สังคม

นครปฐมโมเดล! ‘คนเคยฮั้วประมูล’ แฉ เงินมาทุกอย่างจบ ‘กำนันคนดัง’ จนท.รัฐ รู้เห็น 100%

โดย JitrarutP

13 ก.ย. 2566

214 views

วันที่ 13 ก.ย. 66 รายการโหนกระแสพูดคุยกับ ร.ต.อ.วิษณุ ฉิมตระกูล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), ศรชัย ชูวิเชียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช., ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส สำนักงานการสอบสวน โดยในช่วงต่อออนไลน์ของรายการ ได้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ ผู้ที่เคยฮั้วประมูล ถึงกรณีการฮั้วประมูลในโครงการก่อสร้างต่างๆ หลังเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบบริษัท “กำนันดัง” ฮั้วประมูลหรือไม่

โดย ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส สำนักงานการสอบสวน เล่าว่า ตอนนี้กำลังจะเป็นนครปฐมโมเดล หลายจังหวัดกำลังหนาวๆ ร้อนๆ การสูญเสียตำรวจน้ำดีในครั้งนี้ ไม่ใช่เสียหายถึงขั้นไม่เป็นประโยชน์แต่กำลังจะเป็นประโยชน์ต่อเป็นประเทศชาติ ทุกอย่างถูกเปิดมาหมด วันนี้เป็นวันทำความสะอาดนครปฐม

“ในพื้นที่ผู้มีอิทธิพล บริษัทอื่นมา มันจะทำงานไม่ได้ รถบรรทุกวิ่งไม่ได้ เกินหน่อย จับ คนงานต่างด้าว จับ พอเป็นอย่างนี้ไอ้คนที่มาสู้ประมูล ก็ไม่เอาดีกว่า อยากจะได้ก็ต้องไปขอคนที่ควรดูแล ต่อไปก็เป็นธรรมเนียม จังหวัดนี้ไม่เอา ถ้าเอาต้องไปขอคนดูแล นี่คือการพัฒนาของการทุจริต” อ.ปรเมศวร์ กล่าว...

ในช่วงต่อออนไลน์ของรายการ ร.ต.อ.วิษณุ ฉิมตระกูล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตั้งข้อสงสัยว่า ระบบ e-Bidding ในการประกวดราคาเป็นข้อมูลปิด เหตุใดถึงมีผู้เข้าถึงข้อมูลได้ และรับทราบตัวเลขในการประมูลโครงการต่างๆ มาได้ด้วยวิธีใด

ด้าน ผู้ที่เคยฮั้วประมูล ตอบกลับทันที “ท่านครับ ใครเป็นคนให้ ยูสเซอร์เนม – พาสเวิร์ด ใครเป็นคนรู้รายชื่อต่างๆ แค่นั้นเองครับ ผมถึงบอกว่าเราต้องซื้อเจ้าหน้าที่ ซื้อกรรมการให้ติด ถ้าซื้อไม่ติด ไม่มีใครมาบอกเราหรอกครับ”

พร้อมเผยกระบวนการในการฮั้วประมูล โดยเล่าว่า การเข้าถึงข้อมูล e-Bidding ที่เป็นข้อมูลปิดไม่ใช่เรื่องยาก เพราะมีเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าถึงข้อมูลได้ หากไม่มีการรับผลประโยชน์ เอื้อผลประโยชน์ต่อกัน ผู้ที่มาประมูลจะรู้ข้อมูลของคู่แข่งได้อย่างไร โดยเฉพาะพื้นที่ของกลุ่มผู้มีอิทธิพลแต่ละจังหวัด หลายจังหวัดมีกลุ่มเครือข่ายทั้งข้าราชการ ตำรวจ และผู้รับเหมา ที่เกาะกลุ่มกันแน่น

เมื่อ “หนุ่ม กรรชัย” ถามว่า บริษัท 2 ป. ของกำนันคนดัง ฮั้วประมูลหรือไม่

เจ้าตัวตอบกลับทันที “100 เปอร์เซ็นต์ จู่ๆ ปีหนึ่ง ได้เป็นร้อยสัญญา” พร้อมตั้งข้อสงสัยว่า ที่ผ่านมาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไม่สงสัยเลยเหรอ?

คุณอาจสนใจ

Related News