สังคม

คณะพูดคุยฯ เผยสัญญาณเชิงบวกสร้างสันติชายแดนใต้ จ่อผลักดันเข้าสภา หวังลดความรุนแรงระยะยาว

โดย panwilai_c

25 ก.พ. 2566

52 views

การพูดคุยเพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการริเริ่มอย่างเป็นทางการในปี 2556 กำลังจะครบ 10 ปี ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ แม้จะไม่มีความคืบหน้าที่เห็นผลเป็นรูปธรรม แต่ภาคประชาสังคม ก็เห็นว่าเป็นเรื่องดีที่ยังมีความพยายามพูดคุยตามแนวทางสันติวิธี โดยคาดหวังให้ทั้งสามฝ่ายพิสูจน์ความจริงใจ ด้วยการลดความรุนแรง และนำเรื่องนี้เข้าสู่ระบบรัฐสภา พร้อมมีข้อเสนอถึงทุกพรรคการเมืองให้ความสำคัญกับการพูดคุยเพื่อสันติภาพ



ก่อนจะครบ 10 ปีการพูดคยเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ และผลการพูดคุยของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ บีอาร์เอ็น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งบรรลุข้อตกลงแผนปฏิบัติการร่วมสันติภาพ เป็นโรดแมป 2 ปี ตั้งแต่ปี 2566-2667 ที่จะลดความรุนแรงและเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อปรึกษาหารือถึงทางออกทางการเมือง ยังคงเป็นที่ติดตามของภาคประชาสังคม โดยล่าสุดคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล สถานบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาละย ได้เปิดเวทีเสนอแนะนโยบายสิทธิมนุษยชนต่อพรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้งปี 2566 และข้อเสนอต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ

ซึ่งภาคประชาสังคมมองว่า ยังไม่มีพัฒนาการที่ชัดเจน ยังไม่มีการลงนามที่สำคัญ​ ยังไม่เห็นความจริงใจของทั้งสองฝ่ายที่จะลดความรุนแรง เห็นได้จากการก่อเหตุรุนแรง การปิดล้อมวิสามัญฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในวันที่มีการเจรจาในมาเลเซีย แต่การพยายามให้มีการพูดคุยเพื่อสันติภาพเป็นเรื่องดีที่ยังต้องทำต่อ



ภาคประชาสังคมมองว่า สิ่งที่ยังไม่ถูกนำมาพูดคุยในโต๊ะเจรจา เช่นการบังคับใช้กฎหมาย การละเมิดสิทธิมนุษยชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงบทบาทของสตรี และเครือข่ายชาวพุทธ หากมีข้อเสนอต่กคณะพูดคุยก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงกระบวนการเหล่านี้และมีตัวชี้วัดชัดเจนในการลดความรุนแรง และที่สำคุญคือผลักดันให้บรรจุอยู่ในรัฐสภา



นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายนอกจากผู้เสียหายจากเหตุความรุนแรงแล้วยังมีผู้ถูกสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม ที่มีเพิ่มมากขึ้นจนน่าเป็นห่วงว่าทำลายบรรยากาศของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ และภาคประชาสังคมคาดหวังจะให้พรรคการเมืองที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง ชูนโยบายสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นนโยบายหลัก และยกเลิกกฎหมายพิเศษที่กระทบสิทธิมนุษยชน



ข้อเสนอที่มีไปถึงพรรคการเมืองและคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข รวมถึงผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย เป็นสิ่งที่ภาคประชาสังคม คาดหวังจะได้รับการตอบสนอง เพื่อเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นจริง

คุณอาจสนใจ