นักวิชาการเปิดข้อกฎหมาย ถกปมคำตัดสินของศาลต่อคดี 'ธรรมนัส'

เลือกตั้งและการเมือง

นักวิชาการเปิดข้อกฎหมาย ถกปมคำตัดสินของศาลต่อคดี 'ธรรมนัส'

โดย panwilai_c

7 พ.ค. 2564

85 views

ประเด็นจากคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีไม่ตัดสิทธิ์ ส.ส. และรัฐมนตรี ของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ในทางคดีถือว่าสิ้นสุดแล้วตามคำพิพากษาศาล แต่ยังมีการถกเถียงทางวิชาการ ถึงประเด็นที่คำตัดสินศาลในต่างประเทศ ไม่มีผลต่อการพิจารณาของศาลไทย รวมถึงข้อเท็จจริงของคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ไม่ได้ถูกนำมาพิจารณา โดยเฉพาะกรณีนี้เป็นคดีเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด ที่ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในฐานความผิดอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งไทยมีภาคีอนุสัญญา เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมจากยาเสพติด กับสหประชาชาติ ถึง 3 ฉบับ ด้วยกัน


ความเห็นของที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์ วอทช์ประจำประเทศไทย ต่อกรณีคำตัดสินร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า แสดงความกังวลใจในบทบาทของไทยต่อเวทีโลก หากต้องทำงานเพื่อต่อต้านยาเสพติด มองว่า สังคมเคารพคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญกรณีร้อยเอกธรรมนัสไม่ขาดคุณสมบัติ จากกรณีที่เป็นความผิดในต่างประเทศ แต่เขามองว่าพฤติการณ์ความผิดที่เกี่ยวกับคดียาเสพติด เป็นความผิดสากลที่ไม่ได้ผูกพันธ์เฉพาะตัวร้อยเอกธรรมนัส แต่หมายถึงบทบาทของรัฐบาลไทย ที่มีต่อท่าทีผู้เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด้วย


อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นผ่านสื่อออนไลน์ "การพิจารณารับรู้คำพิพากษาศาลต่างประเทศ ในฐานะข้อเท็จจริง ที่ศาลและหน่วยงานปกครองของไทย สามารถนำมาพิจารณาประกอบการปรับใช้กฎหมายไทยได้ โดยไม่กระทบอำนาจอธิปไตยของไทย เนื่องจากไม่ใช่การบังคับลงโทษ ตามคำการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ พร้อมอ้างอิงบันทึกคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อตุลาคม 25623 เพื่อให้ความเห็นต่อกรณีทหารยศพลตรี ถูกศาลสหรัฐตัดสินจำคุก 365 เดือนฐานค้าเฮโรอีน และถูกให้ออกจากราชการ โดยไม่มีเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ


ในบันทึกความเห็นทางกฎหมาย ยังระบุว่าไทยเป็นภาคีอนุสัญญา กับสหประชาชาติเกี่ยวกับยาเสพติดจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่-อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติม อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972


อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต ประสาท ค.ศ. 1971 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด และ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต ประสาท ค.ศ. 1988 มีสาระสำคัญเพื่อกำหนดระบบควบคุมยาเสพติดและสารตั้งต้นเคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทุกรูปแบบ


อย่างไรก็ตาม นายสุณัย มองว่าต่างชาติจะตั้งคำถามต่อท่าทีไทยในการแก้ปัญหายาเสพติดเป็นแน่ ขณะที่ไทยก็มีกฎหมายหลายฉบับ ในประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ, พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ไปจนถึง คำสั่ง คสช.32/2559 ซึ่งแสดงถึงความพยายามเอาจริงในการปราบปรามยาเสพติดของไทย

คุณอาจสนใจ