สังคม

เจ้าหน้าที่ตร. บุกทลายเครือข่ายเงินกู้ออนไลน์“moneydaycredit.com” พบเงินสะพัดกว่า 454 ล.

โดย onjira_n

16 มิ.ย. 2565

1.7K views

 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง  ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษรวมทั้งสิ้น 61 นาย

ร่วมกันจับกุม            

1. นายอนิวัฒน์​(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1133/2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2565

2. นายอลงกรณ์​(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1134/2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2565 3. นายธนพล​(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1135/2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2565

4. นายนัฐวุฐ​(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1136/2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2565 5. นายพงศกร​(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1137/2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2565

6. นายจิรพันธ์​(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1137/2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2565 7. นายอดิเทพ​(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1139/2565  ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2565

8. นายสมโชค​(สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาที่ 1140/2565 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2565

ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดฐาน “ร่วมกันประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต และเรียก

ดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด”          

​พฤติการณ์ สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2564 มีผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย  ได้เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กก.5 บก.ปอศ. กรณีที่ได้ทำการกู้ยืมเงินจากเว็บไซต์ www.moneydaycredit.com และชำระค่าดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด

​จากการสืบสวนพบว่ากลุ่มคนร้ายได้ เปิดเว็บไซต์  www.moneydaycredit.com เพื่อชักชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปกู้เงิน โดยเน้นเป้าหมายไปที่กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมายได้ โดยขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อของเว็บไซต์ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องใช้หลักฐานยืนยันตัวตน และไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน

ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจฯ กลุ่มคนร้ายจะไปสำรวจกิจการเพื่อประกอบการพิจารณา เมื่ออนุมัติสินเชื่อแล้วกลุ่มคนร้ายจะโอนเงินไปให้ผู้กู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งไปยังบัญชีธนาคารของลูกหนี้ โดยกลุ่มคนร้ายจะหักยอดเงินกู้เป็นดอกเบี้ยงวดแรกไว้ก่อน หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ก็จะใช้วิธีการข่มขู่เพื่อให้ชำระหนี้

โดยเครือข่ายดังกล่าวมีพฤติการณ์เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก ผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ

1.5 ต่อวัน หรือร้อยละ 45 ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 547.5 ต่อปี ถือเป็นการคิดดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมาย

เอารัดเอาเปรียบ ซ้ำเติมประชาชน และผู้ประกอบธุรกิจฯ ในช่วงวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด 19

​จนกระทั่งในวันที่ 15 มิ.ย. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ร่วมกับกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ ได้สนธิกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านพัก และ สำนักงานของกลุ่มคนร้ายซึ่งอยู่ในพื้นที่รวม 5 จังหวัด ได้แก่ จ.จันทบุรี จ.ปทุมธานี จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา และ กรุงเทพมหานคร

จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายได้ 8 ราย นอกจากนี้ยังได้เชิญตัวผู้ต้องสงสัยที่น่าเชื่อว่าได้ร่วมกระทำความผิดมาทำการซักถามปากคำ และรวบรวมพยานหลักฐานจนสามารถแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ร่วมขบวนการได้อีก จำนวน 21 ราย  รวมผู้ต้องหา 29 ราย นำส่งพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป



เตือนภัย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ขอฝากถึงพี่น้องประชาชน อย่าได้ตกเป็นเหยื่อนายทุน

หนี้นอกระบบ เพราะนอกจากจะต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูงมากแล้ว ยังอาจโดนข่มขู่คุกคาม ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยในปัจจุบันนี้สถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อ

ที่หลากหลาย และสะดวกมากยิ่งขึ้น หากมีเบาะแสเกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้นอกระบบที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน สามารถแจ้งเบาะแสมาได้โดยตรงที่ ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ

หนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปน.ตร.) สายด่วน 1599 เพื่อนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดต่อไป



คุณอาจสนใจ

Related News