เลือกตั้งและการเมือง

ศาลคดีทุจริตฯ นัดฟังคำพิพากษา ปม กกต. ไม่ส่งยุบพรรค 'ภูมิใจไทย' 9 เม.ย.นี้

โดย panisa_p

27 มี.ค. 2567

126 views

วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๓๕ นาฬิกา เรือเอก ย. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนาย อ. ที่ ๑ กับพวกรวม ๗ คน คดีอาญาหมายเลขด้าที อท ๕๘/๒๕๖๗ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ประกอบมาตรา ๘๓ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖๙ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๔๙ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๗๒


โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นสมาชิกพรรค ก. คนหนึ่ง จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย โดยที่จําเลยทั้งหก ซึ่งเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งและจ่าเลยที่เจ็ดซึ่งเป็นเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ระหว่างวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๗ จําเลยทั้งเจ็ดร่วมกันกระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน สืบเนื่องมาจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ ๑/๒๕๖๗ ในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๖ ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนาย ศ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๕) ประกอบมาตรา ๑๗๗ หรือไม่ และจําเลย ทั้งหมดทราบคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่ไม่ดําเนินการยื่นคําร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยยุบ พรรค ก. และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๙๒ โจทก์ได้ทําหนังสือ และส่งหนังสือฉบับหนึ่งส่งถึงเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง


และหรือคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้พิจารณายื่นคําร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรค ภ. และ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งจําเลยทั้งหมดได้รับทราบ


ความประสงค์ของโจทก์แล้วแต่กลับเพิกเฉยการกระทําของจําเลยทั้งหมดจึงมีเจตนาร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ดําเนินการกับพรรค ภ. ตามหน้าที่และอํานาจของตน พฤติการณ์ดังกล่าวมี ลักษณะเป็นการประวิงคดีให้เนิ่นช้าเกินสมควรไม่ได้ดําเนินการใด ๆ ตามอํานาจและหน้าที่ของพวกตนตาม กฎหมายที่จะค่าเนินการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรค ภ. และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐


มาตรา ๙๒ แสดงให้เห็นว่าจําเลยทั้งเจ็ดมีเจตนาร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือ เพิกเฉย ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยกรณีของนาย ศ. เลขาธิการพรรค ภ. ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๗ ก่อนกรณีของนาย พ. และพรรค ก. ซึ่ง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยไป เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๗ จึงเป็น การเลือกปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด ศาลรัฐธรรมมนูญมีมติวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนาย ศ. เลขาธิการ พรรค ภ. ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๕) นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งให้ ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๘๒ วรรคสอง คือ วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๖


การกระทํากรรมที่สอง เมื่อระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๗ เวลากลางวันต่อเนื่อง ถึงประมาณ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ จําเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและกระทําการในฐานะ เจ้าพนักงานของรัฐมีเจตนาร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๗ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ ๓/๒๕๖๗ กรณีของนาย 5. ผู้ร้องได้ยื่นคําร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตาม มาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญว่าการกระทําของนาย พ. ผู้ถูกร้องที่ ๑ และ พรรค ก. ผู้ถูกร้องที่ ๒ ที่เสนอพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ซึ่งเป็นหนึ่ง ในนโยบายหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. ๒๕๑๖ ของพรรค ก. ว่าเป็น


การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ เป็นเอกฉันท์วินิจฉัยแล้วว่าการกระทําของผู้ถูกร้องทั้งสองเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้าง การปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งต่อมาในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นาย ร. ในฐานะประชาชนและสมาชิกพรรค พ. ได้ยื่นคําร้อง ต่อสํานักงานของจําเลยทั้งเจ็ดมีเจตนาให้จําเลยส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยยุบพรรค ก.


และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค เหตุเพราะกระทําการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) และต่อมาในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖ นาย ธ. ได้ไปยื่นคําร้องที่สํานักงานตัวแทนของจําเลยทั้งเจ็ดโดยมีเจตนาเดียวกันกับนาย ร. ซึ่งต่อมาในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๗ จําเลยที่ ๑ ถึงจําเลยที่ 5 มีเจตนาร่วมกันโดยลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ส่งเรื่องให้ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค ก. และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคโดยจําเลยทั้งหกได้มอบหมายให้จําเลยที่ ๗ ในฐานะเลขาคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยไม่โต้แย้งหรือคัดค้าน


จึงถือว่ามีเจตนาร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับจําเลยที่ ๑ ถึงจําเลยที่ 5 และเป็นผู้ไปยื่นคําร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ การดําาเนินการยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญของจําเลยทั้งเจ็ดเป็นไปอย่างเร่งรีบขาดความรอบคอบและเป็น พิรุธทําให้จนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคําสั่งหรือมติรับคําร้องของจําเลยทั้งเจ็ดไว้ พิจารณาแต่อย่างใดการกระทําดังกล่าวข้างต้นของจําเลยทั้งเจ็ดจึงไม่มีความสุจริตและโปร่งใสเที่ยงธรรมเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทําให้ผู้หนึ่งผู้ใด คือ โจทก์ หรือสมาชิกพรรค ก. คนอื่น ได้รับความเสียหาย การกระทําของจําเลยทั้งเจ็ดเป็นความผิดตามกฎหมาย เหตุเกิดที่ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร


ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางรับคดีไว้เพื่อตรวจคําฟ้อง ให้นัดฟังคําสั่งหรือคําพิพากษา ในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๙.๓๐ นาฬิกา

คุณอาจสนใจ

Related News