สังคม

ตลท.จับมือพันธมิตร เปิดโครงการ 'ร่วมมือ จับปลอมหลอกลงทุน'

โดย panisa_p

24 ก.ค. 2566

71 views

การหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ที่อ้างว่าเป็นการลงทุนในหุ้น หรือแม้แต่อ้างว่าเป็นการออมเงินบ้าง กำลังเป็นอาชญากรรมออนไลน์ ที่สร้างปัญหาให้สังคมไทยในตอนนี้ โดยเฉพาะการหลอกลงทุน ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่เสียหายกว่า 1 หมื่นล้านบาท มิจฉาชีพเหล่านี้จะนำภาพนักธุรกิจ หรือองค์กรที่มีอยู่จริง ไปสร้างเว็บไซต์ หรือเพจในโลกออนไลน์ เพื่อหลอกลวงคนอื่นให้หลงเชื่อ ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จับมือภาครัฐและเอกชน ประกาศเจตนารมณ์ ร่วมมือจับปลอม หลอกลงทุน ทั้งเพื่อป้องกันและปราบปรามมิจฉาชีพกลุ่มนี้



แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแต่การที่ชื่อเสียงของเขาถูกมิจฉาชีพนำไปหลอกลวงผู้อื่นให้เสียหายได้สร้างความทุกข์ทางใจแก่นายวิกรม ไม่น้อย และเขาเชื่อว่ามีคนหลงเชื่อมิจฉาชีพที่นำตัวเองไปอ้างจนสูญเงินหลายร้อยล้าน



นายวิกรม เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่รูปภาพและข้อมูลทางธุรกิจถูกมิจฉาชีพนำไปใช้หลอกหลวงผู้อื่น ให้มาลงทุนในหลากหลายรูปแบบ โดยมิจฉาชีพยังสร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยการใส่โลโก้ ของ กลต.บ้าง ของตลาดหลักรัพย์หรือ set หรือแม้แต่โลโก้หน่วยงานอื่นๆ ที่จะชักจูงคนให้หลงชื่อ แต่หากพิจารณาการชักชวนทำนองว่าลงทุนน้อย ตอบแทนมาก มั่นคง รับประกันเงินต้น เป็นต้น ล้วนแต่เป็นการหลอกลวง ซึ่งข้อมูลเท็จเหล่านี้ปรากฎในหลายแพลทฟอร์มออนไลน์



ปัญหานี้ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับพันธมิตรภาคตลาดทุน องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานรัฐ เอกชน รวม 13 หน่วยงาน ทำโครงการ ร่วมมือ-จับปลอม หลอกลงทุน เพื่อชี้เป้าข่าวเท็จ พร้อมกับให้ความรู้การลงทุนที่ถูกต้อง เป็นการป้องกันตั้งแต่ต้น จากนั้นจะมุ่งไปสู่การตามจับกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม



ข้อมูลในเวทีเสวนา ระบุว่าคนไทยตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์มากที่สุด 5 ลำดับคือ หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการกว่า 108,000 ครั้ง หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน กว่า 38,000 ครั้ง หลอกให้กู้เงินกว่า 35,000 ครั้ง หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอรร์ กว่า 23,000 ครั้ง และข่มขู่ทางโทรศัพท์กว่า 21,000 ครั้ง เฉพาะหลอกให้ลงทุนผ่านระบบอมพิวเตอร์ มีความเสียหายสูงสุดกว่า 11,500 ล้านบาท ซึ่งภาคธุรกิจเชื่อว่าหากหยุดยั้งมิจฉาชีพไม่ได้ จะเกิดความเสียหายอีกหลายหมื่นล้านบาท

คุณอาจสนใจ

Related News