กรมวิทย์ฯ เผยผลวิจัยฉีดวัคซีนชั้นผิวหนัง กระตุ้นภูมิ สู้สายพันธุ์เดลตาได้

สังคม

กรมวิทย์ฯ เผยผลวิจัยฉีดวัคซีนชั้นผิวหนัง กระตุ้นภูมิ สู้สายพันธุ์เดลตาได้

โดย thichaphat_d

23 ก.ย. 2564

41 views

เมื่อวานนี้ (22 ก.ย.) นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงกรณีมีข่าวการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 ในชั้นผิวหนัง เป็นการวิจัยของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกรมการแพทย์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ภายใต้MOU ที่ทำกับกระทรวงสาธารณสุข ได้อธิบายว่าโดยทั่วไปการฉีดวัคซีน มี 3 ลักษณะ


1.การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อย่างวัคซีน โควิด วัคซีนพิษสุนัขบ้า

2.คือการฉีดวัคซีนเข้าชั้นใต้ผิวหนัง เช่น วัคซีนหัด คางทูม

3.คือการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง เช่น วัคซีนวัณโรค และวัคซีนพิษสุนัขบ้า ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการใช้วิธีนี้แล้ว แต่การฉีดวัคซีนลักษณะนี้มีความยากกว่าวิธีอื่นๆ ผู้ให้บริการต้องมีทักษะความชำนาญ มาก โดยในตอนนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 ในชั้นผิวหนังยังเป็นการดำเนินงานในการวิจัย


โดยทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 เป็นวัคซีนแอสตราเซเนกา อายุระหว่าง 18 – 60 ปี จำนวน 95 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1 โดส (0.5 ml.) เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 30 คน


กลุ่มที่ 2 ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1/5 โดส (0.1 ml.) ฉีดเข้าในผิวหนัง จำนวน 31 คน (ระยะศึกษา 4-8 สัปดาห์) 


และกลุ่ม 3 ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1/5 โดส (0.1 ml.) ฉีดเข้าในผิวหนัง จำนวน 34 คน (ระยะศึกษา 8-12 สัปดาห์) โดยทำการศึกษาจากการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน (Antibody responses) และการตอบสนองของทีเซลล์ (T cell responses)


ผลการศึกษา 14 วันหลังจากได้รับการกระตุ้นวัคซีนเข็มที่ 3 พบว่า กลุ่มที่ 1 ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1 โดส เข้ากล้ามเนื้อ ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,652 AU (Arbitrary Unit )


ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1/5 โดส ฉีดเข้าในผิวหนัง ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,300.5 AU (Arbitrary Unit ) จากเดิมหลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มระดับภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 128.7 AU (Arbitrary Unit )


นอกจากนี้ระดับภูมิคุ้มกันในการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของเชื้อไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลตา การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตราเซนเนกาฉีดเข้าในผิวหนังสามารถยับยั้งได้ถึง 234.4 AU (Arbitrary Unit ) จากเดิมที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ยับยั้งได้ 16.3 AU (Arbitrary Unit ) ส่วนการตอบสนองของเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือทีเซลล์ต่อโปรตีนหนามแหลมของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีหน้าที่สู้กับไวรัสเมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว พบว่า ทั้งสามกลุ่มมีการทำงานของทีเซลล์ต่อโปรตีนหนามแหลมที่ดีขึ้นกว่าเดิมที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม


หลังจากฉีดแล้ว 14 วันทำการเก็บข้อมูลพบว่า ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง มีอาการเฉพาะจุดที่ฉีดผื่นแดง มากกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่อาการข้างเคียงต่อระบบร่างกายจะมีอาการน้อยกว่าว่าการฉีดในกล้ามเนื้อ ส่วนการตรวจวัดภูมิคุ้มกัน นั่น พบว่าสามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์เดลต้าได้ดี


ทั้งนี้การฉีดวัคซีนในชั้นผิวหนัง พบว่าใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่าแบบอื่นๆ และวิธินี้ใช้เฉพาะการฉีดเข็มบูสเตอร์เท่านั่น


ด้าน ดร.นพ.นวมินทร์ ปิ่นปฐมรัฐ อาจารย์สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และวิศวกรรมชีวการแพทย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ภูมิคุ้มกันในร่างกายของตนมีอยู่สองชนิด โดยการทดลองเป็นการทดลองการใช้วัคซีน ฉีดที่ทีเซลล์ โดยจากการฉีดวัคซีนใต้ผิวหนัง พบว่ามีภูมิเพิ่มขึ้นร้อยละ 52 และภูมิกล้ามเนื้อ มีภูมิเพิ่มขึ้น 55 โดยพบว่าภูมิคุ้มกันของการฉีดทั้ง 2 แบบ มีค่าใกล้เคียงกัน


ผลข้างเคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ พบ ร้อยละ30 ผลข้างเคียงฉีดไต้ผิวหนังพบ ร้อยละ 5 ส่วนอาหารปวดบวมแดงร้อนภายหลังการฉีด สามารถหายได้เองใน 7 วัน


นพ.ศุภกิจ ยืนยันว่าการฉีด ป้องกันโควิด -19 ในตอนนี้ยังเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้ออยู่ ยกเว้นว่าในพื้นที่ใหนมีเจ้าหน้าที่ชำนาญการ มีความพร้อมโดยต้องให้ทาง กรมควบคุมโรค ประเมินแล้วว่าสามารถดำเนินการได้




รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/PwIG3B2F0OQ

คุณอาจสนใจ

Related News