สังคม

ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวน คดีบุกรุกป่าเขาแพงที่เกาะสมุย มี 'แทน เทือกสุบรรณ' พร้อมพวกรวม 4 คน ตกเป็นจำเลย

โดย weerawit_c

19 มี.ค. 2564

8 views

คดีบุกรุกป่าเขาแพง ที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ และส่งฟ้องความผิดตาม พรบ.ป่าไม้ 2484 และประมวลกฎหมายที่ดิน ศาลอาญาตัดสินเมื่อ 21 กันยายน 2559 จำคุกจำเลยทั้ง 4 คน ประกอบด้วยนายพรชัย ฟ้าทวีพร และนายสามารถ เรืองศรี ผู้จัดการ และหุ้นส่วน ห้างเรืองปัญญาคอนสตรัคชั่น จำคุก คนละ 5 ปี ส่วนนายแทน เทือกสุบรรณ และนายบรรเจิด เหล่าปิยะสกุล อดีตเลขานุการส่วนตัวนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ศาลตัดสินจำคุกคนละ 3 ปี พร้อมระบุว่าเป็นการทำลายป่าสมบัติล้ำค่า ไม่มีเหตุรอการลงโทษ


คดีนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดี กระทั่งศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อปี 2561 ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด แยกเป็นนายพรชัย และนายสามารถ จำเลยที่1 และ 2 ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องการทำผิดอย่างชัดเจน เป็นการฟ้องเคลือบคลุม จึงพิพากษายกฟ้อง ส่วนนายแทน และบรรเจิด จำเลยที่ 3 และ 4 ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ว่า พยานหลักฐานนำสืบไม่ชัด ไม่มีหลักฐานว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของรัฐ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง


อย่างไรก็ตาม อัยการคคีพิเศษซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฎีกาในประเด็นว่าคำบรรยายฟ้องมีความชัดเจน ไม่เคลือบคลุม และขอให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหมด


กระทั่งศาลฏีกา มีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ ที่เคยพิพากษายกฟ้องเมื่อ 3 ปี กลับไปพิจารณาพิพากษาใหม่ ซึ่งการย้อนสำนวนเป็นกระบวนการปกติ ในกระบวนการพิจารณาซึ่งเกิดมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะคดีนี้ศาลฏีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อม วินิจฉัยว่าการบรรยายฟ้องจำเลย มีความชัดเจนแล้ว ไม่ถือว่าเคลือบคลุม ศาลฏีกาไม่เห็นพ้องที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ทนายความของจำเลย ระบุว่าจากนี้ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาวินิจฉัยในแง่ข้อเท็จจริงของคดีเท่านั้น


เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และ 2 เพราะเห็นว่าฟ้องเคลืบคลุม ภาษาชาวบ้านคือบรรยายไม่ชัดเจน ศาลฏีกาบอกว่าบรรยายชัดเจนแล้ว เมื่อบรรยายชัดเจน ศาลอุทธรณ์จำเป็นต้องพิจารณาในเนื้อหาว่าจำเลยที่ 1 และ 2 กระทำผิดหรือไม่ ฟ้องเคลื่อบคลุมก็จะตกไปแล้ว ศาลอุทธรณ์พิจารณาใหม่ก็ต้องวินิจฉัยว่าผิดไหม ตามคำฟ้อง ของโจทก์ ไปถึงจำเลยที่3 และ 4 ก็ต้องพิพากษาใหม่ทั้งหมด พิจารณาใหม่ทั้งหมด


ทนายความด้านคดีสิ่งแวดล้อมจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ระบุว่าการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จากนี้ จะเป็นพฤติการคดี ซึ่งอาจยกฟ้อง หรือลงโทษ และต้องดูโทษ ด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะกฎหมายใหม่ มีเงื่อนไขห้ามฏีกา ตอนนี้ศาลอุทธร์จะไม่สามารถนำเอาประเด็นเคลือบคลุมมาพิจารณาใหม่แล้ว สิ่งเดียวที่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาได้คือ เอาข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลย นำสืบไว้ เป็นไปตามคำฟ้องไหม และเป็นไปตามคำให้การไหม และดูชั่งน้ำหนักว่าพยานฝ่ายใดดีกว่ากัน แล้วจึงมีคำพิพากษาเกี่ยวกับเนื้อหาของคดี


คดีนี้ชั้นอุทธรณ์ เป็นชั้นสำคัญมากว่าผลอุทธรณ์จะเป็นอย่างไร ที่สำคัญกว่านั้นถ้าศาลอุทธณืลงโทษยืน หรือโทษเพิ่มขึ้น ก็ต้องดูว่าอัตราโทษนัน้ ต้องห้ามไม่ให้ฏีกาหรือเปล่า และกรณีนี้ไม่ใช่การยกฟ้องทั้งสองศาล (ถ้าอาญายกฟ้อง 2 ศาล ต้องห้ามฏีกาเด็ดขาด ยกเว้นได้รับอนุญาตฏีกา)


สำหรับการย้อนสำนวน ศาลอุทธรณ์อาจใช้ดุลพินิจเรียกพยานหลักฐานเพิ่มเติม หรือใช้พยานหลักฐานจากสำนวนของศาลชั้นต้นก็ได้ และแนวทางคำตัดสิน ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจว่า เมื่อพิจารณาแล้วอาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงจากเดิมทั้งหมด หรือเปลี่ยนบางส่วน คงเดิมทั้งหมด หรือคงเดิมบางส่วนก็ทำได้ และคาดว่าต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าคดีนี้จะมีบทสรุปได้

คุณอาจสนใจ

Related News