สังคม
โครงการ 'โคบาลชายแดนใต้' ปัญหาเพียบตั้งแต่ระยะนำร่อง ศอ.บต.ขอเวลา 15 วัน ปรับเงื่อนไข
โดย panwilai_c
2 ก.พ. 2567
69 views
เป็นที่น่าสงสัยว่า วัวที่ลักลอบนำเข้าเหล่านี้ปลายทางจะถูกส่งไปที่ไหนบ้าง และเป็นไปได้หรือไม่ที่จะถูกส่งไปให้ฟาร์มใดในประเทศหรือไม่
ข่าว 3 มิติ ตรวจสอบต่อเนื่อง และอีกด้านหนึ่งที่ยังมีปัญหา คือ โครงการโคบาลชายแดนใต้ ที่ใช้เงินกู้ยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 1 หมื่น 5 พันล้านบาท ให้เกษตรกรกู้ยืม เพื่อซื้อโคไปเลี้ยง ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ปรากฏว่าในระยะนำร่อง ก็เกิดปัญหาหลายประเด็น เช่นเป็นหนี้แล้ว ได้แม่พันธุ์โคที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึงที่จังหวัดสตูล พบว่ามีเกษตรกรรับโคไปเลี้ยงตั้งแต่ 2 ปีก่อน แต่โครงการเพิ่งอนุมัติเมื่อกลางปีที่แล้ว และปราฏว่าคุณสมบัติของกลุ่มไม่ผ่าน จึงมีสภาพหนี้ ทั้งที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องหาทางช่วยเหลือเร่งด่วน
โครงการโคบาลชายแดนใต้ ที่ตั้งเป้าจะให้เกิดอุตสาหกรรมฮาลาลในพื้นี่ จึงส่งเสริมการเลี้ยงโคพื้นบ้าน ใน 5 จังหวัดคือปัตตานี ยะล นราธิวาส สงขลา และสตูล ดำเนินการร่วมกันหลายฝ่ายทั้งศอบต. กรมปศุสัตว์ และฝ่ายปกครองในจังหวัดนั้นๆ
โครงการนี้ให้เกษตรกรรวมกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กู้เงินจากกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร กลุ่มละ 1,500,000บาท โดยเงินนี้ กำหนดเป็นเงินซื้อแม่พันธ์โคจากฟาร์มเอกชน กลุ่มละ 50 ตัว ราคาตัวละ 17,000 บาท รวม เฉพาะค่าแม่พันธ์ กลุ่มละ 8 50,000 บาท ค่าโรงเรือนเลี้ยงวัวกลุ่ม กลุ่มละ 350,000 บาท ซึ่งรายจ่าย 2 ส่วนนี้ กลายเป็นบริษัทวิชัยฟาร์ม จากจังหวัดนครสวรรค็ ได้งานไปทั้งหมดทุกกลุ่ม ที่นำร่องในขณะนี้ ส่วนเงินที่เหลือจะเป็นค่าแปลงหญ้า และค่าจ้างดูแลฟาร์มที่กลุ่มเกษตรกรบริหารจัดการเอง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในกรณีกรณีปัตตานี คือข้อร้องเรียนว่าได้แม่พันธ์โคไม่เหมาะสมกับข้อตกลงว่าแม่พันธ์โคที่เกษตรกรเป็นหนี้จ่ายไปตัวละ 1.7 บาทนั้น ไม่พร้อมจะเป็นแม่พันธ์ และราคาแพงหากเทียบกับซื้อเองตัวละ 1 หมื่น ที่มีลูกติดมาด้วย เป็นต้น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งลงพื้นที่รับฟังปัญหาข้อจำกัดเปิดเผยความคืบหน้าล่าสุด ว่าได้หารือกับ ศอบต.ซึ่งเป็นหน่วยงานร่วมผลักดันโครงการนี้ ได้ข้อสรุปว่าจะขอเวลา 15 วันเพื่อสรุปปัญหาและทบทวนระเบียบ โดยเฉพาะในประเด็นว่าเอกชนผู้ขายแม่พันธ์โคให้ชาวบ้าน พร้อมจะรับโคคืน และคืนเงินให้กองทุน ทำให้เกษตรกรไม่ต้องเป็นหนี้ แต่เกษตรกรจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อ แต่ไปซื้อจากเอกชนรายอื่นอย่างไรได้นั้น จะเร่งหาทางออกโดยเร็ว
นอกจากนี้ ยังพบปัญหาที่จังหวัดสตูล เมื่อปรากฏว่ามีกลุ่มเกษตรกรประมาณ 20 กลุ่ม ได้รับวัวมาจากเอกชนรายนี้กลุ่มละ 50 ตัวมาเลี้ยงตั้งแต่ปี 2565 เพราะคาดหวังว่าจะได้เข้าโครงการ และเชื่อว่าเมื่อเลี้ยงไว้ก่อนโอกาสที่วัวจะมีลูกและได้กำไรก็มีมาก แต่ปรากฏว่าเมื่อโครงการอนุมัติ มีกลุ่มเกษตรกรผ่านเข้าร่วมโครงการได้เพีย 8 กลุ่ม ส่วนที่เหลือ ไม่ผ่านอนุมัติ เนื่องจากสถานที่เลี้ยงโคนั้นเป็นที่ดินสงวนของรัฐ เช่นป่าสงวน หรือใกล้อุทยานฯ ซึ่งผิดเงื่อนไขที่กำหนดว่า กลุ่มต้องมีที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เอง
ปัญหานี้รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่า ศอบต.จะรับไปพิจารณาโดยใช้หลักรัฐศาสตร์ เพราะหากยึดตามตัวบทกฎหมายถือว่าขัดระเบียบโดยสิ้นเชิง
โครงการโคบาลชายแดนใต้ มีรูปแบบคล้ายโคบาลบูรณพา แต่มีการถอดบทเรียนและปรับเงื่อนไขใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทชายแดนใต้ ที่ต้องการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในอนาคต โดยโครงการตั้งเป้าจะให้สำเร็จในระยะ 7 ปี และตั้งเป้าหมายว่า เกษตกรที่กู้ยืมเงินมา จะเริ่มคืนเงินได้ในปีที่ 4 เพราะเป็นปีที่คาดหวังว่าโคจะเริ่มตั้งครรภ์และคลอดลูก จากนั้นในระยะ 7 ปี คาดว่าจะปลดหนี้ แต่การที่ได้แม่พันธ์โค ที่ไม่สมบูรณ์ และไม่พร้อมจะให้ลูก ทำให้เกษตรกรกังวลใจว่า จะได้ผลตามเป้าหมายหรือไม่ โดยส่วนใหญ่ยังต้องการให้เดินห้าโครงการนี้ แต่ต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะนำร่องให้ได้