สังคม

เปิด 161 ตู้คอนเทนเนอร์ซุกหมูเถื่อน พบ 11 บ.เอี่ยว ด้านเกษตรกรสะท้อนปัญหาต้นทุนแพง

โดย panwilai_c

5 ก.ค. 2566

1.6K views

กรณีพบตู้คอนเทนเนอร์ 161 ตู้ลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรเถื่อนจากหลายประเทศ เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต คดีดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จากนั้นก็เร่งดำเนินการจนเริ่มตู้คอนเทนเนอร์ 4 ตู้แรกในวันนี้ ท่ามกลางพยานและข้อสังเกตจากผู้แทนเกษตรกร ที่สงสัยว่าปริมาณเนื้อหมูในคอนเทนเนอร์เหลืออยู่เท่าเดิมหรือไม่ และข่าว 3 มิติ ยังได้ข้อมูลของ 11 บริษัท ที่ตำรวจพบว่าเกี่ยวข้องกับเนื้อสุกรนำเข้าเหล่านี้



คอนเทนเนอร์ที่เห็นทับซ้อนกันเหล่านี้ คือส่วนหนึ่งของ 161 ตู้ ที่บรรจุเนื้อหมูนำเข้าจากต่างประเทศโดยผิดกฎหมาย และถูกกรมศุลากรยึดไว้ดำเนินคดีในความผิด พรบ.ศุลกากร และพรบ.โรคระบาดสัตว์ กรมปศุสัตว์ แต่ตอนนี้ กระทั่งดีเอสไอ รับเป็นคดีพิเศษเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา เพราะผู้เกี่ยวข้องกระทำผิดมีหลายกลุ่ม ทั้งในและนอกประเทศ ขณะเดียวกันดีเอสไอก็ต้องการพิสูจน์ทราบของที่อยู่ในตู้ทะหมด จึงกำหนดแผนจะเปิดพิสูจน์ทั้ง 161 ตู้ ให้จบภายใน 2 สัปดาห์ โดยเริ่มจาก 4 ตู้นี้



ตู้แรก เป็นตู้ลำดับที่ 76 พบว่าภายในเป็นตับหมู น้ำหนักแจ้งว้ 27,705 กิโลกรัม และเป็นที่น่าสังเกตุว่าทั้งหมดอยู่ในบรรจุภัณฑ์อย่างดี ที่บรรจุภัณฑ์บ่งบอกประเทศต้นทางของสินค้า



ชิ้นส่วนที่เป็นตับหมูเหล่านี้ หากเล็ดลอดการตรวตจจับและส่งเข้าสู่ตลาด ก็เป็นการยากที่ผู้บริโภคจะรู้ได้ว่ามาจากที่ใด



ตู้ถัดมาที่เจ้าหน้าที่เปิดต่อหน้าพยานหลายฝ่าย แพจเก็จกล่องเขียนเป็นภาษาจีน เมื่อเปิดดูข้างใน พบว่าเป็นชิ้นส่วนขาสุกร รายละเอียดในกล่องระบุว่า ต้นทางมาจากเยอรมัน ปลายทางระบุว่าจะไปจีน แต่เป็นที่น่าแปลกว่าถูกลำเลียงขึ้นไทยพร้อมตู้อื่นๆ สินค้าเหล่านี้เมื่อถึงมือห้องเย็น ก็จะถูกแกะกล่องปะปนไปกับเนื้อหมูไทย แต่ขายในราถูกกว่าทำให้เกษตรกรของไทย เดือดร้อนในตอนนี้ ตู้นี้เป็นตู้ลำดับที่ 120 น้ำหนักรวม 260574 กิโลกรัม ตู้ที่ เป็นเนื้อหมูสามชั้น น้ำหนักรวม 27,770 กิโลกรัม และตู้ที่ 4 ลำดับที่ 118 น้ำหนักรวม 29143 โดย ตู้ที่ 3 และ 4 นี้ ต้นทางมาจากบราซิล



อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งนำเจ้าหน้าที่เปิดตู้ดังกล่าว ระบุว่าข้อสังเกตุของเกษตรกรที่ระบุว่าเนื้อหาอาจจะอยู่ไม่ครบหรือไม่ ถือเป็นข้อสังเกตุที่น่าสนใจและต้องตรวสอบทั้งหมด พร้อมยืนยันว่าหลักฐานที่เจ้าหน้าที่มี มากพอที่จะขยายผลไปหากลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ได้



ข้อมูลกรมสอบสวนคดีพิเศษ เฉพาะความผิดกรณีนี้ทำให้รัฐเสียหายทางภาษีอากรกว่า 460 ล้านบาท ส่วนกลุ่มผู้เลี้ยงสุกร ประเมินว่าความเสียหายต่อวงจรผู้เลี้ยงสุกรที่เกิดจากเนื้อหมูเถื่อนตอนนี้กว่าหลายพันล้านบาท



ข่าว 3 มิติ ตรวจสอบย้อนหลังนับจากที่กรณี 161 ตู้คอนเทนเนอร์ ตกเป็นประเด็น ซึ่งดำเนินการโดย 3 ฝ่าย คือสมาคมผู้เลี้ยงสุกร แจ้งความที่สภ.แหลมฉบัง



กรณีนายอัจฉริยะ ร้องต่อดีเอสไอ และกรณีกรมศุลกากร แจ้งความต่อตำรวจ ปอศ.โดยตรง หลังจากเกิดกรณีนี้ไม่นาน โดยพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า 161 ตุ้คอนเทนเนอร์นี้ ขนส่งโดยบริษัทเรือขนส่ง หรือเฟด ฟอร์เวอร์ดเดอร์ จำนวน 17 ราย ลักษณะต่างคนต่างมา ทั้งจากฝั่งยุโรป เช่นสเปน หรือจากฝั่งละตินอเมริกา เมื่อตรวจสอบจากบัญชีรายชื่อผู้เช่าคอนเทนเนอร์หรือว่าจ้างในการขนส่ง ลักษณะที่อาจจะเป็นเจ้าของสินค้าเหล่านี้ ปรากฎชื่อ 11 บริษัท ซึ่งสายเรือนำส่งเจ้าหน้าที่แล้ว ประกอบด้วย บ.กู๊ดวอเตอร์ เกาะสอง /บ.กู๊ด วอเตอร์ อิควิปเม้นท์จำกัด /ห้างหุ้นส่วนจำกัด กันตา ไทยโฟรเซ่นฟิช /บริษัทมายเฮาส์ เทรดดิ้ง/ บริษัทอาร์ ที เอ็น โอเวอร์ซี จำกัด /บริษัทเรนโบว์ กรุ๊ป /ห่างหุ้นส่วนจำกัด สหัสวรรษ ฟูดส์ /บ.ซีเวิร์ล ไฟรเซ่นส์ / บ.ศิขันทิณ เทรดดิ้ง จำกดั /บ.สมายล์ ทอป เค เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด / และบ.เดอะ คิวบ์ โลจิสติกส์จำกัด



ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ระบุว่า บริษัทเหล่านี้มีชื่อเป็นผู้เช่าคอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ซึ่งบัญชีนี้อยู่ในการดูแลของสายเรือที่ขนส่ง และสายเรือได้มอบให้เจ้าหน้าที่แล้ว แต่เจ้าหน้าทียังไม่ปักใจว่าทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับสินค้าเหล่านี้จริงหรือไม่ อย่างไร แต่จะอยู่ในขั้นตอนที่จะสืบหาข้อเท็จจริง โดยดีเอสไอ ที่เป็นเจ้าของคดีนี้แล้ว



