เลือกตั้งและการเมือง

เลือก(สัก)ตั้ง EP.11 : เขตเลือกตั้งเขาแบ่งกันแบบไหน

โดย paweena_c

16 เม.ย. 2566

3 views

การเลือกตั้งเราต้องดูว่าเราจะเลือกตั้งที่เขตไหน แล้วเขตเลือกตั้งเขาแบ่งกันอย่างไร

การเลือกตั้งครั้งนี้ มี ส.ส. ได้ 500  คน โดยแบ่งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน และ  ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100  คน ซึ่งการเลือกตั้งแต่ละครั้งก็จะมีการแบjงเขตเลือกตั้งใหม่ โดยยึดตามจำนวนประชากร  

ต้องบอกว่าครั้งนี้ผู้มีสิทธิต้องเช็กให้ดีว่าตัวเองอยู่เขตไหน  เพราะการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้วเรามี ส.ส.เขต  350  จึงมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องเขตอย่างมาก  

ถ้ายึดง่ายๆ ก็จะบอกว่าการแบ่งเขตจะยึดตามค่าเฉลี่ยของราษฎร โดยจำนวนราษฎรเฉลี่ย 162,776 คน   จะมี ส.ส. ได้หนึ่งคน

หากจัดหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์ก็ให้มี ส.ส. 1 คน  อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งครั้งนี้ทุกจังหวัดมีจำนวนราษฎรเกินเกณฑ์ที่มี ส.ส. หนึ่งคน

และแต่ละจังหวัดจะ ส.ส. เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนในกรณีที่ถึงเกณฑ์ราษฎรเฉลี่ย เช่น จังหวัด ก. หากมีราษฎรถึง 325,552 คน ก็จะมี ส.ส. ได้สองคน แต่หากไม่ถึงก็จะมี ส.ส. ได้คนเดียว  หรือหากมีราษฎรถึง 488,328 คนก็จะมี ส.ส. ได้สามคน

อย่างไรก็ตามการแบ่งเขตไม่ได้เอาจำนวนคนไปวางแล้วหารตัดแบ่งแล้ววาง  แต่การแบ่งเขตจะต้องคำนึงถึงอีกหลายประการเช่น สมมติแบ่งเป็นสองเขต ทั้งสองเขตต้องมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน พื้นที่ในเขตต้องติดต่อกัน ไม่สามารถตัดขาดได้  ต้องมีความสะดวกในการคมนาคมต่อกัน

ตอนนี้เราลองมาดูข้อมูลกันว่า   จังหวัดไหนมี ส.ส. ได้มากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยจังหวัดที่ มีส.ส. มากที่สุด แน่นอนคือ คือกรุงเทพมหานคร มี ส.ส. ได้ 33 คน  จากประชากร 5,394,910 คน

ส่วนจังหวัดอื่นที่มี ส.ส. เกิน 10 คนประกอบด้วย

นครราชสีมา 16 คน, ขอนแก่น  11 คน, อุบลราชธานี 11 คน, ชลบุรี 10, คนเชียงใหม่ 10 คน, นครศรีธรรมราช 10  คน และ บุรีรัมย์  10 คน

ขณะที่ จังหวัดที่มี ส.ส. น้อยที่สุดคือ 1 คน มีสี่จังหวัด คือ  ตราด สิงห์บุรี สมุทรสงคราม และ ระนอง สำหรับจังหวัดที่มีราษฎรน้อยที่สุดคือระนองมีราษฎรทั้งสิ้น  179,600 คน

สำหรับหน่วยเลือกตั้งจะแบ่งตามจำนวนประชากรเช่นกัน โดยเฉลี่ยหนึ่งหน่วยจะมีประมาณ 800 คน แต่ก็จะมีเกณฑ์แบ่งละเอียดขึ้นเช่น หากไม่ถึง 800 คน แต่เป็นหมู่บ้านก็จะตั้งหน่วยเลือกตั้งขึ้นมาหนึ่งหน่วย



คุณอาจสนใจ

Related News