เลือกตั้งและการเมือง

เจาะคำวินิจฉัยศาลรธน. ตัดสิน 'พิธา-ก้าวไกล' แก้ 112 ล้มล้างการปกครอง

โดย chiwatthanai_t

31 ม.ค. 2567

81 views

กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ว่าการเสนอแก้ไขกฏหมายอาญามาตรา 112 และใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เป็นการกระทำที่ล้มลางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรนูญมาตรา 49 ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้เลิกการกระทำ และให้ระมัดระวังในการละเมิดอำนาจศาล


วันที่ 31 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียงเห็นว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ พรรคก้าวไกลในการเสนอแก้ไขประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง เป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีคำสั่งให้หยุดการกระทำนั้นเสีย


สาระสำคัญของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีที่ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เป็นผู้ร้อง มีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล เป็นผู้ถูกร้องที่ 2


ศาลรัฐธรรมนูญ เริ่มต้นอ่านคำวินิจฉัย โดยระบุว่า การที่ สส.พรรคก้าวไกล จำนวน 44 คน ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง รวมถึงการเข้าร่วมชุมนุม ยกเลิกมาตรา 112 การเป็นนายประกันให้ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 และแสดงความเห็นผ่านสื่อออนไลน์ แม้ผู้ถูกร้องจะโต้แย้งว่าการเสนอแก้ไขกฏหมายเป็นการทำหน้าที่ สส.ในฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การเสนอกฏหมายที่เป็นการลดทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 49 บัญญัติไว้เพื่อคุ้มครองมิให้มีการใช้สิทธิและเสรีภาพ ที่จะส่งผลเป็นการบั่นทอน ทำลายรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ผู้ใดจะฟ้องร้องหมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินีและรัชทายาทมิได้ ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ การเสนอแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล จึงเป็นการลดทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นเพียงคดีอาญา
เป็นการซ่อนเร้นด้วยวิธีการผ่านกระบวนการรัฐสภา


นอกจากนี้ ศาลเห็นว่าการที่นายพิธาและพรรคก้าวไกล หาเสียงทางการเมืองในการแก้ไขมาตรา 112 เป็นการนำพระมหากษัตริย์ ที่ทรงดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมือง มากลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชนได้ จึงมีเจตนาที่จะเซาะกร่อน บ่อนทำลาย ลดทอนสถานบันพระมหากษัตริย์ หรือทำให้อ่อนแอลงนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด


นอกจากนี้ยัง สส.ในพรรคก้าวไกล มีพฤติกรรมเป็นนายประกันให้กับผู้ต้องหาและจำเลยในมาตรา 112 ทั้งนายพิธา นายชัยธวัช ตุลาธน นายรังสิมันต์ โรม นางสาวสุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา นายทองแดง เบ็ญจะปัก นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และนายธีรัจชัย พันธุมาศ และ สส.ของพรรค พฤติกรรมเกี่ยวกับความผิดมาตรา 112 หลายรายได้แก่ นายปิยรัฐ จงเทพ 2 คดีนางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว 2 คดี และนางสาวรัชนก ศรีนอก


ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า หากยังปล่อยให้ผู้ถูกร้องทั้งสองกระทำการต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง จึงถือเป็นการใช้สิทธิ์หรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครอง ตามพระมาตรา 49 วรรคหนึ่ง และศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ การแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเพื่อให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกทั้งไม่ให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย


ศาลธรรมนูญได้ทิ้งท้ายว่าคำวินิจฉันของศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีผู้ที่เห็นด้วยืหรือไม่เห็นด้วย แต่ขอให้ตระหนักว่าการวิจารณ์คำวินิจฉัยที่กระทำโดยไม่สุจริต และใช้ถ้อยคำหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย จะมีความผิดฐานฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งจะมีโทษ ทั้งตักเตือนจำคุก หรือปรับ ไม่เกิน 50,000 บาท

คุณอาจสนใจ

Related News