คดีนี้ดีเอสไอ รับเป็นคดีพิเศษเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา แล้วก็ดำเนินการเปิดตู้ได้ในวันนี้ หลังจากรับเป็นคดีได้ไม่ถึง 5 วัน นับเป็นการับเป็นคดีพิเศษที่เร็วและเริ่มดำเนินการได้เร็วอีกคดีหนึ่ง ขณะที่ตัวแทนเกษตรกรที่เข้าสังเกตการณ์วันนี้ ก็สะท้อนว่าต้นตอที่ทำให้หมูเถื่อนจากต่างประเทศ เข้ามาตีตลาดไทยได้ ก็เพราะต้นทุนการเลี้ยงสุกรในประเทศสูงกว่า โดยต้นทุนที่สูงกว่านี้ก็มาจากต้นทุนอาหารสัตว์ ที่สูงกว่าประเทศอื่นมาก จึงเรียกให้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุดังกล่าวด้วย



ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย และตัวแทนสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ที่เข้าสังเกตุการณ์การเปิดตู้คอนเทนเนอร์บรรจุเนื้อหมูเถื่อน ที่ท่าเรือแหลมฉบังวันนี้ ต่างเห็นว่าเป็นสัญญาณที่ดี ที่จะเริ่มตรวจสอบอย่างจริงจังว่า มีการหมุนเวียนเนื้อหมูเถื่อนออกจากคอนเทนเนอร์ ทั้ง 161 ตู้ ออกไปเวียนขายหรือไม่



โดยหากการดำเนินการของดีเอสไอ จนนำไปสู่การปิดซีลตู้ทั้งหมดแล้วนำหมูเถื่อนไปทำลายแล้วทำให้ราคาหมูในประเทศกระเตื้องขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าหมูเถื่อนทะลักออกจากที่นี่ แต่หากดำเนินการแล้ว ยังมีเนื้อหมูเถื่อนกระจายอยู่ในตลาด และทำให้ราคาหมูในประเทศยังตกต่ำ ก็มีความเป็นไปได้ว่ายังมีสตอคเนื้อหมูเถื่อนกระจายกันอยู่ในที่อื่นๆ และก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการลักลอบนำเข้าและเก็บไว้ที่ด่านชายแดนอื่น นอกเหนือจากที่ท่าเรือแหลมฉบัง



นายอานัน ไตรเดชาพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เห็นว่าต้เหตุที่แท้จริงคือ ต้นทุนอาหารสัตว์ของสุกรในประเทศสูงมาก โดยสำนักเศรษฐกิจการเกษตรประเมินว่าไตรมาสที่ 2 ต้นทุนสุกรเป็นตัวที่ออกจากฟาร์ม อยู่ที่กิโลกรัมละ 96 บาท เทียบกับจีนและเวียดนาม ซึ่งมีต้นทุนอยู่ที่ 72-75 บาท ต่อกิโลกรัมของสุกรเป็นตัวจากฟาร์ม ทำให้ราคาต้นทุนของไทยสูงกว่ามาก หากขายในราคาต่ำกว่าก็นี้ก็ถือว่าขาดทุน



ขณะเดียวกัน ก็เป็นช่องว่างให้หมูเถื่อน ที่เรียกกันว่าหมูกล่องเหล่านี้แทรกแซงเข้ามาได้ นายอานัน จึงเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์แก้ปัญหาเรื่องอาหารสัตว์ควบคู่ไปกับการกำจัดขบวนการนำเข้าเนื้อหมูเถื่อน



ในที่ประชุมร่วมเมื่อเช่านี้ตัวแทนเกษตรกร ยังเสนอให้กรมการค้าภายในกระทรวงพานิชย์ ใช้อำนาจตาม พรบ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการที่ให้อำนาจคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการในการกำหนดราคาซื้อราคาขายอันไม่เป็นธรรม ซึ่งเห็นว่ากรณีนี้เข้าข่ายที่ควรกำหนดให้ราคาซื้อสุกรจากฟาร์ม ให้ซื้อในราคาไม่ต่ำกว่าต้นทุน คือกิโลกรัมละ 96 บาทขึ้นไป



ส่วนผู้แทนกรมการค้าภายใน ระบุว่าเพิ่งมีการประชุมเรื่องนี้ไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะต้องคำนึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน

คุณอาจสนใจ

Related News