สังคม

สบส. จ่อออก "พ.ร.บ.อุ้มบุญ" คู่รักต่างชาติ ใช้หญิงไทยตั้งท้องแทนได้

โดย attayuth_b

1 มี.ค. 2567

39 views

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จ่อออก พ.ร.บ.อุ้มบุญ เปิดช่องคู่รักต่างชาติและสมรสเท่าเทียม หวังเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลก


นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสบส.กล่าวว่า จากปัญหาอัตราการเกิดของประเทศไทยลดลง โดยคาดในปี 2567 จะมีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 500,000 รายต่อปี และมีแนวโน้มลดลง กรมจึงดำเนินนโยบายให้สอดคล้อง กับนโยบายระดับชาติที่ส่งเสริมการมีบุตร โดยทางกรมจะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เพื่อกลุ่มผู้มีบุตรยาก โดยมี พรบ.คุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 เปิดโอกาสให้คู่สมรสผู้มีภาวะมีบุตรได้ตามต้องการมากขึ้น

นพ.สุระ บอกว่า ปัจจุบันมีวิทยาการด้านการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์ของไทย มีความก้าวหน้า โดยให้บริการใน 2 กลุ่มหลัก คือ 1. กลุ่มคู่สมรสที่สามารถตั้งครรภ์เองได้ สามารถเลือกใช้วิธีการฉีดน้ำเชื้อ หรือ ผสมเทียม ทำแล้วมากกว่า 12,000 รอบ รวมถึงการทำเด็กหลอดแก้ว มากกว่า 20,000 รอบ 2.กลุ่มคู่สมรสที่ตั้งครรภ์เองไม่ได้ เลือกใช้วิธีการอุ้มบุญ ที่ได้รับอนุญาตแล้ว 754 ราย (ประมาณ 7,500 ล้านบาท เฉลี่ยรายละ 1 ล้าน บาท ) ซึ่ง ทั้ง 3 วิธีแพทย์ไทยทำสำเร็จถึงร้อยละ 50

โดยขณะนี้สถานพยาบาล ที่ให้บริการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญภัณฑ์ในไทย รวม 115 แห่ง แบ่งเป็นของรัฐ 17 แห่ง เอกชน 31 แห่ง และคลินิกอีก 67 แห่ง

ด้านทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า ปีนี้จะปรับข้อกฎหมายมากขึ้น แก้ไขคุณสมบัติผู้รับบริจาคไข่ ให้ญาติสืบสายโลหิตของฝ่ายภรรยา ที่มีอายุ 20 ถึง 40 ปี และไม่จำเป็นต้องผ่านการสมรส สามารถบริจาคไข่ได้ พร้อมยกเลิกเพดานอายุของภรรยา ที่ประสงค์จะให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนจากเดิม อายุไม่เกิน 55 ปี ปรับเป็น ผู้มีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไปได้ อีกทั้งจะผลักดันให้ผู้มีบุตรยาก ได้รับสิทธิ์จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. โดย การทำเด็กหลอดแก้ว จะเข้าขอมติที่ประชุมบอร์ดสปสช.ในเดือนมีนาคมนี้

พร้อมกันนี้ สบส.ก็จะแก้ไขพ.ร.บ.อุ้มบุญ ( ชื่อเต็ม ..พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. … ฉบับใหม่ ) เพื่อขยายโอกาสการมีบุตรในกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มสมรสชาวต่างชาติทั้งคู่ หากเข้ามาใช้บริการอุ้มบุญในไทย สามารถใช้หญิงไทยตั้งครรภ์แทนได้ กลุ่มสมรสเท่าเทียม คู่ภรรยาที่มีความหลากหลายทางเพศ เข้าสู่เงื่อนไขใช้เทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ได้ หากให้สำเร็จจะถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลก ซึ่งขั้นตอนอยู่ระหว่างระดมทุกภาคส่วนเพื่อจัดทำอยู่



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/MrencIWspHw

คุณอาจสนใจ