาพโดยเร็ว

คุณอาจสนใจ

Related News