อธิบดีกรมการแพทย์ เผยอัตราครองเตียงโควิด กทม.ลดลง

สังคม

อธิบดีกรมการแพทย์ เผยอัตราครองเตียงโควิด กทม.ลดลง

โดย thichaphat_d

7 ก.ย. 2564

7 views

ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข วานนี้ (6 ก.ย.) นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผย ข้อมูลการบริหารจัดการเตียง รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในทุกกลุ่ม ขณะนี้ สถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อดูลดลง แต่หากดูข้อมูลเฉพาะพื้นที่อย่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีผู้ป่วยครองเตียงเกือบเต็มจำนวนอยู่


โดยในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย การครองเตียงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 75 กลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองมีอาการการครองเตียงอยู่ที่ร้อยละ 20 และกลุ่มผู้ป่วยสีแดง อาการหนัก อัตราการครองเตียงอยู่ที่ร้อยละ 3


โดยภาพรวมมีผู้ป่วยที่ครองเตียง ประมาณ 43,000 ราย ขณะที่ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและเสียชีวิตก็มีแนวโน้มลดลง ซึ่งภาพรวมการนำผู้ป่วยเข้าสู่บริการแยกกักรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช. มีผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรับบริการรักษาตัวที่บ้านจำนวน 53,594 ราย ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยสะสมที่เข้าสู่ระบบการแยกกักรักษาตัวที่บ้านตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม - 1 กันยายน มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 92,315 ราย


ส่วน ข้อมูลจากกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวที่ศูนย์พักคอย community Isolationในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เปิดดำเนินการ 60 แห่งมีจำนวนเตียงทั้งสิ้น 7397 เตียง สถานภาพข้อมูลเมื่อวันที่ 6 กันยายน มีการครองเตียงอยู่ 1593 เตียง ทำให้มีเตียงคงเหลือหรือเตียงว่าง 5804 เตียง ไม่มีผู้เสียชีวิตในการเข้ารับการรักษา ทั้งนี้มีผู้ป่วยเข้ารับบริการจำนวนสะสมรวมทั้งสิ้น 17,822 ราย ซึ่งทั้งสองมาตรการคือการรักษาตัวที่บ้าน และการเปิดศูนย์พักคอยในพื้นที่ชุมชน เป็นมาตรการเสริมที่ช่วยบรรเทาจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลหลัก


ขณะที่มาตรการของทางกรุงเทพมหานครในการยกระดับ โรงพยาบาลสนามประจำกลุ่มเขต CI Plus แปดแห่งมีจำนวนเตียง 1660 เตียง ขณะนี้มีผู้ป่วยคลองเตียง 584 ราย มีเตียงคงเหลือ 1076 เตียง ตัวชี้วัดอีกส่วนคือ ส่วนแรกรับและส่งต่อนิมิบุตรกระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ 14 มิถุนายน 2564 มีผู้รับบริการสะสมแล้ว 12,409 ราย โดยในขณะนี้คาดการณ์จะมีการย้ายจุดให้บริการในวันที่ 30 กันยายน ไปจัดตั้งศูนย์แรกรับและส่งต่อที่โรงพยาบาลเลิศสิน แทนอาคารนิมิบุตร โดยข้อมูลวันที่ 5 กันยายนยังมีผู้ป่วยคงค้างรอการส่งต่อที่อาคารนิมิบุตรจำนวน 9 ราย


นอกจากนี้มีการวางแผนประเมินเผื่อไว้สำหรับการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง ที่โรงพยาบาลเลิศสินเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการบุคลากร ลดความเหนื่อยล้าของบุคลากร


ถัดมาข้อมูลของโรงพยาบาลบุษราคัม ที่มีจำนวนเตียงทั้งหมด 2200 เตียง ขณะนี้มีผู้ป่วยครองเตียง 824 เตียง เป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเหลือง 800 รายผู้ป่วยอาการหนักวิกฤต 24 ราย ทำให้ยังคงมีเตียงว่าง 1376 เตียง โดยทางกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่าจะปิดดำเนินการโรงพยาบาลบุษราคัมในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งจะครบกำหนดระยะสัญญา แต่ทั้งนี้จะมีการประเมินสถานการณ์ในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้อีกครั้งหนึ่ง


ทั้งนี้ทางกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขมีการเตรียมความพร้อมบริการทางการแพทย์ขั้นสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยเฉพาะการให้การรักษากลุ่มผู้ติดเชื้อกลุ่มอาการสีเหลืองและสีแดง หากมีการระบาดระลอกใหม่ ส่งผู้ติดเชื้อในกลุ่มอาการสีเขียวให้ใช้การแยกการรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation และการรักษาตัวใน ศูนย์พักคอยชุมชน Community Isolation เป็นหลัก ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินคุณภาพการ ต้องให้ได้มาครการการรักษาที่เหมือนกับโรงพยาบาล


ขณะที่แนวทางการรักษาได้มีการหารือพูดคุยประสานกับ บริษัท ผู้แทนจำหน่ายยา ในการจัดหายาใหม่ เพื่อใช้สำหรับการรักษา ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย Molnupiravir (MSD), 3CL Protease Inhibitor (Pfizer)


ขณะที่การรักษาแบบเดิมในขณะนี้ ได้มีกลุ่มนักวิชาการจากหลายฝ่ายร่วมกันประเมิน การใช้ยา พาวิพิราเวียร์ ฟ้าทะลายโจรและยาอื่นๆเพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาแนวทางการรักษาต่อในอนาคต เตรียมรูปแบบการแพทย์วิถีใหม่ New Normal Medical Services สำหรับผู้ป่วยโรคอื่นๆ


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/fWYn8-rnM3U


คุณอาจสนใจ

Related News