เลือกตั้งและการเมือง

ไฮไลต์ก่อนโหวตนายกฯ รอบแรก อภิปรายเดือด จี้ก้าวไกลถอยแก้ ม.112

โดย panwilai_c

13 ก.ค. 2566

77 views

การอภิปรายเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่าเข้มข้นในประเด็นการแก้ไขมาตรา 112 ที่พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคประชาธิปัตย์ นำมาเป็นเหตุผลในการไม่เห็นชอบนายพิธา เช่นเดียวกับ ส.ว.ที่เห็นว่านายพิธา ไม่มีคุณสมบัติเป็นนายกรัฐมนตรี ด้านนายพิธา และ พรรคก้าวไกล ยืนยัน การแก้ไขมาตรา 112 เพื่อธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์



นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ได้แสดงวิสัยทัศน์ ยืนยันว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมในการเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 แม้จะมีการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยังอยู่ในกระบวนการทางกฏหมาย และตั้งใจทำงานตามนโยบายที่ประกาศไว้กับประชาชน ทั้งการผลักดันเศรษฐกิจและการลดความเหลื่อมล้ำ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งน่าเสียดายที่มีการนำการแก้ไขมาตรา 112 มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ทั้งที่ๆการเสนอแก้ไขกฏหมายนี้ของพรรคก้าวไกล เพื่อธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่คู่กับประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงหวังจะเสนอตัวเองเป็นฉันทามติใหม่ที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่ทางออกร่วมกัน



ส่วนการอภิปรายถือว่าดุเดือด ตั้งแต่คนแรก นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เปิดอภิปรายคนแรกยืนยันไม่เห็นชอบนายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรีเพราะแก้ไขกฏหมายมาตรา 112 โดยเฉพาะกฏหมายที่พรรคก้างไกลเคยเสนอต่อสภาเมื่อปี 2564 มีการลดโทษผู้ละเมิดพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ หากพรรคก้าวไกลยอมถอยไม่แก้ไขมาตรา 112 พรรคภูมิใจไทยพร้อมโหวตให้ โดยไม่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล



นอกจากนี้ยังมี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายชัยชนะ เดชเดโช และ พรรครวมไทยสร้างชาติ นายศาสตรา ศรีปาน และนายวิทยา แก้วภราดัย อภิปราย ไม่เห็นชอบนายพิธา ที่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ถือเป็นเรื่องที่ประชาชนที่ไม่ได้เลือกพรรคก้าวไกลก็ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้



ในขณะที่พรรคก้าวไกล ทั้งนายพริษฐ์ วัชรสินธุ์ ยืนยันว่าการแก้ไขมาตรา 112 เพื่อขอบเขตในการบังคับให้ชัดเจน และ ไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการ ไม่ใช่การล้มล้างระบอบการปกครอง แต่เป็นโอกาสที่ดีในการคืนความปกติให้ประเทศ ขณะที่ นายชัยธวัช ตุลาธน ออกมายืนยันถึงการแก้ไขมาตรา112 ไม่กระทบสถานะพระมหากษัตริย์ พรรคก้าวไกล เสนอตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล



ในส่วนส.ว.ที่อภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112 และเป็นเหตุผลที่ไม่เห็นชอบให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี ยังมีนายคำนูณ​ สิทธิสมาน และ นายสมชาย แสวงการ ซึ่งต่างเป็นห่วงว่าจะยิ่งทำให้สังคมไทยเกิดความขัดแย้งทางการเมือง และห่วงบทบาทการเป็นผู้นำในต่างประเทศด้วย



--- Ins 10 ---

ในขณะที่นายประพันธุ์ คูณมี อภิปรายถึงคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่าขาดคุณสมบัติไปแล้วตั้งแต่ กกต.มีมติส่งคดีหุ้นไอทีวีให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงไม่ควรที่จะได้เสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี



ในส่วนพรรคเพื่อไทยมีนายอดิศร เพียงเกษ อภิปรายเพียงคนเดียวสนับสนุนนายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นฉันทามติของประชาชนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม แล้ว



ขณะที่ 8 พรรคร่วมรัฐบาลทั้งพรรคไทยสร้างไทย พรรคพลังสังคมใหม่ พรรคประชาชาติ โดยพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง พรรคเป็นธรรม โดยนายกัณวีร์ สืบแสง อภิปรายเห็นชอบให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นการปลดล็อคประตูประชาธิปไตยให้กับการเมืองไทย

คุณอาจสนใจ

Related News