จีนค้นพบฟอสซิล ‘ตัวอ่อนไดโนเสาร์’ อายุ 66 ล้านปี ในท่าขดตัว พร้อมฟักจากไข่

ต่างประเทศ

จีนค้นพบฟอสซิล ‘ตัวอ่อนไดโนเสาร์’ อายุ 66 ล้านปี ในท่าขดตัว พร้อมฟักจากไข่

โดย pattraporn_a

22 ธ.ค. 2564

9.2K views

นักวิทยาศาสตร์ ประกาศการค้นพบตัวอ่อนไดโนเสาร์ (เอ็มบริโอ) ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยเป็นสายพันธุ์ที่มีอายุเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน โดยมีสมมติฐานว่าอาจเชื่อมโยง และมีวิวัฒนาการร่วมกับสัตว์ปีกยุคปัจจุบัน

ฟอสซิลดังกล่าวถูกค้นพบที่เมืองกว่างโจว ทางตอนใต้ของประเทศจีน และเป็นของไดโนเสาร์สายพันธุ์เทอโรพอด ชนิดไม่มีฟัน หรือ oviraptorosaur (ความหมายคือจิ้งจกขโมยไข่) ซึ่งนักวิจัยให้ชื่อว่าเบบี้ยิงเหลียง หรือ "Baby Yingliang"



ตัวอย่างสภาพของฟอสซิลของไดโนเสาร์สายพันธุ์ oviraptorosaur (ไม่ใช่ไข่ในข่าว)

ซึ่งขนาดของตัวอ่อนดังกล่าวมีความยาวประมาณ 27 เซนติเมตร นอนขดตัวอยู่ในไข่ยาว 17 เซนติเมตร โดยมีมือ และเท้าอยู่ด้านหน้าส่วนหัว ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมเตรียมฟักของสัตว์ปีก และคล้ายกับตัวอ่อนของสัตว์จระกูลนกในยุคสมัยใหม่ เป็นสิ่งที่นักวิจัยไม่เคยพบมาก่อนในฟอสซิล หรือหลักฐานเกี่ยวกับไดโนเสาร์

“มันคือหนึ่งในเอ็มบริโอของไดโนเสาร์ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยพบมาในประวัติศาสตร์” ฟิออน ไวซัม หม่า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ผู้ร่วมเขียนบทความในวารสาร iScience กล่าวกับสำนักข่าวเอเอพี

“นี่คือสิ่งบ่งชี้ว่าพฤติกรรมแบบนกสมัยใหม่ เกิดขึ้นในบรรพบุรุษไดโนเสาร์” หม่ากล่าว

คาดกันว่าไข่ใบนี้อาจโดนเหตุการณ์ดินถล่มรบกวน ทำให้ฝ่อไปก่อนจะทำการฟัก แต่นั่นก็ทำให้มันอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ถูกรบกวนจากสัตว์กินเนื้ออื่น ๆ

พวกมันเคยอาศัยอยู่ในแถบเอเชีย และอเมริกาเหนือในช่วงปลายยุคครีเทเชียส หรือราว 66-77 ล้านปีก่อน มีจงอยปาก ทำให้สมมติฐานรองของนักวิจัยเชื่อว่ามันอาจมีวิวัฒนาการเชื่อมโยงกับสัตว์สายพันธุ์จระเข้ก็เป็นได้

จากนี้ทีมงานหวังจะศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยใช้เทคนิคการสแกนขั้นสูง เพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างร่างกาย และกระดูกทั้งหมด

คุณอาจสนใจ

Related News