ต่างประเทศ

Event Horizon Telescope เตรียมเปิดเผยความลับของ ‘กาแล็กซีทางช้างเผือก’ วันที่ 12 พ.ค. นี้

โดย attayuth_b

5 พ.ค. 2565

300 views

ความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์นั้น ไม่มีขอบเขตและไม่มีวันสิ้นสุด แต่เพราะด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้มนุษย์เราสามารถค้นพบสิ่งใหม่ๆ หรือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ล้ำหน้าขึ้นเรื่อยๆ ได้



และ ถ้าจะให้พูดถึงสิ่งที่มนุษย์เรานั้น อยากไขปัญหา หาความลับ เรื่องของ ‘อวกาศ’ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สนใจมาตั้งแต่อดีตกาล จนทำให้ค้นพบว่า ‘โลก’ ของเรานั้น อยู่ในระบบสุริยะ ในกาแล็กซีทางช้างเผือกนั่นเอง


ระบบสุริยะ คืออะไร



ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite)

อย่าง โลกของเรา ก็อยู่ในระบบสุริยะ เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบ ‘ดวงอาทิตย์’ นั่นเอง



ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงใน ‘กาแล็กซีทางช้างเผือก’ ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน



แล้ว ‘กาแล็กซีทางช้างเผือก’ คืออะไร


ต้องขออธิบายความหมายของคำว่า ‘กาแล็กซี’ (ดาราจักร) ก่อน ว่ากาแล็กซีนั้นมีมากมายในจักรวาล กาแล็กซีเป็นอาณาจักรของดวงดาว ที่อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วง นอกจากดาวฤกษ์จำนวนหลายแสนล้านดวงแล้ว กาแล็กซียังประกอบด้วยดาวเคราะห์ และอื่นๆ อีกมากมาย

ส่วนชื่อเรียกกาแล็กซีที่โลกของเราอาศัยอยู่ จะแตกต่างไปตามแต่ละประเทศที่เห็น อย่างคนไทยเชื่อว่าช้างคือสัตว์คู่บารมีของกษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสมมติเทพ ดังนั้นจึงเชื่อว่าสิ่งที่สังเกตเห็นเป็นฝ้าขาวพาดผ่านบนท้องฟ้านั้น คือ ทางของช้างเผือกที่อยู่คู่กับเทพบนสวรรค์



ชาวตะวันตกมีความเชื่อว่าสิ่งที่สังเกตเห็นเป็นสีขาว มีลักษณะคล้ายน้ำนมไหล จึงตั้งชื่อว่า กาแล็กซีทางน้ำนม (The Milky way galaxy)

และความจริงแล้ว ทางช้างเผือกที่สังเกตเห็นในท้องฟ้า (ที่คนชอบไปถ่ายรูปกันนั่นแหละ) มันเป็นเพียงบริเวณหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือกในมุมมองของคนบนโลก โดยแถบฝ้าสีขาวจางๆ ของทางช้างเผือก คือ ดาวฤกษ์ ที่อยู่อย่างหนาแน่นในกาแล็กซีทางช้างเผือกนั่นเอง

การค้นพบครั้งใหญ่ เกี่ยวกับ ‘กาแล็กซีทางช้างเผือก’ โดย Event Horizon Telescope


การศึกษาเรื่องราวของ ‘กาแล็กซีทางช้างเผือก’ นั้นมีมากมาย และก็มีผู้หลงใหลในอวกาศพยายามค้นหาความลับที่ซ่อนเร้นมาโดยตลอด

อย่าง Event Horizon Telescope ที่เป็นโครงการศึกษาหลุมดำโดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุทุกตัวที่ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายทั่วโลก ทำให้มนุษย์เราสามารถถ่ายภาพหลุมดำ ที่อยู่ห่างจากโลกมากกว่า 55 ล้านปีแสง ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก และมีการเผยแพร่รูปนั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2019


และอีกไม่กี่วันนี้เอง ในวันที่ 12 พ.ค. นี้ พวกเขาจะเปิดเผยการค้นพบครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่เดี่ยวกับ ‘กาแล็กซีทางช้างเผือก’ ซึ่งจะแถลงการค้นพบนี้ที่ https://www.eso.org/public/live/?fbclid=IwAR1xDXLqINhFh78qPp3L9TkpDc6Bx6B9kVk0BbW_D2Z4mxuo4Xg8_gjpYCk สำหรับใครที่สนใจเรื่องอวกาศ ก็เตรียมตัวรอได้เลย


คุณอาจสนใจ

Related News