สังคม

สภาวิศวกร แนะรัฐฯ ทำฐานข้อมูลคุณภาพอากาศ ให้ ปชช.เข้าถึงแบบเรียลไทม์

โดย pattraporn_a

6 ก.ค. 2564

40 views

สภาวิศวกร วิเคราะห์เหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานที่ย่านกิ่งแก้ว ก่อนเสนอรัฐจัดทำระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศสร้างเป็นบิ๊กเดต้าให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล เพื่อประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตัวเอง


ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเคมี จากสภาวิศวกร สาธิตปฏิกิริยาของสารเพนเทนเมื่อเจอกับประกายไฟ ซึ่งเกิดการเผาไหม้ขึ้นในทันที จากคุณสมบัติสารไวไฟสูง โดยมีจุดวาปไฟอยู่ที่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส นั่นจึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เหตุเพลิงไหม้โรงงานเม็ดโฟมพลาสติกย่านกิ่งแก้ว สามารถควบคุมเพลิงได้ยาก นอกจากนี้ยังพบ บิวเทน เฮกเซน และ เอปเทน ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตเม็ดโฟมพลาสติก หรือ สไตรีนมอนอเมอร์ ที่ส่วนใหญ่แล้วมีความไวไฟในระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด


สภาวิศวกร ระบุว่า ขั้นตอนการดับไฟจำเป็นต้องใช้โฟมดับเพลิงเท่านั้น เนื่องจากเชื้อเพลิงเป็นสารเคมี ซึ่งไม่สามารถใช้น้ำฉีดดับเพลิงได้อย่างทั่วไป เพราะของเหลวดังกล่าวเบากว่าน้ำ จึงทำได้เพียงลดระดับอุณหภูมิพื้นผิวเท่านั้น เและยังสามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำได้อีกด้วย


ขณะเดียวกันการเผาไหม้ที่เกิดขึ้น ก็เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นสารก่อมะเร็งหากสูดดมต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทางสภาวิศวกรจึงเสนอการจัดทำฐานข้อมูลดิจิทัล หรือ บิ๊กเดต้าคุณภาพอากาศ ติดตามข้อมูลระดับคุณภาพอากาศ และเเจ้งเตือนปัญหาแบบเรียลไทม์ เช่น ค่าฝุ่น pM2.5 PM10 และ ค่าสารพิษในอากาศ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลโดยตรง


การขยายตัวของเมืองก็ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ แต่ด้วยโรงงานแห่งนี้ก่อตั้งมานานกว่า 30 ปี ก่อนมีการประกาศใช้กฎกระทรวง ปี 2537 ตามพระราชบัญญัติผังเมือง ที่ประกาศให้เป็นพื้นที่อาศัยหนาแน่นปานกลาง จึงไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว โดยสภาวิศวกรเรียกร้องให้จัดทำระบบปฏิบัติการจากฐานข้อมูลปัจจุบันร่วมกัน เพื่อความง่ายต่อการเข้าถึงฐานข้อมูลกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อลดการนำมาซึ่งการสูญเสีย หลังมีบทเรียนมาแล้วมากมายจากหลายเหตุการณ์


ขณะที่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมปื เปิดให้ผู้ได้รับผลกระทบบ้านเรือนเสียหายลงทะเบียนให้ วสท.ลงพื้นที่ตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้าง พร้อมคำแนะนำ ผ่านคิวอาร์โค้ดที่ปรากฎนี้ หรือที่ 02 184 4600-9 ต่อ 517 และสามารถตรวจสอบสถานการณ์คุณภาพอากาศได้ผ่านเพจของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งยังคงเป็นข้อมูลเดิมจากเมื่อวานนี้


คุณอาจสนใจ

Related News