สังคม

รมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ ลุยแก้ปัญหา 'โครงการโคบาลชายแดนใต้' หลังพบปัญหาโคไม่ตรงปก

โดย panisa_p

29 ม.ค. 2567

44 views

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งให้เร่งแก้ไขปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค จังหวัดปัตตานี ในโครงการโคบาล จังหวัดชายแดนใต้ ได้โคแม่พันธ์ไม่ตรงตามข้อกำหนด หรือเรียกว่า ได้โคแม่พันธุ์ไม่ตรงปก ขณะที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ปัตตานีด่วน และหลังจากรับฟังปัญหา ข้อจำกัดจากเกษตรกรแล้ว ก็เตรียมเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่มหาดไทย ปศุสัตว์ และ ศอบต. เพื่อหาแนวทางปรับแก้บางเงื่อนไขให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและ ผลักดันให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไปได้



โคแม่พันธุ์ในคอกนี้ เป็นของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ต.ตันหยงลูโล๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ที่กลุ่มผู้เลี้ยงโคร้องเรียนไปถึงหน่วยงานรัฐว่า แม่พันธุ์โคที่ซื้อมาจากฟาร์มเอกชนรายหนึ่ง ด้วยเงินกู้ยืมจากรัฐเพื่อมาเลี้ยงในโครงการโคบาลชายแดนใต้ แต่ได้แม่พันธุ์โคที่ไม่ได้คุณภาพ โดยเฉพาะเงื่อนไขว่า โคแม่พันธ์ที่เกษตรกรที่ซื้อมาในราคาตัวละ 17,000 บาท ต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 160 กิโลกรัม ในวันเวลาที่มีการส่งมอบมาให้เกษตรกรนั้น แม้ว่าจะมีเอกสารผ่านการตรวจโรคและเอกสารรับรองอื่นๆ แต่นับตั้งแต่ที่รับแม่พันธุ์โคมาเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นอกจากขณะรับมาน้ำหนักจะไม่ถงเกณฑ์แล้ว แม้แต่เมื่อนำมาขุนเป็นเดือนแล้วก็ยังแทบไม่ขึ้น ซึ่งเกษตรกรกังวลใจว่าจะเป็นแม่พันธ์ที่ไม่มีคุณภาพ



โครงการโคบาลชายแดนใต้ เป็นโครงการระยะ 7 ปี ระหว่าง 2565-2571 เป้าหมายคือสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้คนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล จากอาชีพเลี้ยงโคเนื้อครบวงจร ทั้งแปลงพืชอาหารสัตว์ โรงเรือน การซื้อขายแม่พันธุ์ และจัดจ้างคนในพื้นที่ดูแลฟาร์ม เป้าหมายสูงสุดคือส่งออกเป็นสินค้าฮาล งบประมาณรวม 1566 ล้านบาท จากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โดยโครงการที่เริ่มต้นเสนอจาก ศอ.บต. แต่ผ่านการอนุมัติให้ใช้งบกองทุนฯ และให้กรมปศุสัตว์ประสานงาน กับกองทุนเพื่อให้เกษตรตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจแล้วกู้เงินดังกล่าวผ่านภาครัฐ เพื่อนำเงินกู้ไปใช้ในโครงการ เช่น ฟาร์มนี้ เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องของเกษตรกร 60 กลุ่มที่ตั้งเป้าให้มีโคในพื้นที่ 3 พันตัว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้ทำให้เกษตรกรหวั่นใจ



นายสุรเดช ยังแจ้งข้อมูลต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ลงพืนที่ไปติดตามปัญหานี้ โครงการนี้จะจัดหาโคแม่พันธุ์ให้เกษตรกรใน 5 จังหวัด แต่กลับมีฟาร์มเอกชนรายเดียว จากจังหวดันครสวรรค์มาเสนอแม่พันธ์โคให้เกษตรกร ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่น เพราะแม้จะไม่บังคับให้เกษตรกรเลือกซื้อโคจากเจ้านี้ แต่โดยพฤติการณ์ก็เหมือนเกษตรกรไม่มีทางเลือก ทำให้กลุ่มเกษตรกรบางกลุ่ม ขอเปลี่ยนแม่พันธุ์โค จากผู้ขายเจ้าเดิม และบางกลุ่มขอ คืน แม่พันธุ์โคทั้งหมด โดยจะพยายามหาซื้อจากเจ้าอื่นแทน



ขณะที่ฟาร์มอีกแห่ง ที่อำเภอปะนาเระ พบว่าไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพแม่พันธุ์ และที่นี่ยังเลี้ยงแล้วคลอดลูกออกมาแล้วด้วย ซึ่งเกษตรกรที่นี่บอกว่าการเอาใจใส่ในการเลี้ยงเป็นส่วนสำคัญ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็มีข้อมูลตรงกันว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการมา มีฟาร์มเอกชนรายเดียวเท่านั้น จากนครสวรรค์ ที่มานำเสนอแม่พันธุ์โคให้ชาวบ้านเลือก



ขณะทีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ตอนนี้เป็นโครงการนำร่อง และเมื่อพบปัญหาก็จะเร่งแก้ไข โดยเฉพาะต้องหาแม่พันธุ์โคที่มีคุณภาพพร้อมขยายพันธุ์ ปลอดโรค ราคาหมาะสม และให้เกษตกรกรจัดซื้อเอง แต่รัฐจะช่วยส่งเสริมและกำกับดูแลไม่ให้เกษตกรถูกเอาเปรียบ



นายไชยา มีหลายประเด็นที่ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องคุณภาพแม่พันธ์โค เรื่องราคาซื้อขายและอิสระในการซื้อจากแหล่งอื่นๆ ที่ปลอดโรค ที่ไม่ใช่จากนครสวรรค์ โดยจะส่งเสริมให้เอกชนมาเสนอขายให้เกษตรกรมากขึ้น แต่ภาครัฐต้องช่วยดูแลไม่ให้เกษตรกร ถูกเอาเปรียบจากผู้ค้าด้วย

คุณอาจสนใจ