ต่างประเทศ

สหรัฐฯไฟเขียว วางขาย ‘เนื้อไก่เพาะในห้องแล็บ’ ครั้งแรก แต่ต้องติดฉลาก 'เนื้อไก่จากการเพาะเลี้ยงเซลล์'

โดย nattachat_c

23 มิ.ย. 2566

355 views

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้อนุมัติการขายเนื้อไก่เพาะเลี้ยงจากเซลล์ในห้องปฏิบัติการเพื่อการบริโภคแล้ว


นับเป็นการตัดสินใจของภาครัฐครั้งสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเนื้อสัตว์ทางเลือก ได้เป็นครั้งแรก


ยูเอสดีเอ ได้อนุมัติให้บริษัท 'กู๊ดมีท' สามารถขายเนื้อสัตว์ทางเลือกนี้ โดยหลายเดือนก่อนหน้านี้ ทั้งสองบริษัทก็ได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ ที่ระบุว่า เนื้อไก่ซึ่งสร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการของแต่ละบริษัทนั้น ปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์


ทั้งนี้ เนื้อสัตว์จากการเพาะเลี้ยงเซลล์  เกิดขึ้นจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด หรือเสต็มเซลส์ จากไขมันหรือกล้ามเนื้อของสัตว์ในอาหารเลี้ยงเชื้อ เพื่อเลี้ยงเซลล์ดังกล่าวให้เติบโต


จากนั้นถาดอาหารเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดนี้ จะถูกใส่เข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเซลล์ จนท้ายที่สุด เกิดเป็นเนื้อสังเคราะห์ที่มีลักษณะและรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์แบบดั้งเดิม


หลังจากนี้ ยูเอสดีเอ จะทำการตรวจสอบโรงงานเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ เช่นเดียวกับที่มีการตรวจสอบโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ และโรงฆ่าสัตว์แบบดั้งเดิม โดยที่ฉลากสินค้าจะมีการติดฉลากข้อความไว้ชัดเจนว่า “เนื้อไก่จากการเพาะเลี้ยงเซลล์” เมื่อถูกวางขายให้กับผู้บริโภค


ด้านผู้สนับสนุนเนื้อสัตว์สังเคราะห์ กล่าวว่า นวัตกรรมทางอาหารนี้ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเนื้อสัตว์ดั้งเดิม โดยนอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว มีเพียงสิงคโปร์เท่านั้นที่อนุมัติการขายเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงเซลล์นี้

-----------

คุณอาจสนใจ

Related News