เลือกตั้งและการเมือง

เปิดแนวทางแก้ปัญหา ข่าวปลอม “ประเทศไทย” ปี 65

โดย JitrarutP

4 ก.พ. 2565

40 views

เปิดแนวทางแก้ปัญหาข่าวปลอม ปี 65 เดินหน้าตั้ง ศูนย์ปราบข่าวปลอมทุกจังหวัด


ปี2565 นับเป็นปีที่จะต้องจับตาการทำงานของภาคส่วนต่างๆ กับการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมมากขึ้น  เพราะส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง อาจเป็นอันตราย และถูกหลอกลวงจนเสียทรัพย์ได้



ล่าสุด  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย  เปิดเผยสถานการณ์ข่าวปลอม   ระหว่างวันที่ 1-31 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา  พบว่าใน 1 เดือนแรกของปี  มีข้อความที่เข้าสู่ระบบต้องตรวจสอบ มากถึง 50,906,464 ข้อความ  มีการตรวจสอบ แล้ว 450 เรื่อง ขณะที่ผลออกมาแล้ว 269 เรื่องพบเป็น ข่าวปลอม 84 เรื่อง ข่าวบิดเบือน 11 เรื่อง



ทั้งนี้ ใน 450 ที่ตรวจสอบแล้ว ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายบของรัฐ รองลงมาเป็นเรื่องสุขภาพ  เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และ ภัยพิบัติ



สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ระยะยาว นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยว่า ที่ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2565ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ความเห็นชอบในหลักการ "ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. …." แล้ว  

ซึ่งการอนุมัติหลักการดังกล่าว จะส่งเสริมการประสานงาน และทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เร่งแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ให้ทันต่อสื่อสังคมออนไลน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เป็นช่องทางเผยแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ ส่งผลกระทบต่อสังคม

โดยสำหรับสาระสำคัญของร่างระเบียบ ดังกล่าง มีการกำหนดแนวทางการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ผ่านการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในการแก้ไขปัญหา ได้แก่

1. ศูนย์ประสานงานกลาง กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์กลาง” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการ

2. ศูนย์ประสานงานประจำกระทรวง ให้ทุกกระทรวงจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ประจำกระทรวง”

และ 3. ศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด ให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ประจำจังหวัด” โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดการทำงาน ให้มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข่าวปลอม ดำเนินการแถลงข่าวทันทีที่พบว่าข่าวปลอมเกิดขึ้น และแจ้งกรมประชาสัมพันธ์ภายใน 1 ชั่วโมง ให้บังคับใช้กฎหมาย ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและต้องจัดให้มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนโดยเร็ว

ในกรณีข่าวปลอมใดที่สมควรต้องระงับการเผยแพร่ หรือลบข้อมูลออกจากระบบคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบตามระเบียบนี้ และแจ้งให้กระทรวงดิจิทัลฯ ดำเนินการระงับหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์



ธีรวัฒน์ ซ้วนตั้น คอลัมน์:ใต้เตียงการเมือง




คุณอาจสนใจ

Related News